คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปลอมเอกสารสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2954/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ จำเป็นต้องระบุให้ชัดเจนถึงลักษณะของเอกสารและผลกระทบต่อสิทธิ
ตาม ป.อ. มาตรา 265 บัญญัติว่า "ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ..." อันถือว่าเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏข้อความว่า สัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ปลอมและใช้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน และระงับซึ่งสิทธิระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 อย่างไรบ้าง อันเป็นนิยามของคำว่าเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) ถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 265 คงมีความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 268 วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเงิน แม้ยังไม่ได้ใช้แสดงต่อผู้อื่น ก็ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265
จำเลยเป็นผู้ทำสัญญากู้ยืมเงินรวมทั้งลายมือชื่อส. ผู้ให้สัญญาด้วยตนเองเมื่อปี2536ภายหลังที่ส. ถึงแก่ความตายไปแล้วในปี2533และลงวันที่ย้อนหลังไปว่าได้ทำสัญญาดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่15ธันวาคม2531ทำให้เห็นว่าสัญญาดังกล่าวทำขึ้นระหว่างส. กับจำเลยในขณะที่ส. ยังมีชีวิตอยู่และใจความของสัญญาดังกล่าวที่ว่าส.กู้ยืมเงินจำเลย100,000บาทถ้าส.ไม่คืนเงินจำนวนดังกล่าวส.ยอมโอนที่ดินสวนยาวพาราเนื้อที่14ไร่1งานแก่จำเลยนั้นนอกจากไม่เป็นความจริงแล้วยังน่าจะเกิดความเสียหายแก่ทายาทของส. อีกด้วยและเหตุที่จำเลยทำเอกสารดังกล่าวขึ้นเพื่อจะใช้อ้างกับด.ว่าที่ดินของส.เป็นของจำเลยและจะได้เรียกร้องค่าเสียหายต่อไปซึ่งทำให้เห็นได้ว่าการที่จำเลยกระทำดังกล่าวเพื่อให้ด. หลงเชื่อว่าเอกสารสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นเอกสารที่แท้จริงดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา265 ข้อความที่ว่า"โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน"ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264นั้นไม่ใช่การกระทำโดยแท้และไม่ใช่เจตนาพิเศษจึงไม่เกี่ยวกับเจตนาแต่เป็นพฤติการณ์ที่ประกอบการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายได้แม้จะไม่เกิดความเสียหายขึ้นจริงก็เป็นองค์ประกอบความผิดที่พิจารณาได้จากความคิดธรรมดาของบุคคลทั่วไปในลักษณะเดียวกับจำเลยส่วนคำว่าผู้หนึ่งผู้ใดในข้อความที่ว่า"ได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง"นั้นแสดงว่านอกจากเป็นการกระทำโดยเจตนาแล้วยังต้องมีเจตนาพิเศษในการกระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงด้วยโดยมิได้เจาะจงผู้ที่ถูกกระทำให้หลงเชื่อไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องเป็นผู้ใดดังนั้นการที่จำเลยเจตนากระทำเอกสารปลอมขึ้นเพื่อให้ด. หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงก็เป็นความผิดแล้วแม้จำเลยยังมิได้นำเอกสารดังกล่าวไปใช้แสดงต่อด.ก็ตามทั้งบุคคลที่จะถูกทำให้หลงเชื่อนี้กฎหมายมิได้กำหนดว่าจำต้องเกี่ยวโยงเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกับบุคคลที่น่าจะเกิดความเสียหายเพราะการกระทำของจำเลยคือทายาทของส. แต่อย่างใดแต่อาจเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา265แล้วกรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา264อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ การปรับบทมาตรา 264 ไม่จำเป็นเมื่อมีความผิดตามมาตรา 265
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ซึ่งเป็นบททั่วไปในคำพิพากษาอีก จำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ และใช้เอกสารสิทธิปลอม การปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 ในคำพิพากษาต้องระบุบทมาตราประกอบด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ
จำเลยเป็นลูกจ้างของห้างโจทก์เมื่อรับเช็คที่บุคคลภายนอกจ่ายให้โจทก์ จำเลยต้องนำไปมอบให้หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์แต่จำเลยกลับนำเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยจำเลยลงลายมือชื่อของจำเลยและประทับตราสำคัญของห้างโจทก์ ดังนี้แม้จะเป็นการลงลายมือชื่อของจำเลยเอง แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อลวงให้ธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นการลงลายมือชื่อโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชี ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ แต่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยนำเอาแบบพิมพ์ที่มีรายการระบุว่าเป็นเช็ค ระบุชื่อธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ หมายเลขบี 10105906 มา กรอกรายการและเซ็นชื่อของจำเลยออกให้แก่ผู้เสียหาย โดยจำเลยไม่มีเงินฝากในธนาคารศรีนคร จำกัด ดังนี้ ไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิเพราะจำเลยลงชื่อของจำเลยเอง มิได้ปลอมลายมือชื่อของผู้ใดและการสั่งจ่ายเงินโดยไม่มีเงินฝากหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับธนาคารนั้นฯ ก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำเอาเช็คระบุชื่อธนาคารศรีนคร จำกัดสาขาเล่งเน่ยยี่ สั่งจ่ายเงิน 4,000 บาทมาใช้แก่ผู้เสียหายอันเป็นเอกสารสิทธิและเป็นตั๋วเงินปลอม ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับแต่ฎีกาว่า "เช็คของกลางเป็นเช็คที่มีผู้อื่นจัดพิมพ์ขึ้นโดยเลียนแบบเช็คของธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ เช็คของกลางจึงเป็นเช็คปลอมโดยเป็นการปลอมเช็คของธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ขึ้นทั้งฉบับ" ข้อความตามฎีกาโจทก์ดังนี้มิได้กล่าวในฟ้อง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ หากลงชื่อตนเอง
จำเลยนำเอาแบบพิมพ์ที่มีรายการระบุว่าเป็นเช็ค ระบุชื่อธนาคารศรีนครจำกัดสาขาเล่งเน่ยยี่หมายเลขบี 10105906 มากรอกรายการและเซ็นชื่อของจำเลยออกให้แก่ผู้เสียหาย โดยจำเลยไม่มีเงินฝากในธนาคารศรีนคร จำกัดดังนี้ ไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิ เพราะจำเลยลงชื่อของจำเลยเอง มิได้ปลอมลายมือชื่อของผู้ใด และการสั่งจ่ายเงินโดยไม่มีเงินฝากหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับธนาคารนั้นฯ ก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำเอาเช็คระบุชื่อธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ สั่งจ่ายเงิน 4,000 บาทมาใช้แก่ผู้เสียหายอันเป็นเอกสารสิทธิและเป็นตั๋วเงินปลอม ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับ แต่ฎีกาว่า "เช็คของกลางเป็นเช็คที่มีผู้อื่นจัดพิมพ์ขึ้นโดยเลียนแบบเช็คของธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ เช็คของกลางจึงเป็นเช็คปลอมโดยเป็นการปลอมเช็คของธนาคารศรีนครจำกัดสาขาเล่งเน่ยยี่ขึ้นทั้งฉบับ" ข้อความตามฎีกาโจทก์ดังนี้มิได้กล่าวในฟ้องศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อใช้ในการหลอกลวงเรียกรับเงินค่าเสียหายจากผู้เสียหาย เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม
สัญญาบันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายมี ส. และผู้เสียหายร่วมลงลายมือชื่อเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่า ผู้เสียหายยินยอมชำระเงินให้แก่ ส. ซึ่งเป็นตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงของบริษัท ด. โดยเอกสารดังกล่าวมีหัวกระดาษและตราสัญลักษณ์ของบริษัท ด. ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า ทำให้บุคคลทั่วไปเห็นแล้วเชื่อว่าบริษัทดังกล่าวทำขึ้น แม้ความจริงบริษัทดังกล่าวไม่ได้ทำบันทึกข้อตกลงนั้นกับผู้เสียหาย แต่การที่พวกของจำเลยซึ่งไม่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงกลับทำสัญญาบันทึกข้อตกลงดังกล่าวกับผู้เสียหาย เพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารสิทธิที่แท้จริงแล้วนำไปใช้อ้างต่อพันตำรวจตรี น. เพื่อแสดงให้เห็นว่าได้ยอมความโดยชอบ ทำให้คดีในส่วนอาญาระงับโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน แม้จะมิใช่เอกสารที่แท้จริงของบริษัทดังกล่าวก็ตาม ก็เป็นการทำปลอมเอกสารสิทธิขึ้นทั้งฉบับและใช้เอกสารสิทธิปลอม
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการตรวจค้นผู้เสียหาย แล้วนำสัญญาบันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายกลับมาลงบันทึกประจำวันโดยแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานอันเป็นเอกสารราชการเพื่อใช้เป็นหลักฐานว่า ส. พวกของจำเลยเป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงและผู้เสียหายเป็นผู้ละเมิดสินค้าลิขสิทธิ์ แต่ตกลงค่าเสียหายได้โดยผู้เสียหายยินยอมชดใช้เป็นเงิน และทุกฝ่ายจะไม่เอาความกันภายหลังทั้งทางแพ่งและทางอาญา แม้จะกระทำต่างเวลากันแต่เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าพวกของจำเลยได้รับมอบอำนาจมาและมีอำนาจกระทำการแทนเจ้าของลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้าในการเรียกรับเงินค่าเสียหายและตกลงยอมความกับผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานให้กู้ยืมเงินเกินอัตราดอกเบี้ย และการปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำความผิดเกิดขึ้นเมื่อให้กู้ ไม่ใช่เมื่อได้รับดอกเบี้ย
ความผิดฐานให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วในทันทีที่จำเลยให้ผู้เสียหายทั้งห้ากู้เงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มิใช่ว่าจำเลยจะต้องได้รับดอกเบี้ยจากผู้เสียหายทั้งห้าก่อน