พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีขายที่ดินพร้อมอาคารที่ปลูกสร้างเองภายใน 5 ปี
พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 224) ฯ มาตรา 3 (6) วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5 ปี ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดิน หรืออาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง" ความหมายของการได้มาซึ่งอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตามบทบัญญัติดังกล่าว ย่อมต้องหมายความรวมถึงการได้มาโดยเจ้าของที่ดินก่อสร้างเองหรือซื้อมาหรือรับโอนมาด้วยประการใด ๆ ดังนั้น การที่โจทก์ลงทุนปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของโจทก์เอง ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมาภายหลังจากที่ได้ที่ดินมาแล้ว เมื่อโจทก์ขายที่ดินและอาคารดังกล่าวไปภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ได้อาคารมา โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับที่ดินและอาคารนั้น
ประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ขายที่ดินและอาคารพิพาทไปโดยไม่มีเจตนามุ่งค้าหรือหากำไรเพราะโจทก์โอนขายให้แก่บริษัทที่โจทก์ก่อตั้งขึ้นเอง ผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลในครอบครัวของโจทก์เองทั้งสิ้น ปรากฏว่าโจทก์มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
ประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ขายที่ดินและอาคารพิพาทไปโดยไม่มีเจตนามุ่งค้าหรือหากำไรเพราะโจทก์โอนขายให้แก่บริษัทที่โจทก์ก่อตั้งขึ้นเอง ผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลในครอบครัวของโจทก์เองทั้งสิ้น ปรากฏว่าโจทก์มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีเช่า: ชอบด้วยกฎหมายหากคุ้มครองโจทก์จากการเช่าช่วงและการปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสิบเจ็ดและบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ แต่จำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะนำทรัพย์สินของโจทก์ดังกล่าวไปให้ผู้อื่นเช่าช่วง และยังปลูกสร้างอาคารหรือยินยอมให้ผู้อื่นปลูกสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์จึงยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสิบเจ็ดนำทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้องออกให้บุคคลอื่นเช่าช่วงจนกว่าคดีถึงที่สุด คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ออกภายในขอบเขตตามความจำเป็นเพื่อคุ้มครองโจทก์มิให้เสียหายจากการกระทำผิดสัญญาของจำเลยทั้งสิบเจ็ดต่อไป จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ประกอบมาตรา 255
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บ้านปลูกบนที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิอาศัย ไม่ถือเป็นส่วนควบของที่ดิน
ป. ให้จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทตั้งแต่ได้รับการยกให้ตลอดมา และจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทหลังจากที่ดินพิพาทตกเป็นของ ป. แล้วโดย ป. รู้เห็นยินยอม กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิอาศัยในที่ดินพิพาทปลูกสร้างบ้านไว้ในที่ดินนั้น บ้านจึงเข้าข้อยกเว้นไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมหมดประโยชน์เมื่อมีการปลูกสร้างเต็มพื้นที่ ทำให้เจ้าของภารยทรัพย์มีสิทธิเรียกให้พ้นจากภารจำยอมได้
ที่ดินโฉนดเลขที่ 2480 เป็นทางภารจำยอมของที่ดินแปลงอื่น ต่อมามีการแบ่งแยกปรากฏว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2480ที่เหลืออยู่หลังจากการแบ่งแยกที่ดินในส่วนที่ออกเป็นโฉนด เลขที่ 19056,19057 และ 19058 แล้ว มีลักษณะเป็น ถนนซอยกว้างประมาณ 6 เมตร ออกสู่ถนนเพชรเกษม ลักษณะของทางภารจำยอมเป็นซอยตัน ริมทางภารจำยอม มีตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสภาพปลูกสร้างมานานหลายปี ปลูกเต็มพื้นที่ของที่ดินโฉนดเลขที่ 19056,19057 และ 19058 แสดงว่าที่ดินที่ถูกใช้เป็นทางภารจำยอมคือที่ดินโฉนดเลขที่ 2480ส่วนที่เหลืออยู่หลังจากการแบ่งแยกที่ดินออกไปแล้วส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 19056,19057 และ 19058 ไม่ได้ถูกใช้เป็นทางภารจำยอมมาเป็นเวลานานเพราะมีสิ่งปลูกสร้างเป็นตึกแถวเต็มพื้นที่ จึงเป็นกรณีที่ภารจำยอมนั้นไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ตามรูปการ หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้วโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้พ้นจากภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดิน: สิทธิของเจ้าของที่ดินโอนรับทราบการรุกล้ำก่อน
หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารร่วมผนังซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ส. เจ้าของที่ดินเดิมในการก่อสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดินของตนและใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กกับผนังอาคารด้านติดกันร่วมกัน แม้จะมีเฉพาะฐานรากใต้ดินเท่านั้นที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ส. ซึ่งเกิดจากจำเลยกระทำไปตามข้อตกลงในหนังสือยินยอมดังกล่าว ดังนั้นแม้จะมีส่วนที่รุกล้ำอยู่บ้าง ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อ ส. เมื่อโจทก์ทั้งสองรับโอนที่ดินของ ส. มาในสภาพที่มีการรุกล้ำอยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการรุกล้ำดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอม: หน้าที่ในการปลูกสร้างบ้านใหม่หลังรื้อถอน
การที่ ป.ไม่ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีฐานทำให้เสียทรัพย์แก่จำเลยทั้งสอง ก็เนื่องจากจำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยทั้งสองจะปลูกสร้างบ้านใหม่ให้คืนสู่สภาพเดิม เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ ป.ไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองที่รื้อบ้านพิพาท จึงเป็นการประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทระหว่างป.กับจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่จะต้องปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าว และเมื่อตามข้อตกลงดักล่าว ป.ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของ ป. ก็ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทกับจำเลยทั้งสองด้วย จำเลยทั้งสองต้องเป็นผู้ออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7253/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิข้างเคียงต้องพิสูจน์ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร การปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติไม่ใช่ละเมิดเสมอไป
ไม่ว่าอาคารพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างจะผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม หากไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง หาใช่ว่าถ้าจำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ที่เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงเสมอไป
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยมิสุจริตและอำนาจฟ้อง กรณีผู้ซื้อทราบว่ามีผู้อื่นครอบครองและปลูกสร้างบ้าน
ในการซื้อขายที่พิพาทกันซึ่งมีชื่อ บ. เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองคงมีแต่โจทก์ ต. บ. และ ป. เท่านั้นที่ได้เจรจาต่อรองกัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามได้รู้เห็นยินยอมหรือร่วมเจรจาอยู่ด้วย แต่ ต. กลับเป็นผู้รับรองต่อโจทก์ว่าบุตรทุกคนยินยอมให้ขายที่พิพาทได้ และรับว่าหากโจทก์ต้องการใช้ประโยชน์ในที่พิพาทเมื่อใดก็จะจัดการให้รื้อบ้านออกไป และก่อนซื้อโจทก์ได้ไปดูที่พิพาทและเห็นจำเลยปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ในที่พิพาทในลักษณะมั่นคงถาวรอยู่ก่อนแล้วแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ซักถามจำเลยหรือแม้แต่ บ. และ ต.ให้ได้ความชัดเจนว่า จำเลยปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่พิพาทได้ด้วยเหตุใด การที่โจทก์ซื้อที่พิพาทไว้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่อาศัยอันเป็นการใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตเมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยในพฤติการณ์เช่นนี้เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเมื่อมีการปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต และการปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย
พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงฯ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 15กรกฎาคม 2521 ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน2515 ข้อ 78 และข้อ 79 บัญญัติว่าให้ใช้ได้มีกำหนด 10 ปี แม้ต่อมาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2530 ใช้บังคับซึ่งมาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 ข้อ 63 ถึง 80 แล้วก็ตาม แต่ในมาตรา 9วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างและประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วน ซึ่งออกโดยอาศัยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ให้คงใช้บังคับได้ตามอายุของ พ.ร.ฎ นั้นและวรรคสองของมาตรานี้บัญญัติทำนองเดียวกับมาตรา 36 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ว่าด้วยการเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.บ.นี้ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ดังนั้น พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2531 เมื่อปรากฏว่าภายในระยะเวลาดังกล่าวจำเลยได้มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าจะเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงและได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินต่อสำนักงานวางทรัพย์ฯ เพื่อให้โจทก์รับเงินไปอันเป็นการดำเนินการภายในอายุ พ.ร.ฎ. ดังกล่าว จำเลยจึงมีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 13 วรรคสองและวรรคสาม
โจทก์ปลูกสร้างอาคารพิพาทในเขตตาม พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงฯ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 74 (2) หรือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 24 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนค่าขนย้ายหรือค่าเสียหายที่ไม่สามารถประกอบอาชีพจากจำเลยได้
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนคือ 0-1-26 ไร่ ที่ดินทางด้านทิศเหนือมีส่วนของที่ดินเหลืออยู่ (ยาว) เพียง 1.5 วาอีกทั้งที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นก็มิได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ทำให้ไม่เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินส่วนที่เหลืออีกต่อไป จำเลยจึงต้องเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ด้วย ซึ่งราคาที่ดินตามที่ซื้อขายกันไร่ละ 400,000 บาทจำเลยจึงต้องจ่ายค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตามเนื้อที่ดินทั้งแปลงจำนวน 240,000 บาทจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินส่วนที่เหลือสามารถใช้ทำประโยชน์ได้ จำเลยไม่จำเป็นต้องเวนคืนในส่วนที่เหลือ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อ 4 ว่า จำเลยจะต้องใช้ค่าทดแทน ค่ารื้อถอน ค่าขนย้าย และค่าเสียหายที่ไม่สามารถประกบอาชีพตามปกติแก่โจทก์หรือไม่เพียงใด เห็นได้ว่า ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทรวมไว้แล้วว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นที่ดินส่วนที่เหลืออยู่ยาวเพียง 1.5 วา ไม่เหมาะสมที่โจทก์จะใช้ประโยชน์และจำเลยต้องเวนคืนและจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์หรือไม่ด้วย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา20 วรรคหนึ่ง บัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของเพราะที่ดินส่วนที่เหลือนั้นเหลืออยู่น้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไป โดยกำหนดให้เจ้าของที่ดินร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนเสียก่อนเพื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนจะได้พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว คดีนี้ เมื่อเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้แนะนำให้โจทก์ไปร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืน โจทก์หาได้ดำเนินการตามคำแนะนำไม่ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนในส่วนนี้
โจทก์ปลูกสร้างอาคารพิพาทในเขตตาม พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงฯ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 74 (2) หรือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 24 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนค่าขนย้ายหรือค่าเสียหายที่ไม่สามารถประกอบอาชีพจากจำเลยได้
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนคือ 0-1-26 ไร่ ที่ดินทางด้านทิศเหนือมีส่วนของที่ดินเหลืออยู่ (ยาว) เพียง 1.5 วาอีกทั้งที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นก็มิได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ทำให้ไม่เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินส่วนที่เหลืออีกต่อไป จำเลยจึงต้องเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ด้วย ซึ่งราคาที่ดินตามที่ซื้อขายกันไร่ละ 400,000 บาทจำเลยจึงต้องจ่ายค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตามเนื้อที่ดินทั้งแปลงจำนวน 240,000 บาทจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินส่วนที่เหลือสามารถใช้ทำประโยชน์ได้ จำเลยไม่จำเป็นต้องเวนคืนในส่วนที่เหลือ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อ 4 ว่า จำเลยจะต้องใช้ค่าทดแทน ค่ารื้อถอน ค่าขนย้าย และค่าเสียหายที่ไม่สามารถประกบอาชีพตามปกติแก่โจทก์หรือไม่เพียงใด เห็นได้ว่า ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทรวมไว้แล้วว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นที่ดินส่วนที่เหลืออยู่ยาวเพียง 1.5 วา ไม่เหมาะสมที่โจทก์จะใช้ประโยชน์และจำเลยต้องเวนคืนและจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์หรือไม่ด้วย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา20 วรรคหนึ่ง บัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของเพราะที่ดินส่วนที่เหลือนั้นเหลืออยู่น้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไป โดยกำหนดให้เจ้าของที่ดินร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนเสียก่อนเพื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนจะได้พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว คดีนี้ เมื่อเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้แนะนำให้โจทก์ไปร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืน โจทก์หาได้ดำเนินการตามคำแนะนำไม่ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน, การร้องขอให้เวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือ, อำนาจฟ้อง, การปลูกสร้างอาคารในเขตเวนคืน
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่15กรกฎาคม2521ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายน2515ข้อ78และข้อ79บัญญัติว่าให้ใช้ได้มีกำหนด10ปีแม้ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ฉบับที่2พ.ศ.2530ใช้บังคับซึ่งมาตรา7ให้ยกเลิกความในส่วนที่3ข้อ63ถึง80แล้วก็ตามแต่ในมาตรา9วรรคหนึ่งบัญญัติว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างและประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนซึ่งออกโดยอาศัยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายนพ.ศ.2515ให้คงใช้บังคับได้ตามอายุของพระราชกฤษฎีกานั้นและวรรคสองของมาตรานี้บัญญัติทำนองเดียวกับมาตรา36วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ว่าด้วยการเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นอันใช้ได้แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ดังนั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่14กรกฎาคม2531เมื่อปรากฏว่าภายในระยะเวลาดังกล่าวจำเลยได้มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าจะเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงและได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินต่อสำนักงานวางทรัพย์ฯเพื่อให้โจทก์รับเงินไปอันเป็นการดำเนินการภายในอายุพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจำเลยจึงมีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา13วรรคสองและวรรคสาม โจทก์ปลูกสร้างอาคารพิพาทในเขตตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายน2515ข้อ74(2)หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา24(1)โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนค่าขนย้ายหรือค่าเสียหายที่ไม่สามารถประกอบอาชีพจากจำเลยได้ โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนคือ0-1-26ไร่ที่ดินทางด้านทิศเหนือมีส่วนของที่ดินเหลืออยู่(ยาว)เพียง1.5วาอีกทั้งที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นก็มิได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ทำให้ไม่เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินส่วนที่เหลืออีกต่อไปจำเลยจึงต้องเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ด้วยซึ่งราคาที่ดินตามที่ซื้อขายกันไร่ละ400,000บาทจำเลยจึงต้องจ่ายค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตามเนื้อที่ดินทั้งแปลงจำนวน240,000บาทจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินส่วนที่เหลือสามารถใช้ทำประโยชน์ได้จำเลยไม่จำเป็นต้องเวนคืนในส่วนที่เหลือศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อ4ว่าจำเลยจะต้องใช้ค่าทดแทนค่ารื้อถอนค่าขนย้ายและค่าเสียหายที่ไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติแก่โจทก์หรือไม่เพียงใดเห็นได้ว่าศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทรวมไว้แล้วว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นที่ดินส่วนที่เหลืออยู่ยาวเพียง1.5วาไม่เหมาะสมที่โจทก์จะใช้ประโยชน์และจำเลยต้องเวนคืนและจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์หรือไม่ด้วย พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา20วรรคหนึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของเพราะที่ดินส่วนที่เหลือนั้นเหลืออยู่น้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไปโดยกำหนดให้เจ้าของที่ดินขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนเสียก่อนเพื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนจะได้พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวคดีนี้เมื่อเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้แนะนำให้โจทก์ไปร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนโจทก์หาได้ดำเนินการตามคำแนะนำไม่อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนในส่วนนี้