คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปัจจัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้าศุลกากร: การประเมินราคาต้องอาศัยหลักฐานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การประเมินโดยมิพิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคท้าย บัญญัติว่า "สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง เป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี..." หมายถึง ผู้ที่เสียเงินอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอเงินอากรที่เสียไว้เกินภายใน 2 ปี แต่คดีนี้โจทก์ขอคืนค่าอากรที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพิ่มตามมาตรา 112,112 ทวิโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ต้องเสียอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ได้ชำระค่าอากรและเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไปในระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม2541 และได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 ยังไม่พ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะนำใบส่งสินค้าทั้ง 12 เที่ยวจำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยว ซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในแต่ละใบจะต้องมีทุนทรัพย์เกินกว่า 50,000 บาท จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยสำหรับการนำเข้าสินค้ารวม 12 เที่ยวแต่ทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวที่สอง เที่ยวที่สาม เที่ยวที่แปดเที่ยวที่สิบและเที่ยวที่สิบสอง มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะตามใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวแรก เที่ยวที่สี่ เที่ยวที่ห้า เที่ยวที่หก เที่ยวที่เจ็ด เที่ยวที่เก้า และเที่ยวที่สิบเอ็ด รวม 7 เที่ยว ซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละใบขนสินค้าเกินกว่า 50,000บาท
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 2 วรรคสิบสอง บัญญัติว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือราคาแห่งของอย่างใดนั้น หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" หมายความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดคือราคาเงินสดที่พึงขายสินค้าได้โดยไม่ขาดทุน ทั้งนี้โดยพิเคราะห์ถึงประเภทของสินค้า ราคาของสินค้าสถานที่นำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก เวลาที่ซื้อขายสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาที่พึงขายได้ ส่วนราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินตามหลักเกณฑ์คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ประกาศส่วนมาตรฐานพิธีการและราคาและประกาศสำนักมาตรฐานศุลกากรนั้นมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่เป็นเพียงแนวทางในการคำนวณหาราคาตลาดที่แท้จริงในกรณีไม่ทราบราคาตลาดที่แท้จริงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าหรือส่งออกได้สำแดงไว้เท่านั้น ราคาที่ประเมินตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการประเมินในกรอบกว้าง ๆ โดยยังมิได้พิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงการคาดคะเนโดยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าราคาท้องตลาดที่แท้จริงในขณะที่โจทก์นำเข้ามานั้นเป็นจำนวนเท่าใด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาสินค้าทั้ง 7 เที่ยวเพิ่มขึ้นและเรียกค่าภาษีอากรเพิ่มนั้นเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง การกระทำผิดร้ายแรง การพิจารณาปัจจัยหลายประการเพื่อตัดสินกรณีเลิกจ้าง
การกระทำผิดของลูกจ้างจะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบกันหลายประการอาทิเช่น ตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกจ้าง ลักษณะและพฤติการณ์การกระทำผิดของลูกจ้าง ตลอดจนผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดว่ามีมากน้อยเพียงใด โจทก์เป็นหัวหน้าพนักงานล้างภาชนะซึ่งไม่มีหน้าที่ให้บริการลูกค้าของจำเลย โจทก์สมัครใจทะเลาะวิวาทกับหัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นพนักงานที่มิใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ ขณะเกิดเหตุร้านอาหารของจำเลยปิดการให้บริการอันเป็นเวลาเลิกงานแล้ว ที่เกิดเหตุอยู่นอกบริษัท บริเวณหน้าป้อมยามทางเข้าบริเวณบริษัทห่างร้านอาหารของจำเลยประมาณ 200 เมตร มิได้เกิดขึ้นต่อหน้าลูกค้าผู้มาใช้บริการหรือหมู่พนักงานอื่นของจำเลย จึงไม่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของจำเลย อีกทั้งไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายใดได้รับอันตรายถึงบาดเจ็บ การกระทำดังกล่าวของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นลูกจ้าง: พิจารณาปัจจัยหลายด้านเพื่อวินิจฉัยสัญญาจ้างแรงงาน
การวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงหลายอย่างประกอบกัน เช่น ใครเป็นผู้ตกลง รับโจทก์เข้าทำงานในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องพิจารณาว่าผู้ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานนั้น เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลหรือไม่ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนั้นทำในนามนิติบุคคลหรือในฐานะส่วนตัว งานที่ทำนั้นเป็นของใคร การทำงานของโจทก์มีอิสระหรือต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใคร ใครเป็นผู้จ่ายเงินแก่โจทก์ อะไรบ้าง จำนวนแน่นอนหรือไม่กำหนดจ่ายเมื่อใด และจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานหรือเพื่อตอบแทนผลสำเร็จของงาน
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่พอสำหรับการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าเมื่ออาวุธปืนไม่สามารถใช้งานได้จริง การกำหนดโทษตาม ป.อ.มาตรา 81
อาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงเป็นอาวุธปืนแก๊ปยาว โดยปกติการใช้อาวุธปืนดังกล่าว ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กระสุนปืนลั่นออกได้คือแก๊ปสำหรับจุดระเบิดหากไม่มีการใส่แก๊ปก็ไม่สามารถทำให้กระสุนปืนลั่นออกได้เลย แม้จำเลยจะได้ใช้อาวุธปืนแก๊ปยาวยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า แต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า อาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงมีการใส่แก๊ปปืนไว้แล้ว ดังนี้กระสุนปืนจึงไม่อาจลั่นออกได้อย่างแน่นอนการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288ประกอบมาตรา 81 วรรคหนึ่ง
ป.อ.มาตรา 81 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288 ซึ่งกำหนดโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี การคำนวณโทษกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิต กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้จึงต้องนำ ป.อ.มาตรา 52 (2) และ 53 มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษ เมื่อคำนวณแล้วย่อมมากกว่าโทษกึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี ส่วนโทษกึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี ก็คือโทษจำคุกตั้งแต่ 7 ปี 6 เดือนถึง 10 ปี ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยก่อนลดโทษตาม ป.อ.มาตรา 78จำคุก 2 ปี เป็นการลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้ ตาม ป.อ.มาตรา288 ประกอบด้วยมาตรา 81 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าจะต้องกำหนดโทษจำคุกจำเลยไม่ต่ำกว่า 7 ปี 6 เดือนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5439/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุรถไถ: การติดไฟแสงแดงและปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
จำเลยขับรถไถในทางเวลากลางคืนมีหน้าที่ต้องเปิดไฟแสงแดงที่ท้ายรถตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 เมื่อท้ายรถไถที่จำเลยขับมีผานไถและจานไถบรรทุกอยู่ยื่นออกนอกตัวรถไปด้านท้ายประมาณ 2 เมตรจำเลยมีหน้าที่ต้องใช้โคมไฟแสงแดงติดไว้ที่ปลายสุดของผานไถและเปิดไว้ด้วย แต่เมื่อจำเลยเปิดไฟท้ายและไฟส่องผานไถซึ่งเป็นไฟสปอตไลท์ขนาดใหญ่ สามารถส่องกระจายแสงได้กว้างและเห็นได้ในระยะไกล และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยยกผานไถไว้ในระดับที่บดบังไฟท้าย ไฟส่องผานไถและแผ่นวงกลมสีแดงสะท้อนแสงจนไม่สามารถมองเห็นรถไถได้จากระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร แม้จำเลยจะไม่ติดโคมไฟแสงแดงไว้ที่ปลายสุดของผานไถ ก็ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงให้รถยนต์ที่ผู้ตายขับตามหลังชนถูกผานรถไถที่จำเลยขับ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานดำรงชีพจากรายได้หญิงค้าประเวณี: ต้องพิสูจน์ปัจจัยดำรงชีพและอาศัยรายได้ทั้งหมด
ความผิดฐานดำรงชีพจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีนั้นโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า จำเลยอายุกว่าสิบหกปี ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการอาศัยปัจจัยทั้งหมดหรือแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี หากขาดปัจจัยดังกล่าวแม้เพียงบางส่วนจะดำรงชีพอยู่ไม่ได้ หรือไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพ และปรากฏว่าจำเลยอยู่ร่วมกับหญิงซึ่งค้าประเวณีหรือสมาคมกับหญิงซึ่งค้าประเวณีคนเดียวหรือหลายคนเป็นอาจิณตามคำฟ้องของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์นำสืบได้เพียงว่า จำเลยอายุกว่าสิบหกปีเป็นผู้จัดหาหญิงผู้ทำ-การค้าประเวณีเพื่อผู้อื่นเป็นปกติธุระ และได้รับเงินส่วนแบ่งจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีเท่านั้น จึงลงโทษจำเลยในความผิดนี้ตามฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำรงชีพจากรายได้จากการค้าประเวณี: การพิสูจน์การพึ่งพิงรายได้และความจำเป็นในการมีปัจจัยอื่น
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286 ที่ผู้กระทำซึ่งมีอายุกว่าสิบหกปี ดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีเป็นความผิดนั้น หมายถึงว่า ผู้นั้นดำรงชีวิตของตนอยู่ได้ด้วยการอาศัยปัจจัยทั้งหมดหรือแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี ซึ่งหากขาดปัจจัยแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีจะดำรงชีพอยู่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำรงชีพจากรายได้ของการค้าประเวณี ต้องพิสูจน์ปัจจัยดำรงชีพของผู้กระทำ หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ถือว่าไม่มีความผิด
ความผิดฐานดำรงชีพจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีนั้นจะต้องได้ความว่าผู้นั้นไม่มีปัจจัยอันพอเพียง สำหรับดำรงชีพด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงความข้อนี้เลย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีจะลงโทษจำเลยที่ 1 สำหรับความผิดฐานนี้ไม่ได้และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาให้ไม่ต้องรับโทษได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำรงชีพจากรายได้หญิงค้าประเวณี ต้องพิสูจน์ปัจจัยดำรงชีพไม่พอเพียง
ความผิดฐานดำรงชีพจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีนั้นจะต้องได้ความว่าผู้นั้นไม่มีปัจจัยอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงความข้อนี้เลย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีจะลงโทษจำเลยที่ 1 สำหรับความผิดฐานนี้ไม่ได้และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาให้ไม่ต้องรับโทษได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามฆ่า พิจารณาจากอาวุธปืนที่ใช้และบาดแผลของผู้ถูกยิง
จำเลยใช้ปืนยิง ร. ในระยะใกล้เพียง 1 วา กระสุนปืนถูก ร.ลึกฝังใต้ผิวหนังรักษา 10 วันหาย และกระสุนปืนพลาดไปถูก ช.บาดแผลผิวหนังฉีกขาดตื้นรักษา 5 วันหาย ไม่ได้ความจากแพทย์ว่า ถ้ารักษาไม่ทันอาจถึงแก่ความตายได้แสดงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงไม่อาจทำให้ผู้ถูกยิงถึงตายได้ ถือว่าจำเลยมุ่งประสงค์จะฆ่า แต่ปืนอันเป็นปัจจัยในการที่จำเลยใช้ยิงไม่บรรลุผลอย่างแน่แท้ ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81
of 2