คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปัญหาข้อเท็จจริง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คดีเยาวชน: การพิจารณาอัตราโทษตามฟ้อง มิใช่ความผิดที่พิจารณาได้ความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งต้องระวางโทษสองในสามของโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมิได้มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี ก็ตาม จำเลยยังมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะการอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามฟ้องว่าต้องห้ามหรือไม่ ไม่ใช่ความผิดที่พิจารณาได้ความ เมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยมิได้กระทำผิดอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษในศาลอุทธรณ์และการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานร่วมกันกรรโชกและฐานร่วมกันบุกรุก เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท แต่ละบทระวางโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานร่วมกันกรรโชกจำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกรรโชก ให้จำคุก 3 ปี 4 เดือน และให้ยกฟ้องโจทก์ฐานร่วมกันบุกรุก ดังนี้ในความผิดฐานร่วมกันกรรโชกศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทในคดีภาษีอากร: การพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ที่ใช้ในการห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
ทุนทรัพย์ที่จะพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25 หมายถึง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลภาษีอากร หาใช่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มจากจำเลยรวมเป็นเงิน 49,680 บาท แม้จะระบุจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ว่าเป็นจำนวน 58,788 บาท ก็ตาม ทุนทรัพย์ที่พิพาทคือ 49,680 บาท มิใช่ 58,788 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามความประสงค์ของผู้พิพากษาที่จำเลยระบุชื่อเท่านั้น
ป.วิ.อ. มาตรา 221 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติหรือวางหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 คือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ซึ่งตามคำร้องฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2547 จำเลยระบุชื่อขอให้ อ. ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงคนเดียวเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาอื่นอีก การที่ อ. ไม่สั่งคำร้องดับกล่าว แต่กลับส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ ท. ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุในคำร้องเป็นผู้พิจารณาดังนั้น แม้ ท. จะพิจารณาแล้วมีคำสั่งอนุญาจให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็หามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่จำเลยจะฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะไม่ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยที่ขอให้ อ. เท่านั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามความประสงค์จำเลย ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุเท่านั้นจึงจะชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 221 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติหรือวางหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 คือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงได้ ซึ่งตามคำร้องฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2547 จำเลยระบุชื่อขอให้นาย อ. ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงคนเดียวเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึง ผู้พิพากษาอื่นอีก การที่นาย อ. ไม่สั่งคำร้องดังกล่าว แต่กลับส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้นาย ท. ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุในคำร้องเป็นผู้พิจารณา ดังนั้นแม้นาย ท. จะพิจารณาแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็หามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่จำเลยจะฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะไม่ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยที่ขอให้นาย อ. เท่านั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเด็ดขาดผู้พิพากษาอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: คำสั่งไม่อนุญาตไม่อุทธรณ์ต่อได้
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงฯ เมื่อผู้พิพากษาผู้ซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้อุทธรณ์แล้ว โจทก์ร่วมจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์อีกไม่ได้ เพราะการที่ผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นอำนาจเฉพาะตัวอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7911/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง และยืนตามศาลอุทธรณ์เรื่องความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนเป็นคนละกรรม
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เฉพาะมาตรา 66 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ เป็นมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ไม่ได้แก้เป็นบทมาตราอื่นแต่อย่างใด ส่วนโทษก็แก้เฉพาะโทษในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จากที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 5 ปี เป็น 4 ปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยและขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบา ล้วนเป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาในข้อดังกล่าวมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
การมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตกับการมีกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน แม้มีอาวุธปืนและกระสุนปืนดังกล่าวไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษาลงโทษกักขังแทนจำคุกตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่าสมควรรอการลงโทษให้จำเลยในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลย 1 เดือน แทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี และตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218, 219 และ 220 เท่านั้น จะอนุญาตให้ฎีกาในคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 และมาตรา 241 หรือไม่ ศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยไม่ได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจทราบในโอกาสแรกหรือไม่ และขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนด้วยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือนและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงเดิมที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์
เมื่อข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาเป็นข้อเท็จจริงเดียวกันกับที่จำเลยได้กล่าวอ้างไว้ในอุทธรณ์ซึ่งไม่ผ่านการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ภาค 1 เพราะศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาจึงไม่เป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ฎีกาของจำเลยจะมีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
of 19