พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากการปิดกิจการต้องมีเหตุผลสมควร การปิดกิจการโดยไม่มีภาวะขาดทุนถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้นายจ้างปิดกิจการการปิดกิจการอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเมื่อต้องปิดกิจการซึ่งมีการเลิกจ้างแล้ว การเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ขึ้นอยู่กับเหตุผลของการปิดกิจการว่ามีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะปิดกิจการหรือไม่ นายจ้างปิดกิจการโดยไม่ได้ประสบภาวะการขาดทุนตามที่อ้าง ย่อมไม่มีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ การที่นายจ้างปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างกรณีดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิปิดกิจการโรงแรมและการละเมิดสิทธิเช่าสถานที่
จำเลยได้ให้โจทก์เช่าสถานที่ซึ่งอยู่ที่ชั้นสองและเป็นส่วนการค้าของโรงแรมเพื่อประกอบกิจการตัดผมสุภาพบุรุษ อาบ อบ นวด จำเลยปิดกิจการโรงแรมชั่วคราวเพื่อปรับปรุงและปิดประตูใหญ่ภายหลังจากที่โจทก์ปิดกิจการร้านของโจทก์แล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าขณะจำเลยปิดประตูใหญ่ โจทก์ยังมีสิทธิการเช่าอยู่ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดกิจการโรงแรมชั่วคราวไม่ถือเป็นการละเมิดสัญญาเช่า หากเป็นการกระทำที่ชอบธรรมและแจ้งให้เช่าทราบตามสัญญา
จำเลยได้ให้โจทก์เช่าสถานที่ซึ่งอยู่ที่ชั้นสองและเป็นส่วนการค้าของโรงแรมเพื่อประกอบกิจการตัดผมสุภาพบุรุษอาบ อบ นวด จำเลยปิดกิจการโรงแรมชั่วคราวเพื่อปรับปรุงและปิดประตูใหญ่ภายหลังจากที่โจทก์ปิดกิจการร้านของโจทก์แล้วแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าขณะจำเลยปิดประตูใหญ่ โจทก์ยังมีสิทธิการเช่าอยู่ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5673/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจากพฤติการณ์หลบหนีและปิดกิจการ เพื่อประวิงหนี้หรือหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
จำเลยทั้งสองถูกเจ้าหนี้รายอื่นกับโจทก์ฟ้องเป็นคดีอาญาหลายเรื่อง จำเลยที่ 2 จึงได้หลบหนีไป และในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 ต้องประกาศหนังสือพิมพ์ ส่วนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนก็ต้องส่งโดยวิธีปิดหมาย โดยเจ้าพนักงานผู้ส่งหมายรายงานว่าไม่มีป้ายชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 อยู่ที่ภูมิลำเนาตามฟ้อง ทั้งโจทก์นำสืบได้ความว่าจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินใดที่จะชำระหนี้ได้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่และปิดสถานที่ประกอบธุรกิจเพื่อประวิง การชำระหนี้ หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 8 (4) ข. แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหลังปิดกิจการ: ศาลแรงงานมีอำนาจอนุญาต แต่ไม่สามารถกำหนดวันเลิกจ้างได้
ผู้ร้องปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดไปแล้ว ผู้ร้องจึงมีเหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะสั่งอนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้แต่การที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านตั้งแต่เมื่อใดเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการออกคำสั่งอีกชั้นหนึ่งศาลแรงงานกลางไม่พึงก้าวล่วงมีคำสั่งเช่นว่านั้น
ในวันนัดไต่สวน ผู้ร้องและผู้คัดค้านส่งเอกสารต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งงดการไต่สวน คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อผู้คัดค้านมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้ง แต่มิได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งงดการไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31.(ที่มา-เนติ)
ในวันนัดไต่สวน ผู้ร้องและผู้คัดค้านส่งเอกสารต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งงดการไต่สวน คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อผู้คัดค้านมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้ง แต่มิได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งงดการไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างย่อมมีผลเมื่อออกคำสั่ง แม้ปิดกิจการก็ต้องออกคำสั่งเลิกจ้างชัดเจน ศาลไม่อาจกำหนดผลย้อนหลัง
ผู้ร้องปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดเมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2529 ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2529 ขออนุญาตเลิกจ้าง ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง โดยให้มีผลเลิกจ้างผู้คัดค้านย้อนหลังไปถึง วันที่19 พฤษภาคม 2529 กรณีเช่นนี้ผู้ร้องมีเหตุที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ แต่การที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านตั้งแต่ เมื่อใดเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการออกคำสั่งอีกชั้นหนึ่ง ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านมีผลย้อนหลังไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4688/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหลังปิดกิจการ: ศาลไม่อาจอนุญาตให้มีผลย้อนหลังได้
ผู้ร้องปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดเมื่อวันที่19พฤษภาคม2529ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่29พฤษภาคม2529ขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยให้มีผลเลิกจ้างผู้คัดค้านย้อนหลังไปถึงวันที่19พฤษภาคม2529กรณีเช่นนี้ผู้ร้องมีเหตุที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้แต่การที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านตั้งแต่เมื่อใดเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการหออกคำสั่งอีกชั้นหนึ่งศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านมีผลย้อนหลังไปไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การปิดกิจการและแจ้งความไม่สามารถชำระหนี้เป็นเหตุสันนิษฐานได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ เมื่อเจ้าหนี้ทวงถามหนี้ที่ค้างชำระ จำเลยบอกแก่เจ้าหนี้ว่าไม่มีเงินชำระ เป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 8