พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีความเสียหายปูนซีเมนต์จากการขนถ่ายสินค้า
ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้รับประกันภัยชำระแก่องค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศจำนวน 2,916,850.29 บาท สำหรับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกน้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตันเป็นค่าเสียหายเฉพาะความเสียหายกรณีปูนซีเมนต์ที่ถุงแตกจำนวน 41,574 ถุง น้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตัน โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิจากองค์การคลังสินค้าเฉพาะในส่วน ที่เกี่ยวกับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกจำนวน41,574 ถุง เท่านั้น โจทก์หาได้รับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายสำหรับกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวจำนวน 1,372 ถุง และปูนซีเมนต์ขาดหายอีก 16 ถุง มาด้วย ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับหนี้ความเสียหายตามฟ้องในกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวและขาดหายจำนวนดังกล่าว ซึ่งปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 ปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งทำหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์จากเรือช.ไปยังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้าจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากการกระทำของตนดังกล่าว ปัญหาที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าจากองค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีผลผูกพันถึงการขนส่งของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นการขนส่งภายในประเทศนั้นจำเลยที่ 3 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในปัญหานี้ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แม้ตามปกติผู้ขนส่งต้องผูกพันและรับผิดตามสัญญารับขน ปูนซีเมนต์พิพาทหากปูนซีเมนต์ดังกล่าวสูญหายหรือบุบสลาย ในระหว่างการขนส่งจนกว่าปูนซีเมนต์จะได้ส่งถึง กรุงเทพมหานครเมืองท่าปลายทาง โดยผู้ขนส่งต้องมีหน้าที่ ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับขนส่ง ก็ ตาม แต่ก็อาจมีการตกลงในสัญญารับขนเป็นประการอื่น กล่าวคือ ตกลงให้ผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้น จากเรือดังกล่าวก็ได้เมื่อปรากฏว่าสัญญารับขนปูนซีเมนต์ รายพิพาทนี้มีข้อตกลงกันด้วยว่าให้ผู้รับตราส่งคือ องค์การคลังสินค้าเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ ขึ้นจากเรือ และโจทก์กล่าวอ้างว่าความเสียหายตามฟ้องในส่วนปูนซีเมนต์ถุงแตกเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ในการขนถ่ายปูนซีเมนต์ จึงเป็นกรณี ที่ความเสียหายเพราะปูนซีเมนต์ถุงแตกนี้เกิดขึ้น ในระหว่างการทำหน้าที่ของจำเลยที่ 3 อันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้าเองตามที่มีการตกลงกันไว้ในสัญญารับขนว่าให้องค์การคลังสินค้าผู้รับตราส่ง เป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในหน้าที่และความรับผิด ชอบ ของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ขนส่งตามสัญญา รับขนดังกล่าว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดต่อ องค์การคลังสินค้าในความเสียหายนี้ไม่ จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งปูนซีเมนต์รายพิพาทจากองค์การคลังสินค้าเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: จำเลยผิดสัญญาเนื่องจากรู้ถึงภาวะปูนซีเมนต์ขาดแคลนก่อนทำสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ตามหนังสือกรมการค้าภายในระบุว่าปูนซีเมนต์มีภาวะตึงตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2532 เนื่องจากปริมาณการผลิตภายในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการ จำเลยและผู้รับเหมาของจำเลย ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการก่อสร้างควรจะต้องทราบถึงภาวะของวัสดุในการก่อสร้างโดยเฉพาะปูนซีเมนต์อันเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างดี โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายห้องชุดของจำเลยเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2533 เป็นช่วงระยะเวลาระหว่างที่ปูนซีเมนต์ขาดแคลนอยู่แต่จำเลยก็ทำสัญญาว่าจะก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จภายใน 24 เดือน เช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนเกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิด แต่เป็นกรณีที่จำเลยได้รู้ถึงภาวะการขาดแคลนนั้นมาก่อนแล้ว จำเลยย่อมไม่อาจยกเอาเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ว่าการที่ผู้รับเหมาของจำเลยไม่สามารถทำการก่อสร้างให้จำเลยได้ทันกำหนดตามสัญญามิใช่เป็นความผิดของจำเลย เมื่อจำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จตามสัญญาถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ตามสัญญาจำเลยจะต้องก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จภายใน24 เดือน นับแต่วันทำสัญญา คือภายในวันที่ 9 เมษายน 2535 โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2535 ก่อนครบกำหนดตามสัญญาประมาณ 13 วัน และในเดือนมีนาคม 2535 นั้น จำเลยก็แจ้งแก่โจทก์ว่า การก่อสร้างจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี 8 เดือน ดังนั้น แม้โจทก์จะกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ ก็เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่อาจจะชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นได้ กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวอีกและชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันที
ตามสัญญาจำเลยจะต้องก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จภายใน24 เดือน นับแต่วันทำสัญญา คือภายในวันที่ 9 เมษายน 2535 โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2535 ก่อนครบกำหนดตามสัญญาประมาณ 13 วัน และในเดือนมีนาคม 2535 นั้น จำเลยก็แจ้งแก่โจทก์ว่า การก่อสร้างจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี 8 เดือน ดังนั้น แม้โจทก์จะกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ ก็เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่อาจจะชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นได้ กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวอีกและชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุดล่าช้า: เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนมิอาจใช้แก้ตัวได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ตามหนังสือกรมการค้าภายในระบุว่าปูนซีเมนต์มีภาวะตึงตัวมาตั้งแต่ปลายปี2532เนื่องจากปริมาณการผลิตภายในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการจำเลยและผู้รับเหมาของจำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการก่อสร้างควรจะต้องทราบถึงภาวะของวัสดุในการก่อสร้างโดยเฉพาะปูนซีเมนต์อันเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างดีโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายห้องชุดของจำเลยเมื่อวันที่9เมษายน2533เป็นช่วงระยะเวลาระหว่างที่ปูนซีเมนต์ขาดแคลนอยู่แต่จำเลยก็ทำสัญญาว่าจะก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จภายใน24เดือนเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่เหตุปูนซีเมนต์ขาดแคลนเกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิดแต่เป็นกรณีที่จำเลยได้รู้ถึงภาวะการขาดแคลนนั้นมาก่อนแล้วจำเลยย่อมไม่อาจยกเอาเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ว่าการที่ผู้รับเหมาของจำเลยไม่สามารถทำการก่อสร้างให้จำเลยได้ทันกำหนดตามสัญญามิใช่เป็นความผิดของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จตามสัญญาถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ตามสัญญาจำเลยจะต้องก่อสร้างอาคารขุดให้เสร็จภายใน24เดือนนับแต่วันทำสัญญาคือภายในวันที่9เมษายน2535โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่27มีนาคม2535ก่อนครบกำหนดตามสัญญาประมาณ13วันและในเดือนมีนาคม2535นั้นจำเลยก็แจ้งแก่โจทก์ว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน2536ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ1ปี8เดือนดังนั้นแม้โจทก์จะกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ก็เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยไม่อาจจะชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นได้กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวอีกและชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปูนซีเมนต์ผงไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ต้องเสียภาษีตามอัตราวัตถุดิบ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 สินค้าสำเร็จรูปหมายถึงสิ่งใดๆก็ตามที่อาจใช้อุปโภค (ใช้สอย) หรือบริโภค (กิน) ได้ทันที โดยไม่ต้องเอาของสิ่งนั้นไปปรุงแต่งเปลี่ยนแปลง หรือผสมกับสิ่งใดอีก เช่น เป็นของกินก็อาจกินได้ทันที หรือถ้าเป็นของใช้ก็อาจใช้ได้ทันที แต่การพิจารณาว่าสิ่งใดอาจใช้ได้ทันทีหรือไม่ จำต้องพิจารณาจากการใช้ในสภาพปกติ เพราะวัตถุไม่สำเร็จรูปก็อาจนำมาใช้ได้ทันที เช่นเดียวกับวัตถุสำเร็จรูป เช่น นำวัตถุไม่สำเร็จรูปไปผสมกับสิ่งอื่นเพื่อผลิตสินค้าอย่างอื่นก็อาจเรียกได้ว่าวัตถุไม่สำเร็จรูปนั้นใช้ได้ทันทีเหมือนกัน. แต่ก็มิใช่เป็นการใช้ในสภาพของวัตถุสำเร็จรูปหากเป็นการใช้ในสภาพของวัตถุไม่สำเร็จรูปหรือวัตถุดิบคือต้องมีการเปลี่ยนแปลง หรือผสมกับสิ่งอื่นเสียก่อน จนวัตถุสิ่งนั้นเปลี่ยนจากสภาพปกติหรือสภาพเดิม จึงถือไม่ได้ว่าสิ่งนั้นเป็นสินค้าสำเร็จรูป
สภาพปกติของปูนซีเมนต์ผง มิใช่สิ่งที่จะนำไปใช้สอยได้ทันทีโดยมิต้องเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด การใช้สอยปูนซีเมนต์ผงตามสภาพปกตินั้น ใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าหรือสิ่งของอื่น มิใช่สิ่งที่ตามปกติย่อมนำไปใช้ได้ในสภาพเดิมโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือผสมสิ่งอื่น (คือยังคงรูปเป็นปูนซีเมนต์ผงอยู่)ปูนซีเมนต์ผงจึงมิใช่สินค้าสำเร็จรูป
สภาพปกติของปูนซีเมนต์ผง มิใช่สิ่งที่จะนำไปใช้สอยได้ทันทีโดยมิต้องเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด การใช้สอยปูนซีเมนต์ผงตามสภาพปกตินั้น ใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าหรือสิ่งของอื่น มิใช่สิ่งที่ตามปกติย่อมนำไปใช้ได้ในสภาพเดิมโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือผสมสิ่งอื่น (คือยังคงรูปเป็นปูนซีเมนต์ผงอยู่)ปูนซีเมนต์ผงจึงมิใช่สินค้าสำเร็จรูป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19744/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายปูนซีเมนต์: พิจารณาวัตถุประสงค์การใช้สินค้าเพื่อขยายอายุความตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ซื้อ จัดหา รับเช่า เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง ปรับปรุง ใช้ จัดการโดยประการอื่นซึ่งทรัพย์สินใด ๆ ตลอดจนดอกผลของทรัพย์สินนั้นรวมทั้งประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างอาคาร อาคารพาณิชย์ อาคารที่พักอาศัย ฯลฯ การที่จำเลยที่ 1 สั่งซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์เป็นระยะเวลาติดต่อกันนานและเป็นจำนวนมากประกอบกับมีการชำระค่าสินค้าเป็นราคาตามกำหนด แสดงว่าจำเลยที่ 1 นำสินค้าที่ซื้อมานั้นไปจำหน่ายแก่บุคคลอื่น รวมทั้งรับเหมาก่อสร้างอาคารตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 สั่งซื้อปูนซีเมนต์ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2540 นำไปก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ซึ่งอาคารดังกล่าวจำเลยที่ 1 ใช้เป็นสำนักงานในการบริหารงานการค้าขายที่ค้าขายในต่างประเทศ จึงเป็นการกระทำเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 ฝ่ายลูกหนี้เอง อันเข้าข้อยกเว้นตอนท้ายของมาตรา 193/34 (1) ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกค่าสินค้าจากจำเลยที่ 1 จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) หาใช่มีอายุความเพียง 2 ปี