คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป่าสงวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีป่าสงวน: การสอบสวนโดยคณะกรรมการและโทษจำคุกสำหรับความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 10 ให้มีคณะกรรมการสำหรับป่าสงวนแห่งชาติคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนป่าไม้ ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมที่ดินและกรรมการอื่นอีก 2 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีอำนาจหน้าที่ควบคุมให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีหลักเขตและป้ายหรือเครื่องหมายอื่นแสดงแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในทางการบริหาร มิใช่การสอบสวนคดีอาญา ทั้งตามมาตรา 26 บัญญัติว่าการจับกุม การปราบปรามผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิ.อ. เมื่อ ส. เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ได้ควบคุมตัวจำเลยและส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำตกเขาอีโต้ โดยกระทำความผิดจำนวน 3 คดี รวมทั้งคดีนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษทุกคดี เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีและความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ ที่ปรากฏตามภาพถ่ายในสำนวนถือได้ว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่จำเลยอ้างในฎีกาว่าจำเลยอายุมาก โดยมีอายุ 66 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัวซึ่งมีบุตร 5 คน อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน 2 คน ถ้าจำเลยต้องโทษจำคุก ย่อมทำให้ครอบครัวได้รับความลำบากยังไม่เพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบังคับคดีของพนักงานอัยการในส่วนแพ่งของคำพิพากษาคดีอาญา กรณีให้จำเลยออกจากพื้นที่ป่าสงวน
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสาม คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวาร ออกจากป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุ เป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาในคดีอาญา เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วศาลชั้นต้นชอบที่จะบังคับคดีให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยไม่ชักช้าตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ออกคำบังคับให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำพิพากษา พนักงานอัยการโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยทั้งสามให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ การบังคับคดีของพนักงานอัยการโจทก์นอกจากที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 249 (เดิม) แล้ว กรณีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติเกี่ยวกับการบังคับคดีไว้โดยเฉพาะ พนักงานอัยการโจทก์ก็อาจดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้ด้วย ทั้งนี้มิต้องคำนึงว่าพนักงานอัยการโจทก์จะเป็นคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 หรือไม่ มิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็จะไร้ผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำกินในที่ดินป่าสงวน กรณีต่ออายุอนุญาตล่าช้า และการพิสูจน์การซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อครบกำหนดอนุญาตแล้ว โจทก์ได้ยื่นหนังสือต่อทางราชการขอทำกินต่อไปอีก ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวถึงปี 2531 นั้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาทางราชการจะส่งเจ้าหน้าที่มารับคำขอเพื่อนำไปจัดทำใบ สทก.2ต่อไป แต่ในปี 2532 ทางราชการมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอจึงไม่ได้จัดส่งคนไปรับคำขอเพิ่งจะส่งเจ้าหน้าที่ไปรับคำขอเมื่อปี 2533 กรณีจึงเป็นเรื่องตกค้างจากปี 2533 ซึ่งป่าไม้เขตมีคำสั่งรับใบคำขอของโจทก์แล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาทอยู่ต่อเนื่องตลอดมา โจทก์ซึ่งมีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองพื้นที่ป่าสงวนฯ เพื่อผู้อื่น จำเลยเพียงรับจ้างใส่ปุ๋ย ไม่ถือว่าครอบครองเพื่อผู้อื่น
การที่จำเลยรับจ้างบุคคลอื่นใส่ปุ๋ยต้นยางพาราที่ปลูกอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเพื่อผู้อื่นด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองสวนยางพาราพื้นที่เกิดเหตุโดยยึดถือเอาไว้เพื่อผู้อื่น ตามความหมายของมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 หรือ มาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิด กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 72 ตรี วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และ มาตรา 31 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ที่จะสั่งให้จำเลย คนงานผู้รับจ้างผู้แทน และบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าสงวน: จำเลยต้องมีเจตนาครอบครองเพื่อตนเอง ไม่ใช่เพียงรับจ้างทำงาน
ในชั้นสอบสวนกับชั้นพิจารณาจำเลยให้การปฏิเสธ และไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยเข้าไปใส่ปุ๋ยหรือดูแลรักษาต้นยางพาราในสวนยางพาราที่เกิดเหตุก่อนหน้านี้หรือไม่และทำมานานเท่าใด กรณีอาจเป็นเรื่องที่จำเลยอาจจะรับจ้างใส่ปุ๋ยเมื่อใส่เสร็จแล้วจำเลยก็หมดภาระหน้าที่ โดยมิได้ครอบครองพื้นที่เกิดเหตุด้วยก็เป็นได้คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองสวนยางพาราที่เกิดเหตุเพื่อผู้อื่นตามความหมายของมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ
คำขอท้ายฟ้องขอให้สั่งให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคสาม และพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา 72 ตรี วรรคสาม ซึ่งศาลจะมีคำสั่งเช่นนั้นได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิด เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าวศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เจตนาครอบครองพื้นที่ป่าสงวน การสั่งให้ผู้นำพื้นที่ออกจากเขตป่าต้องมีคำพิพากษาถึงความผิดเสียก่อน
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้สั่งให้จำเลย คนงาน ผู้รับเหมา ผู้แทนและบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสาม และพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2483 มาตรา 72 ตรี วรรคสาม ซึ่งศาลจะมีคำสั่งได้เช่นนั้นต่อเมื่อศาลพิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโดยมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9132/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินนั้นไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครอง
ที่นาพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และทางราชการยังมิได้จัดให้เป็นที่ทำกินของราษฎร จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 การที่ พ. เข้าครอบครองทำนาในที่ดินพิพาท ก็เพียงมีสิทธิในที่นาพิพาทดีกว่าบุคคลอื่น แต่ พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ. จึงยกเอาการครอบครองของตนใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ แม้ พ. จะครอบครองหรือทำนาพิพาทเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิในนาพิพาทตามกฎหมาย ทั้งยังอาจถูกฟ้องร้องขอให้ลงโทษ ตามพ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกด้วย เมื่อ พ. เข้าครอบครองที่นาพิพาทโดยไม่ชอบจึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่นาพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะเข้าไปไถนาและปลูกข้าวในที่นาพิพาทก็ไม่เป็นการรบกวนการครอบครอง ที่อสังหาริมทรัพย์ของ พ. อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8275/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสนับสนุนการยึดครองที่ดินในเขตป่าสงวนฯ จำเลยทราบพื้นที่ แต่ช่วยเอื้อประโยชน์
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ติดต่อหารถแทรกเตอร์ไปไถที่ดินที่เกิดเหตุเพื่อได้รับค่าตอบแทนจากเจ้าของรถแทรกเตอร์เท่านั้น จะถือว่าจำเลยที่ 1 ร่วมยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุร่วมกับจำเลยที่ 2 หาได้ไม่ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า เขตป่าสงวนแห่งชาติมีลำน้ำเป็นแนวเขตและมีหลักเขต พร้อมแผ่นป้ายแสดงแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตป่าสงวนแห่งชาติไว้ชัดเจน โดยอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 1 กิโลเมตรเท่านั้น จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 1 ทราบว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตป่าสงวนแห่งชาติ การที่จำเลยที่ 1 ติดต่อหารถแทรกเตอร์ไปไถที่ดินที่เกิดเหตุ แม้จะทำเพื่อหวังประโยชน์ตอบแทนจากเจ้าของรถแทรกเตอร์ดังที่จำเลยที่ 1 นำสืบ ก็ถือได้ว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 2 กระทำความผิดจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6900/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท และการรอการลงโทษในคดีป่าสงวน
จำเลยรับว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษตามฟ้องจริง แต่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลฎีกามีอำนาจรอการลงโทษจำคุกจำเลยได้
จำเลยรับไว้ ซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสียซึ่งของป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 34 กับมีไว้ในความครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนดโดยมิได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ทวิ วรรคหนึ่ง, 71 ทวิ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะการรับไว้ ซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสียมีเจตนาเดียวเพื่อครอบครองของป่านั่นเอง ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยมา 2 กระทงจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7992/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนฯ และแปรรูปไม้: การพิจารณาว่าเป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำไม้ ร่วมกันเข้าทำประโยชน์โดยตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ร่วมกันแปรรูปไม้โดยกระทำความผิดในเขตป่าสงวนแห่งชาติและภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติและร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ กับมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องการกระทำของจำเลยกับพวกย่อมเป็นความผิดต่อกฎหมายทั้งสองฉบับซึ่งฐานความผิดตามฟ้องเป็นความผิดที่ผู้กระทำมีเจตนาต่างกัน และเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกรรมกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรม
of 18