คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป่าสงวนแห่งชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5223/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: การพิจารณาจากแผนที่ท้ายกฎกระทรวงเพื่อยืนยันความเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
กฎกระทรวงกำหนดให้ป่า ด. ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น การพิจารณาว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่า ด. หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากแผนที่ท้ายกฎกระทรวงด้วย เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่า ด. ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน การเข้ายึดถือครอบครองย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้บรรทุกไม้ผิดกฎหมาย: ศาลฎีกาชี้ขาดชอบธรรมตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
จำเลยรับไว้ซึ่งไม้ไผ่จากผู้ลักลอบทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14 ประกอบมาตรา 34 เมื่อจำเลยฝ่าฝืนนอกจากจะมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 31 แล้ว มาตรา 35 บัญญัติว่า "บรรดาไม้ ของป่า เครื่องมือ เครื่องใช้... ยานพาหนะหรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลใช้หรือได้มาโดยการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น..." รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ไผ่ บทบัญญัติมาตรา 35 จึงเป็นโทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดโดยให้รถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่จะต้องริบเสียตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกบทหนึ่ง การริบรถยนต์ของกลางจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9132/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดสิทธิ และไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครองของผู้อื่น
ที่นาพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทางราชการยังมิได้จัดให้เป็นที่ทำกินของราษฎร จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304 การที่ พ. เข้ามาครอบครองทำนาในที่ดินพิพาทก็เพียงแต่ถือว่า พ. มีสิทธิในที่นาพิพาทดีกว่าบุคคลอื่น แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติพ. จึงยกเอาการครอบครองของตนใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ ดังนั้น แม้ พ. จะครอบครองหรือทำนาพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิในนาพิพาทตามกฎหมาย ทั้งยังอาจถูกฟ้องร้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกด้วย จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่นาพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น แม้จำเลยจะเข้าไปไถนาและปลูกข้าวในที่นาพิพาทก็ไม่เป็นการรบกวนการครอบครองที่อสังหาริมทรัพย์ของ พ. อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,365

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติหลังมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ต้องมีการส่งมอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. ก่อน
พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26 (4) บัญญัติว่า "ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น" ดังนั้น ที่ดินพิพาทเมื่อยังมิได้มีการ ส่งมอบพื้นที่ให้แก่ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน แม้จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินออกมาแล้วก็ตาม พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทำการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ในทันที พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติยังคงเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติด้วยพระราชกฤษฎีกาปฏิรูปที่ดิน: การส่งมอบพื้นที่เป็นสำคัญ
ที่ดินพิพาทอยู่ในโซนซีของป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ยังมิได้ส่งมอบพื้นที่ให้แก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน แม้จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินออกมาแล้วแต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทำการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที ยังคงป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม ที่พิพาทจึงยังคงมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีสิทธิครอบครอง แม้ครอบครองก่อนประกาศเป็นเขตป่าสงวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตป่า ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 239 (พ.ศ. 2510) ออกตามความใน พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ โดยที่ดินพิพาทได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ทับที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ แม้ว่าโจทก์หรือบิดาโจทก์ได้ครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับที่ 239 ดังกล่าว จะได้ประกาศให้ที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์หรือบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินพิพาท เมื่อได้มีกฎกระทรวงประกาศกำหนดให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ ฯ โจทก์หรือบิดาโจทก์จึงหามีสิทธิครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ และแม้โจทก์หรือบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินพิพาทได้ แต่การได้รับอนุญาตดังกล่าวก็มีผลให้โจทก์หรือบิดาโจทก์เท่านั้นที่มีสิทธิดังกล่าวในที่ดินพิพาทและโจทก์หรือบิดาโจทก์ก็ไม่อาจนำไปให้บุคคลอื่นเช่าได้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวไปให้จำเลยเช่าได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอาศัยสัญญาเช่า จำเลยได้ให้การไว้ชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็น ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและการครอบครองของจำเลยมิได้อาศัยสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ คดีย่อมมีประเด็นให้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การฟ้องคืนสิทธิระหว่างราษฎร แม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเช่าจากโจทก์ จึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิครอบครอง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยเปลี่ยนเจตนาในการครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทจากจำเลย
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออาศัยอยู่ในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ และมาตรา 12 บัญญัติให้บุคคลผู้อ้างว่ามีสิทธิหรือได้ทำประโยชน์ในป่าสงวนแห่งชาติอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดป่าสงวนแห่งชาตินั้นใช้บังคับ ยื่นคำร้องภายในกำหนด90 วัน มิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิหรือประโยชน์นั้น เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ยันต่อรัฐได้ แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ แม้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองป่าสงวนแห่งชาติก่อนประกาศใช้กฎหมาย และเจตนาในการครอบครอง
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนที่ทางราชการจะประกาศในที่ดินบริเวณที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แม้จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีครั้งแรกและพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏเหตุผลที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยในครั้งนั้น ทั้งไม่ได้ความจากการนำสืบของโจทก์ว่าได้มีการแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการให้จำเลยทราบ หรือได้มีการแจ้งให้จำเลยออกจากที่พิพาทและจำเลยยังคงครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา แม้การที่จำเลยจะไม่ได้ไปแจ้งการครอบครองที่พิพาทต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทางราชการประกาศให้ที่ดินบริเวณที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติมีผลจะถือว่าจำเลยได้สละสิทธิในที่พิพาทและไม่มีสิทธิครอบครองอีกต่อไปก็ตาม แต่การที่พนักงานอัยการมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยไปยังหัวหน้าพนักงานสอบสวนโดยไม่ระบุเหตุผลการสั่งไม่ฟ้องและไม่ได้ความว่าได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบและแจ้งให้จำเลยออกจากที่พิพาทด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดาในชนบทเข้าใจได้ว่ายังคงมีสิทธิครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทได้อีกต่อไป ประกอบกับเมื่อจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีในครั้งนี้ จำเลยก็ให้การภาคเสธตลอดมาตั้งแต่ชั้นจับกุมว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือแจ้งการครอบครองมาก่อน คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนายึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติ ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3009/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติมีผลผูกพัน แม้ผู้บุกรุกอ้างว่าไม่รู้
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ป่าภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงเป็นป่าสงวนแห่งชาติและทางราชการได้ปิดประกาศสำเนากฎกระทรวงและแผนที่ท้ายกฎกระทรวงไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอที่ทำการกำนันท้องที่ และที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายในหมู่บ้านท้องที่นั้นตามมาตรา 9 แห่ง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 แล้ว ย่อมมีผลให้ที่ดินในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติทันที จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าไม่รู้ว่าที่ดินแปลงที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5363/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยพยานหลักฐาน
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 8 ไม่เกิน5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรกศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที๋ 8 รู้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยที่ 8 จ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เข้าไปตัดถางหญ้าในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยที่ 8 จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 8อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 8 เป็นผู้ยึดถือครอบครองถางป่าสงวนแห่งชาติ และจำเลยที่ 8 ไม่ทราบว่าที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติการที่จำเลยที่ 8 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 มาถางที่พิพาทโดยเข้าใจว่าที่เกิดเหตุเป็นการปลูกป่าของทางราชการ จึงขาดเจตนากระทำผิด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยเชื่อตามคำเบิกความและพยานหลักฐานโจทก์ว่าประชาชนทั่วไปทราบว่าที่ดินบริเวณที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และจำเลยที่ 8 ทราบดีว่าเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนายึดถือครอบครรองป่าสงวนแห่งชาติ จึงมีความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่ 8 ที่ว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1, 122 (พ.ศ.2528) คลาดเคลื่อน เพราะหลงเชื่อคำเบิกความของพยานโจทก์โดยไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดในกฎกระทรวงซึ่งมิได้ระบุว่า หมู่ที่ 5ตำบลระบำ อำเภอลานสัก ตามฟ้องเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เนื่องจากในอำเภอลานสักคงมีแต่ตำบลล่านสักและตำบลป่าอ้อเท่านั้น ย่อมเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา
of 3