คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป้ายชื่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีป้ายสำหรับโรงเรียนเอกชน ป้ายต้องแสดงชื่อโรงเรียนเป็นอักษรไทยตามกฎหมายเฉพาะ
ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ มาตรา 46 ป้ายของโรงเรียนเอกชนหมายถึงป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยเท่านั้น เมื่อป้ายพิพาทมิใช่ป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทย จึงมิใช่ป้ายโรงเรียนเอกชนที่จะได้รับยกเว้นภาษีป้ายตามพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ มาตรา 8(9) จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของป้ายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีป้ายโรงเรียนเอกชนต้องเป็นป้ายแสดงชื่อโรงเรียนเป็นอักษรไทยตามกฎหมายเฉพาะ
มาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 บัญญัติยกเว้นภาษีป้ายสำหรับป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน การที่จะพิจารณาว่าป้ายใดจะถือเป็นป้ายโรงเรียนเอกชนหรือไม่ จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ซึ่งมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีป้ายแสดงชื่อโรงเรียนเป็นอักษรไทย ขนาดใหญ่พอเห็นได้ในระยะอันสมควรติดไว้ที่โรงเรียนหรือบริเวณโรงเรียน ณ ที่ซึ่งเห็นได้ง่าย" ดังนั้นป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนจึงหมายความถึงป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยตามบทบังคับของมาตรา 46 เท่านั้น ป้ายพิพาทมิใช่ป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงมิใช่ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีป้าย: ป้ายชื่อทั่วไปต้องเสียภาษี, การประเมินโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มิได้ระบุว่า ป้ายจะต้องแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะทั่วไป ก็เป็นป้ายตามความหมายแห่งมาตรา ดังกล่าว ป้ายของโจทก์ซึ่งมีข้อความว่า 'สำนักงานแพทย์ สิว ฝ้า โรคผิวหนังและโรคทั่วไป' เป็นป้ายแสดงชื่อซึ่งมีลักษณะทั่วไป จึงเป็นป้ายซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
เมื่อนายกเทศมนตรี ได้แจ้งเตือนให้โจทก์ไปชำระภาษีป้ายย้อนหลัง 5 ปี โจทก์มอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้นำเงินไปชำระค่าภาษีป้าย อ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายประจำปี เอกสารทุกฉบับระบุว่า อ. เป็นผู้มายื่นแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของป้ายการกระทำของ อ. ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำแทนโจทก์หรือในนามของโจทก์ ด้านหลังเอกสารดังกล่าวทุกฉบับ มีรายการประเมินภาษีป้ายลงนามโดย ร. ผู้รักษาการแทนสมุห์บัญชีซึ่งนายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีหรือผู้รักษาการแทนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีป้าย ร. จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีป้ายและถือว่ามีการประเมินภาษีป้ายโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีป้าย: ป้ายชื่อทั่วไปต้องเสียภาษี การประเมินโดยเจ้าหน้าที่มอบอำนาจชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มิได้ระบุว่า ป้ายจะต้องแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้นป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่มีลักษณะทั่วไป ก็เป็นป้ายตามความหมายแห่งมาตรา ดังกล่าว ป้ายของโจทก์ซึ่งมีข้อความว่า 'สำนักงานแพทย์ สิวฝ้า โรคผิวหนังและโรคทั่วไป' เป็นป้ายแสดงชื่อซึ่งมีลักษณะทั่วไป จึงเป็นป้ายซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
เมื่อนายกเทศมนตรี ได้แจ้งเตือนให้โจทก์ไปชำระภาษีป้ายย้อนหลัง 5 ปี โจทก์มอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้นำเงินไปชำระค่าภาษีป้าย อ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายประจำปี เอกสารทุกฉบับระบุว่า อ. เป็นผู้มายื่นแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของป้ายการกระทำของ อ. ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำแทนโจทก์หรือในนามของโจทก์ ด้านหลังเอกสารดังกล่าวทุกฉบับ มีรายการประเมินภาษีป้ายลงนามโดย ร. ผู้รักษาการแทนสมุห์บัญชีซึ่งนายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีหรือผู้รักษาการแทนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีป้าย ร. จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีป้ายและถือว่ามีการประเมินภาษีป้ายโดยชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการยกเว้นภาษีป้ายสำหรับโรงเรียนเอกชน ต้องเป็นป้ายแสดงชื่อโรงเรียนโดยเฉพาะ และมีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
การพิจารณาว่าป้ายของโรงเรียนเอกชนใดจะได้รับยกเว้นภาษีป้ายตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 8 (9) หรือไม่ ต้องพิจารณาประกอบกับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 28 และมาตรา 127 (1) ที่กำหนดถึงการใช้ชื่อของโรงเรียนเอกชนในระบบและนอกระบบ ซึ่งก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโรงเรียนเอกชนดังกล่าว เดิมมี พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 มาตรา 54 บัญญัติให้ผู้รับใบอนุญาตจัดมีป้ายแสดงชื่อโรงเรียนเป็นอักษรไทยขนาดใหญ่ ซึ่งกฎหมายโรงเรียนเอกชนฉบับเดิมและฉบับที่ใช้บังคับในปัจจุบันกำหนดไว้ชัดเจนว่า ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหมายความถึงป้ายแสดงชื่อของโรงเรียนเท่านั้น โดย พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฉบับใหม่มิได้เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เรื่องป้ายชื่อของโรงเรียนเอกชนตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฉบับเดิมแต่อย่างใด เพียงแต่เพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอักษรที่แสดงอยู่บนป้ายชื่อของโรงเรียน ดังนั้น ป้ายของโรงเรียนเอกชนในระบบและนอกระบบที่จะได้รับยกเว้นภาษีป้ายตามมาตรา 8 (9) จึงต้องเป็นป้ายแสดงชื่อของโรงเรียนเป็นอักษรไทยขนาดใหญ่พอสมควร และป้ายนั้นติดไว้ที่บริเวณโรงเรียนเอกชนที่ซึ่งเห็นได้ง่าย โดยต้องมีคำว่า "โรงเรียน" ประกอบชื่อด้วย เมื่อป้ายพิพาทของโจทก์ทั้งสองป้ายมิได้มีชื่อโรงเรียนเพียงอย่างเดียว แต่มีอักษรต่างประเทศปะปนอยู่ และมีข้อความอื่นแสดงหลักสูตรที่เปิดสอนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งมีลักษณะเป็นการโฆษณากิจการเพื่อหารายได้ แม้จะติดไว้บริเวณโรงเรียน ย่อมไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 8 (9) พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510