พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้าย: การพิจารณาประเภทป้าย (มีขอบเขต/ไม่มีขอบเขต) และอำนาจประเมินภาษีป้ายย้อนหลัง
ในคดีอาญาเรื่องบุกรุก เพียงแต่จำเลยต่อสู้อ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยครอบครองแต่ผู้เดียวตลอดมา ถึงแม้เป็นที่ดินมือเปล่า จะถือว่าเป็นเรื่องพิพาทกันในทางแพ่งไม่มีมูลความผิดทางอาญาเสียเลยทีเดียวไม่ได้ ศาลจะต้องพิจารณาจากพยานโจทก์และพยานจำเลยเสียก่อนว่า ข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะฟังได้หรือไม่ว่า ที่พิพาทเป็นของผู้เสียหาย เมื่อยังไม่ได้วินิจฉัย จึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้าย: ป้ายมีขอบเขต vs. ไม่มีขอบเขต การคำนวณพื้นที่ และอำนาจประเมินย้อนหลัง
โครงอลูมีเนียมของโจทก์มีอักษร BOAC และรูปนกติดอยู่นั้น ติดต่อเป็นแผ่นเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าทำคราวเดียวกันหลังจากที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างแล้วและทำโครงอลูมิเนียมดังกล่าวขึ้นเพื่อทำเป็นป้ายโฆษณาของโจทก์ เมื่อโจทก์เอาอักษร BOAC และรูปนกอันเป็นสัญญลักษณ์ของบริษัทโจทก์มาติดไว้ที่โครงอลูมิเนียมดังกล่าว แม้โจทก์จะเอาอักษร BOAC และรูปนกติดไม่เต็มโครงอลูมีเนียมโดยติดตรงส่วนบนของโครงอลูมีเนียม จึงถือว่าป้ายโฆษณาของโจทก์เป็นป้ายมีขอบเขตกำหนดได้ คือถือว่าป้ายโฆษณาของโจทก์มีขอบเขตตามโครงอลูมีเนียมดังกล่าว ในการคำนวณหาพื้นที่ของป้ายโฆษณาของโจทก์จะต้องเอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของโครงอลูมีเนียมอันเป็นขอบเขตป้ายโฆษณาของโจทก์เป็นนตารางเซนติเมตร เมื่อโจทก์เสียภาษีป้ายของโจทก์แบบป้ายไม่มีขอบเขตโดยถืออักษร BOAC และรูปนกเป็นขอบเขตกำหนดส่วนกว้างส่วนยาวที่สุดของป้ายโฆษณาของโจทก์ จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งจำเลยที่ 2 มีอำนาจแจ้งการประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่ จำเลยที่ 2 แจ้งการประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 29 และ โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมตามมาตรา 25(2)
การเสียภาษีป้ายจะต้องเสียตามที่พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510บัญญัติไว้ โดยจะต้องเสียตามจำนวนเนื้อที่ของพื้นที่ของป้ายตามชนิดของป้ายและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวมิใช่เสียตามที่คณะเทศมนตรีหรือบุคคลใดกำหนด หากเจ้าของป้ายไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 29 ยังบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจแจ้งการประเมินย้อนหลังได้ไม่เกินห้าปี นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 บัญญัติว่าหากเจ้าของป้ายเสียภาษีป้ายไม่ถูกต้อง ให้คณะเทศมนตรีหรือบุคคลใดมีอำนาจสั่งงดเก็บภาษีป้ายย้อนหลัง มติของคณะเทศมนตรีนครหลวงที่ให้งดเก็บภาษีป้ายโฆษณาของโจทก์ย้อนหลังจึงไม่มีผลใช้บังคับเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยที่ 2 มีสิทธิประเมินให้โจทก์เสียภาษีป้ายของโจทก์ย้อนหลังได้ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 29 และไม่เป็นการประเมินซ้ำ
การเสียภาษีป้ายจะต้องเสียตามที่พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510บัญญัติไว้ โดยจะต้องเสียตามจำนวนเนื้อที่ของพื้นที่ของป้ายตามชนิดของป้ายและตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวมิใช่เสียตามที่คณะเทศมนตรีหรือบุคคลใดกำหนด หากเจ้าของป้ายไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 29 ยังบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจแจ้งการประเมินย้อนหลังได้ไม่เกินห้าปี นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 บัญญัติว่าหากเจ้าของป้ายเสียภาษีป้ายไม่ถูกต้อง ให้คณะเทศมนตรีหรือบุคคลใดมีอำนาจสั่งงดเก็บภาษีป้ายย้อนหลัง มติของคณะเทศมนตรีนครหลวงที่ให้งดเก็บภาษีป้ายโฆษณาของโจทก์ย้อนหลังจึงไม่มีผลใช้บังคับเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยที่ 2 มีสิทธิประเมินให้โจทก์เสียภาษีป้ายของโจทก์ย้อนหลังได้ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 29 และไม่เป็นการประเมินซ้ำ