คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป.ที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7590/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดูแลที่สาธารณประโยชน์: ป.ที่ดินไม่ตัดอำนาจหน้าที่นายอำเภอตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่
ความในมาตรา 8 แห่ง ป.ที่ดิน หมายถึง ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จึงให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมที่ดินที่จะดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันและให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวนั้นได้ แต่ในเรื่องที่สาธารณประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น ได้มี พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122บัญญัติไว้ให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62วรรคสาม เห็นได้ว่า ป.ที่ดินมิได้ยกเลิกเพิกถอนอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอซึ่งมีอยู่ตามมาตรา 122 แห่ง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ดังนั้น การสอบสวนและแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนของนายอำเภอจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83 ยังมีผลจนกว่าศาลจะมีคำสั่งถอนหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้มีการฟ้องคดี
การที่ พนักงานเจ้าหน้าที่รับอายัดที่ดินตามป.ที่ดินมาตรา83ไว้แล้วและผู้ขออายัดไปดำเนินคดีทางศาลภายในกำหนดเวลาการอายัดก็ยังคงมีผลอยู่ต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดเมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาและไม่มีคำสั่งศาลให้ถอนการอายัดการอายัดจึงยังคงมีอยู่ตามมาตรา83วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการโอนที่ดินตาม ป.ที่ดิน ม.31: การโอนที่ดินภายใต้เงื่อนไขห้ามโอน และข้อยกเว้น
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ขายให้แก่จำเลยและจำเลยได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขการห้ามมิให้โอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 แม้จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย และโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วก็ตาม แต่เมื่อ ป.ที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าห้ามมิให้ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะการโอนโดยทางนิติกรรม แต่ในทางตรงกันข้ามกลับมีบัญญัติไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ว่าความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ที่ดินนั้นตกทอดทางมรดก ซึ่งการตกทอดทางมรดกก็มิใช่นิติกรรม จึงเป็นการเน้นให้เห็นเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวว่า แม้การที่ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนนี้ต้องเปลี่ยนมือไปเพราะการตกทอดทางมรดกซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายมรดกก็ยังต้องบัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ ดังนั้นการใดที่เป็นเหตุให้ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนโอนจะต้องโอนไปและการนั้นมิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ย่อมไม่อาจโอนที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยการนั้นได้ในทุกกรณี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของโจทก์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท – การพิสูจน์สิทธิก่อน ป.ที่ดินใช้บังคับ – ที่ดินของรัฐ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่อาจมีสิทธิครอบครองโดยการครอบครองที่ดินมาก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับ เมื่อโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เข้ายึดถือที่ดินพิพาทภายหลัง ป.ที่ดินใช้บังคับแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบแสดงให้เห็นว่าผู้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มีสิทธิครอบครองมาก่อน ป.ที่ดินใช้บังคับ จึงจะได้รับความคุ้มครองตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าผู้ซึ่งขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองมาก่อน ป.ที่ดินใช้บังคับจึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐ แม้โจทก์จะเข้ายึดถือเป็นเวลาเกิน 1 ปี และคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมาก็เป็นการยึดถือที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิครอบครองและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใดๆ ใช้ยันรัฐได้