พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยร่ำรวยผิดปกติของ ป.ป.ป. เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีสิทธิฟ้องร้องก่อนถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาว่า ทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการใช้สิทธิทางศาล การที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. วินิจฉัยว่าโจทก์ร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติย่อมมีผลเพียงว่าคณะกรรมการ ป.ป.ป. จะต้องแจ้งพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินแล้วเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งหรือดำเนินการให้มีการสั่งลงโทษโจทก์ ซึ่งจะมีการดำเนินการดังกล่าวหรือไม่อยู่ที่การพิจารณาของพนักงานอัยการหรือนายกรัฐมนตรีแล้วแต่กรณีอีกชั้นหนึ่ง จึงเป็นเรื่องเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งโจทก์คาดคะเนเอาเองยังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยร่ำรวยผิดปกติของ ป.ป.ป. เจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิฟ้องหากยังไม่มีผลกระทบทางกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติใดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาว่าทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการใช้สิทธิทางศาลขอให้ศาลวินิจฉัยได้ เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ป. ดำเนินการพิจารณาสอบสวนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีมติว่าร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจนผิดปกติ จึงไม่มีกรณีที่โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาล มติของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ดังกล่าวย่อมมีผลแต่เพียงว่าหากโจทก์ไม่สามารถชี้แจงได้ว่าทรัพย์สินได้มาโดยชอบ ต้องถือว่าโจทก์กระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518มาตรา 21 ทวิ และคณะกรรมการ ป.ป.ป. ต้องแจ้งพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 21 ตรี ขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีต่อไป การได้รับผลกระทบโดยตรงจากมติดังกล่าวจึงเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่โจทก์คาดคะเนเอง กรณียังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง