พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม - ป.พ.พ.มาตรา 1350
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เดิมที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงตามสำเนาโฉนดที่ดินเลขที่ 7836 และ 7838 เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยซึ่งจำเลยได้แบ่งแยกขายให้ผู้อื่นแล้วโอนต่อมาจนถึงโจทก์ จำเลยได้ตกลงกับผู้ซื้อให้มีถนนยาวตลอดแนวที่ดินของจำเลยกว้างประมาณ 3 เมตร เพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ปรากฏตามแผนที่ทางพิพาทเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ทางดังกล่าวเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.ขอให้บังคับจำเลยให้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดเลขที่1694 ทางด้านทิศใต้ซึ่งติดกับที่ดินของโจทก์มีความกว้าง 3 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินให้เป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7836 และ 7838 ดังนี้ เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ คำขอท้ายฟ้อง ภาพถ่ายโฉนดที่ดินเลขที่ 7836 และ7838 ของโจทก์เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 แผนที่ทางพิพาทเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และภาพถ่ายโฉนดที่ดินเลขที่ 1694 ของจำเลยเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว ปรากฏว่าเมื่อแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยแล้วมีจำนวนทั้งหมด 17 แปลง และที่ดินโฉนดเลขที่ 7836 และ 7838 ของโจทก์ 2 แปลง ถูกที่ดินแปลงอื่นที่แบ่งแยกดังกล่าวอีก 15 แปลง ล้อมอยู่ทุกด้าน คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างว่าที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกเป็นเหตุให้ที่ดิน 2 แปลง ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะแล้ว โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน 2 แปลงดังกล่าวย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปิดทางจำเป็นบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 1350 คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยกว้าง 3 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7836 และ 7838 ของโจทก์หรือไม่
ที่ดินของโจทก์เดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินของจำเลยต่อมาเมื่อจำเลยแบ่งแยกขาย ที่ดิน 2 แปลง ของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การที่จำเลยแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1694ออกเป็นที่ดินแปลงย่อยรวมทั้งที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินอันเป็นทางจำเป็นบนที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 บัญญัติให้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมาย โจทก์มีสิทธิแต่เพียงให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้เท่านั้น โดยจำเลยไม่จำต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก
ที่ดินของโจทก์เดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินของจำเลยต่อมาเมื่อจำเลยแบ่งแยกขาย ที่ดิน 2 แปลง ของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การที่จำเลยแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1694ออกเป็นที่ดินแปลงย่อยรวมทั้งที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินอันเป็นทางจำเป็นบนที่ดินโฉนดเลขที่ 1694 ของจำเลยซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 บัญญัติให้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมาย โจทก์มีสิทธิแต่เพียงให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้เท่านั้น โดยจำเลยไม่จำต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ที่บัญญัติว่า ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทนนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 17462 แบ่งแยกมาจากที่ดินของ บ. อีกทั้งที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ แม้โจทก์จะสามารถเข้าออกผ่านที่ดินของ ช.ก็ดี แต่การเข้าออกผ่านที่ดินของ ช.ยังจะต้องเข้าออกผ่านที่ดินของ บ.ส่วนที่เป็นถนนอีกทอดหนึ่ง การผ่านที่ดินของ ช.เป็นเรื่องของความยินยอม หาใช่สิทธิตามกฎหมายไม่กรณีต้องถือว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดช่องทางพิพาทเป็นทางเข้าออก
ถึงแม้จะต้องรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดช่องทางเข้าออกของโจทก์ออกแต่ก็เพื่อให้ที่ดินโจทก์เชื่อมต่อกับทางพิพาทซึ่งจำเลยเองก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะอยู่แล้ว น่าจะทำให้จำเลยเสียหายน้อยที่สุด ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ตามกฎหมาย และไม่ถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต
ถึงแม้จะต้องรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดช่องทางเข้าออกของโจทก์ออกแต่ก็เพื่อให้ที่ดินโจทก์เชื่อมต่อกับทางพิพาทซึ่งจำเลยเองก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะอยู่แล้ว น่าจะทำให้จำเลยเสียหายน้อยที่สุด ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ตามกฎหมาย และไม่ถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต