คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป.ม.แพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้โดยวาจาและการสะดุดหยุดอายุความตาม ป.ม.แพ่ง มาตรา 172
การรับสภาพหนี้นั้น ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 172 ตอนท้ายก็แสดงอยู่ชัดว่า ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบแคลงสงสัย ตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้น ก็ได้จึงหาจำเป็นต้องทำเป็นหนังสือเสมอไปไม่
บิดาทำสัญญาขายเรือนให้เขา ครั้นต่อมาบิดาตายตนเป็นผู้รับมรดก และยอมรับจะโอนเรือนให้เขาตามสัญญาซื้อขายโดยวาจา และยังได้ยินยอมให้เขาครอบครองเรือนนั้นตั้งแต่บิดาตายตลอดมา ดังนี้ เรียกได้ว่าบุตรยอมรับสภาพต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้ อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดจากการเป็นสามีภรรยาจากพฤติการณ์ทอดทิ้งก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง บรรพ 5
สามีภรรยากันได้ทอดทิ้งกันจนภรรยาไปได้สามีใหม่มีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมา ได้ทิ้งกับสามีคนนั้นไปได้สามีใหม่อีกคนหนึ่ง แล้วฝ่ายสามีจึงมีภรรยาใหม่บ้าง พฤติการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ เป็นเวลาก่อนใช้ ป.ม.แพ่ง ฯ บรรพ 5 ดังนี้ ย่อมถือได้ว่า สามีภรรยานั้นได้ขาดจากการเป็นสามีภรรยากันแล้ว
(อ้างฎีกาที่ 755/2474)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1382 และ พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน
พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2486 มาตรา 14 และกฎกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกตาม พ.ร.บ.นี้ข้อ 1 ว่าผู้ขอจดทะเบียนการได้มา ซึ่งกรรมสิทธิที่ดินที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิแล้วตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1382 ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินพร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลแสดงว่าตนมีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น ฉะนั้นการที่ผู้ครอบครองที่ดินจนได้กรรมสิทธิตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1382 แล้ว แม้ที่ดินนั้นจะมีชื่อผู้อื่นในโฉนด ผู้ครอบครองก็ย่อมจะยื่นคำร้องต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในที่ดินแปลงนั้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องผู้มีชื่อในโฉนดนั้นมาเป็นจำเลยอย่างคดีมีข้อพิพาท แต่ถ้าผู้มีชื่อในโฉนดร้องคัดค้านเข้ามาศาลก็ย่อมสั่งว่าคดีกลายเป็นมีข้อพิพาทให้เสียกค่าธรรมเนียมและดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.ม.วิ.แพ่ง ฯ มาตรา 188 ข้อ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ สิทธิครอบครองตาม ป.ม.แพ่ง และการพิสูจน์เจตนาเป็นเจ้าของ
โจทก์ฟ้องว่ามารดาจำเลยได้ทำสัญญาแบ่งขายที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ ๆ ครอบครองมากว่า 10 ปีแล้ว มารดาจำเลยตาย ขอแสดงกรรมสิทธิ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นสัญญาจะขายโจทก์ฟ้องขาดอายุความ และว่าโจทก์ครอบครองโดยอาศัยบิดามารดาจำเลยไม่ใช่ครอบครองปรปักษ์ ทั้งสองฝ่ายไม่สืบพะยาน ดังนีถือว่าจำเลยรับเพียงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองตามมาตรา 1369, 1370 เท่านั้นไม่ใช่ครอบครองปรปักษ์โจทก์จะต้องนำสืบว่าได้ครอบครองปรปักษ์ดังฟ้องตามมาตรา 1382 หากไม่สืบโจทก์ต้องแพ้คดี
(อ้างฎีกาที่ 521/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญจำนำ/ขายฝาก: แม้ใช้ ป.ม.แพ่งฯ ก็ยึดตามสภาพสัญญาเดิม อายุความไถ่ 10 ปี
ทำสัญญาจำนำที่ดินก่อน ป.ม.แพ่งฯ แล้วมอบที่ให้ผู้รับจำนำนั้น ถือว่าเป็นการขายฝาก
เมื่อรับว่าได้ทำสัญญาขายฝากแล้ว แม้จะบังคับตามกฎหมายเก่าหรือตาม ป.ม.แพ่งฯ ก็มีอายุความไถ่ไม่เกิน 10 ปี
ทำสัญญาขายฝากกันก่อน ป.ม.แพ่งฯ การประกาศใช้ ป.ม.แพ่งฯก็ไม่ทำให้นิติกรรมขายฝากนั้นกลายเป็นจำนำไปได้