คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป.วิ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 กรณีประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อนพิพาทในเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่ารถยนต์พิพาท โดยศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทอันเป็นวัตถุแห่งหนี้คืนแก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทตามคำพิพากษา เนื่องจากจำเลยโอนรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จึงขอให้บังคับจำเลยชดใช้ราคารถยนต์จำนวน 350,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้เงินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้แทนตัวทรัพย์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคารถยนต์พิพาทมาได้พร้อมกันในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อทั้งสองคดีคู่ความเป็นคนเดียวกัน ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่เช่นเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8464/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยฎีกาว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพียง 30,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท ที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ซึ่งคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องได้ 5,257.16 บาท แล้วทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยจึงต้องคำนวณหักจำนวนหนี้เงินกู้ซึ่งจำเลยไม่โต้แย้งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำนวน 35,257.16 บาท ออกจากจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8171/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งมรดก: สิทธิทายาทที่มิได้ร้องสอดคดี ไม่สามารถใช้ ม.287 ป.วิ.พ. ในชั้นบังคับคดีได้
การร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จะต้องเป็นกรณีที่มีการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่คดีเรื่องนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีมรดกและศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ต. แก่โจทก์ทั้งห้าตามส่วน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ทั้งห้าจึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันตามคำพิพากษา อันเป็นการดำเนินการเพื่อแบ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวมที่ได้รับมรดกร่วมกันเท่านั้น โจทก์ทั้งห้าและจำเลยหาใช่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันไม่ และมิใช่เป็นการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อบังคับเอาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแต่อย่างใด ดังนั้น หากผู้ร้องเป็นทายาทคนหนึ่งของ ต. จริง ก็ชอบที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อขอรับส่วนแบ่งทรัพย์มรดกเสียตั้งแต่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1749 กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอกันส่วนในชั้นบังคับคดีได้ ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์มรดกของ ต. ส่วนที่ตกได้แก่จำเลย ซึ่งผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องมีสิทธิได้รับ 1 ใน 9 ส่วน เนื่องจากจำเลยถึงแก่ความตายนั้น ก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องจัดทำบัญชีส่วนเฉลี่ยและจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งห้าและกองมรดกของจำเลยต่อไปตามนัยที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 319 ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอรับส่วนแบ่งเงินดังกล่าวในชั้นนี้โดยอาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 287 ไม่ได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077-8078/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการนำ ป.วิ.พ. มาอนุโลมใช้ในคดีแรงงาน และการรับฟังพยานนอกเหนือจากคำให้การเดิม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลแรงงานเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เอง และตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน (ฉบับที่ 3) ข้อ 6 ได้กำหนดวิธีการยื่นบัญชีระบุพยานของศาลแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้ในการดำเนินคดีแรงงาน ส่วนบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม ใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้างซึ่งเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง หากไม่ได้ระบุเหตุผลที่อ้างว่าลูกจ้างกระทำความผิดที่จะเป็นไปตามกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 119 (1) ถึง (6) ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างให้ลูกจ้างทราบแล้ว จะยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้เท่านั้น ไม่บังคับรวมถึงการนำพยานมาเบิกความในชั้นพิจารณาคดีที่จะเกินกว่าที่พยานนั้นเคยให้ถ้อยคำในชั้นสอบสวนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีร่วมกันของลูกหนี้หลายคน การคำนวณทุนทรัพย์ และข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
โจทก์ทั้งสิบสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่างวดและดอกแชร์ที่จำเลยได้เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้ว แต่ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,157.50 บาท แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะร่วมเล่นแชร์ในวงแชร์ที่มีจำเลยเป็นนายวง แต่โจทก์แต่ละคนก็ไม่มีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกัน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์จึงต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เมื่อโจทก์แต่ละคนไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ตนเรียกร้องก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเงินเท่าๆ กัน ซึ่งคือคนละ 20,179.75 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7550/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ อย่างเคร่งครัด
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ผู้อุทธรณ์จะต้องทำเป็นคำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่และให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด คดีนี้ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "เมื่อจำเลยทั้งสี่แก้อุทธรณ์หรือไม่แก้ภายในกำหนดแล้ว ให้ส่งศาลฎีกาโดยเร็ว" ซึ่งมีความหมายว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตคำร้องของโจทก์ไปทันทีโดยที่ยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่อาจมีผลทำให้อุทธรณ์ของโจทก์ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวโดยชอบได้ คดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ และการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7185/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ เพราะไม่ได้ยกเหตุผลเดิมในศาลชั้นต้น ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบกิจการค้าใช้ชื่อ "ร้านมะลิทองเภสัช" โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้จดทะเบียนพาณิชย์ระบุว่าเป็นผู้ประกอบกิจการพาณิชยกิจชนิดยาแผนปัจจุบัน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อซื้อสินค้าและชำระราคาให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ได้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หลายครั้งและโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสองครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ชำระราคาให้แก่โจทก์บางส่วน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าสินค้าที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าตามฟ้องจากโจทก์และไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้า พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ยกฟ้องจำเลยที่ 1 โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการดำเนินกิจการแทนตน โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตามข้ออ้างและคำขอบังคับในคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยว่าการรับฟังพยานหลักฐานนอกประเด็นเพื่อวินิจฉัยชำระหนี้ด้วยรถยนต์แทนเช็ค เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อปลายปี 2516 จำเลยสั่งจ่ายเช็คสองฉบับแต่มิได้ลงวันที่สั่งจ่ายแล้วนำเช็คดังกล่าวมาแลกเงินจากโจทก์ โดยตกลงชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เดือนละครั้ง จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เรื่อยมาจนถึงกลางปี 2535 จึงหยุดชำระดอกเบี้ย โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยขอผัดผ่อน โจทก์จึงลงวันที่ในเช็คพิพาทแล้วนำไปเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับพร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การรับว่า เมื่อปลายปี 2516 จำเลยนำเช็คพิพาทไปขอแลกเงินจากโจทก์จริง แต่หลังจากที่โจทก์รับเช็คพิพาททั้งสองฉบับจากจำเลยแล้ว โจทก์ปฏิเสธไม่ให้เงินแก่จำเลยและโจทก์มิได้คืนเช็คพิพาทให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์ลงวันที่ในเช็คพิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย เป็นการลงวันที่ในเช็คพิพาทหลังจากรับเช็คไว้ถึง 28 ปีเศษ จึงไม่ใช่เป็นการลงวันที่ในเช็คโดยสุจริตตามกฎหมาย โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์หรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า เมื่อปี 2525 ถึงปี 2529 จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยให้จำเลยนำรถยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 2 คัน มาโอนลอยไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกัน และจำเลยได้นำรถยนต์ทั้งสองคันมาตีใช้หนี้โจทก์จนครบถ้วนแล้ว โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีหนี้สินติดค้างกันอีก เป็นการนำสืบถึงการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยได้กู้ยืมจากโจทก์ระหว่างปี 2525 ถึงปี 2529 มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่นำไปแลกเงินกับโจทก์เมื่อปลายปี 2516 ตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การไว้ จึงนำข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้มารับฟังว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็น การที่ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ได้ยึดรถยนต์ทั้งสองคันของจำเลยแทนการชำระหนี้อันเป็นการคิดหักบัญชีชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเสร็จสิ้นแล้ว เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงไม่มีมูลหนี้กันอีก และพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม: สิทธิไล่เบี้ยจากผู้รับเช็ค (สลักหลัง) ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 57(3)
การที่จะเรียกบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเข้ามาในคดีนั้นจะต้องแสดงเหตุผลว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้เรียกบริษัท ผ. เข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยทั้งสองนั้นได้ความว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ลงลายมือชื่อจ่ายเช็คพิพาทให้แก่บริษัท ผ. ต่อมาบริษัท ผ. ได้สลักหลังโอนให้แก่โจทก์ ดังนั้น หากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองในฐานะผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากบริษัท ผ. ผู้สลักหลังได้ กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเรียกบริษัท ผ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5141/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจนด้านสภาพแห่งข้อหาและค่าเสียหาย ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยผิดสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์เพียงว่า การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยกว่า 500,000 บาท โดยมิได้บอกว่าเสียหายอย่างไรบ้าง จำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงเท่าใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
of 27