พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: การปรับเกินโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ และการยกเว้นการใช้มาตรา 31 ป.อ.
ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในหมวดเดียวกับมาตรา 27 ทวิ และมาตรา 37 ตรี ซึ่งเป็นหมวดต่อเนื่องกัน ได้บัญญัติเกี่ยวกับโทษว่า "สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ" ส่วนมาตรา 37 ตรี บัญญัติเกี่ยวกับโทษไว้ว่า "ถ้านายเรือหรือบุคคลใดฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับเป็นเงินสองเท่าของราคาของหรือปรับเป็นเงินห้าหมื่นบาท แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า หรือทั้งจำทั้งปรับ" และมาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ "ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ? หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามหรือข้อจำกัด มีความผิดต้องระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ" ตามบทบัญญัติดังกล่าวกฎหมายระบุเน้นชัดไว้แล้วว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วย และปรับสองเท่าของราคาของ ตามมาตรา 27 ทวิ และ 37 ตรีตามลำดับ หากศาลจะปรับจำเลยแต่ละคน คนละสี่เท่า และสองเท่า ตามกฎหมายดังกล่าวก็จะเป็นการปรับเกินกว่าโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับ จึงนำบทบัญญัติมาตรา 31 แห่ง ป.อ. ที่ให้ศาลปรับเรียงตามรายตัวบุคคลมาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกในคดีที่เกี่ยวพันหรือไม่เกี่ยวพันกัน และขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 91(2) ป.อ.
ป.อ. มาตรา 91(2) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีจำเลยกระทำความผิดหลายกรรม แต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียวหรือกรณีจำเลยถูกฟ้องหลายคดีแต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน และรวมถึงคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกัน แต่ปรากฏว่า ฐานความผิดตามที่ฟ้องในคดีที่สี่และพยานหลักฐานที่จะต้องนำสืบแตกต่างกับสามคดีแรก และความผิดตามที่ฟ้องในคดีที่หกนั้นเป็นความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัท ค. ซึ่งไม่ใช่บริษัทที่จำเลยได้กระทำความผิดในคดีอื่น ๆ คดีที่สี่และที่หกจึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้คดีจึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91(2).