พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องหลังมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว: ผลกระทบต่อฎีกาที่ยื่นไว้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นฎีกาอยู่ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ ต้องถือว่า คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จะต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ดังนั้น โจทก์ย่อมขอถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านแล้ว การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ไม่อาจที่จะนำฎีกาของจำเลยทั้งสองมาพิจารณาได้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตต่อเนื่องทางทะเล: การกระทำความผิดต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือผลกระทบเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การจะถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 5 ก็ต่อเมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดของความผิดได้กระทำในราชอาณาจักรหรือผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่าเหตุทุกข้อหาเกิดที่บริเวณตำบลใดไม่ปรากฏชัด อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร แต่ทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าเหตุเกิดในเขตต่อเนื่องของประเทศไทยไม่มีส่วนใดของความผิดได้กระทำในราชอาณาจักร และผลแห่งการกระทำก็ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรจึงถือว่าจำเลยกระทำความผิดในราชอาณาจักรไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจการพิจารณาคดีอาญา: ความผิดต้องกระทำในราชอาณาจักร หรือผลกระทบต้องเกิดในราชอาณาจักร จึงจะดำเนินคดีได้
การจะถือว่าความผิดใดได้กระทำในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 5 ต้องปรากฏว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักรหรือผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่าเหตุทุกข้อหาเกิดในราชอาณาจักรที่บริเวณ ตำบลใดไม่ปรากฏชัด อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร แต่ตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าเหตุเกิดในเขตต่อเนื่องของประเทศไทยไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของความผิดได้กระทำในราชอาณาจักรและผลแห่งการกระทำก็ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 5 แต่อย่างใด จะถือว่าจำเลยกระทำความผิดในราชอาณาจักรไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์ที่ไม่มีการอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ และมีผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม
โจทก์และจำเลยทั้งสิบสองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท 2 แปลง ได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยให้โจทก์ได้ที่ดินแปลงละ 1 ไร่ และระบุตำแหน่งที่ดินส่วนของโจทก์ไว้ด้วยอันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 (12) ในขณะที่จำเลยที่ 12 เป็นผู้เยาว์โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 เท่ากับว่ากรรมสิทธิ์รวมของจำเลยที่ 12 ยังคงครอบไปเหนือที่ดินพิพาททั้งหมดตามส่วนของตนจนกว่าจะมีการแบ่งแยก ซึ่งมีผลไม่เพียงแต่เฉพาะในเรื่องการกำหนดตำแหน่งของที่ดินเท่านั้น แต่ยังมีผลรวมตลอดไปถึงจำนวนเนื้อที่ดินด้วย เพราะหากแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แปลงละ 1 ไร่ ตามข้อตกลงแล้ว ที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือย่อมจะมีจำนวนลดน้อยลง และไม่อาจนำมาแบ่งให้แก่จำเลยทั้งสิบสองได้ในจำนวนเท่าๆ กัน โดยไม่กระทบถึงสิทธิในจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยที่ 12 จะพึงได้รับ เมื่อข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 และมีผลกระทบจึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยกเช่นนี้แล้วย่อมเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรม ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ร่วมกระทำ ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ด้วย โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสิบสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนตามข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับใบอนุญาตส่งออกข้าว: คุณสมบัติกรรมการบริษัท, ผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ, อำนาจปกครอง
กรรมการของโจทก์เคยเป็นกรรมการของบริษัท ร. ซึ่งได้กระทำการเป็นผลเสียหายแก่การค้าระหว่างประเทศ โจทก์จึงอยู่ในข่ายที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจออกใบอนุญาตส่งข้าวออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ ที่จำเลยที่ 1 ไม่ออกใบอนุญาตให้โจทก์ส่งข้าวออกไปนอกราชอาณาจักร จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ที่มีคำสั่งระงับการออกใบอนุญาตให้ส่งสินค้า (ข้าว) ออกไปนอกราชอาณาจักรแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์มีกรรมการของตนเป็นกรรมการของบริษัท ร. ซึ่งถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการใด ๆ ที่เป็นผลเสียหายแก่การค้าระหว่างประเทศ โจทก์จึงขาดคุณสมบัติเป็นผู้ส่งออกข้าวไปนอกราชอาณาจักร ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 37 วรรคสาม (2) แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ที่ว่าเหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก
คำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ที่มีคำสั่งระงับการออกใบอนุญาตให้ส่งสินค้า (ข้าว) ออกไปนอกราชอาณาจักรแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์มีกรรมการของตนเป็นกรรมการของบริษัท ร. ซึ่งถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการใด ๆ ที่เป็นผลเสียหายแก่การค้าระหว่างประเทศ โจทก์จึงขาดคุณสมบัติเป็นผู้ส่งออกข้าวไปนอกราชอาณาจักร ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 37 วรรคสาม (2) แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ที่ว่าเหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเมื่อจำเลยเสียชีวิตก่อนฟ้อง และผลกระทบต่อการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขอให้พิจารณาใหม่นั้น หากได้ความตามคำร้องซึ่งอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมไปก่อนถูกฟ้อง ก็มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัวและศาลชั้นต้นต้องเริ่มต้นดำเนินกระบวนพิจารณาขึ้นใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ก็เท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษา ศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ผู้ร้องจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้นำเงิน ค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงมิชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องมานั้นไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควร หยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 ถือไม่ได้ว่าฎีกาของผู้ร้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสภาพบุคคลที่อยู่ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดเกี่ยวกับจำเลยที่ 1นับแต่ศาลชั้นต้นรับฟ้อง
จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสภาพบุคคลที่อยู่ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดเกี่ยวกับจำเลยที่ 1นับแต่ศาลชั้นต้นรับฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7118/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของกฎหมายแก้ไขใหม่ต่อสิทธิฎีกา: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดหลังแก้ไขกฎหมาย
กฎหมายวิธีสบัญญัติส่วนที่มีการแก้ไข เมื่อมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้วผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความทันที ดังนั้น แม้ขณะที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด คดีของจำเลยจะไม่ต้องห้ามฎีกา แต่ขณะที่จำเลยยื่นฎีกาได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ จำเลยก็ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4508/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้อื่นและสภาพทางกายภาพของทาง
การที่โจทก์กับพวกมีสิทธิใช้ถนนพิพาทในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลยที่ 1 เป็นทางจำเป็นโดยผลของคำพิพากษาฎีกาย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 1349 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือโจทก์กับพวกสามารถใช้ถนนพิพาทโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือทำให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดได้ หากโจทก์กับพวกจะใช้รถยนต์บรรทุกหกล้อเพื่อให้เหมาะสมแก่ถนนพิพาทซึ่งรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่เกิน 10 ตันทั้งยังไม่เป็นการรบกวนการอยู่อาศัยโดยปกติสุขของประชาชนที่พักอาศัยในหมู่บ้านที่ถนนพิพาทผ่านย่อมเป็นการใช้ทางจำเป็นตามสมควรแก่กรณี แต่โจทก์กับพวกกลับจะใช้รถบรรทุกสิบล้อผ่านเข้าออกถนนพิพาทย่อมทำให้ถนนพิพาทและรั้วบ้านที่รถผ่านได้รับความเสียหายรวมทั้งประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจะถูกรบกวนการอยู่อาศัยโดยปกติสุข จึงยังไม่สมควรให้จำเลยที่ 1 เปิดคานเหล็กกั้นถนนพิพาทอันเป็นทางจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษา vs. การฟ้องล้มละลาย: ผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จะนำมาใช้กับกรณีที่เจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายแล้วขอรับชำระหนี้ไม่ได้ เพราะมิใช่เรื่องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาคดีแพ่งแต่เป็นเรื่องการนำเอาสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่มาใช้บังคับแก่ลูกหนี้ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้เป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่เกินกำหนดระยะเวลา 10 ปี ย่อมเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(2) ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในระหว่างเวลาที่อายุความสะดุดหยุดลง เจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งได้ ไม่ต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง พิจารณาผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตใน การดำเนินคดีของโจทก์แล้ว ศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายอีกด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว
หลังจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว โจทก์ได้นำคำฟ้องมายื่นใหม่โดยโจทก์ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง คำฟ้องเดิมหลายแห่งเพื่อให้ถูกต้องตามความเป็นจริง มิได้เปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดินอันเป็นสาระสำคัญของคำมั่นว่าจะ ขายที่ดินของจำเลยและตามคำฟ้องเดิมบรรยายว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 เวลา 8.30 นาฬิกา โจทก์พร้อมด้วย ว. ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามที่ได้นัดหมายไว้กับจำเลย แต่ในคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่ไม่ได้ระบุ ว. นั้น ชั้นพิจารณา ในคดีเดิมทั้งโจทก์และ ว. ไม่ได้เบิกความถึงว่า ว. ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันเวลาดังกล่าว จึงไม่ทำให้เห็นว่า พยาน โจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างหรือขัดแย้งกันในเรื่องนี้ นอกจากนั้นคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่มีข้อความเพิ่มเติมจาก คำฟ้องเดิมว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลย ก็เป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี
หลังจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว โจทก์ได้นำคำฟ้องมายื่นใหม่โดยโจทก์ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง คำฟ้องเดิมหลายแห่งเพื่อให้ถูกต้องตามความเป็นจริง มิได้เปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดินอันเป็นสาระสำคัญของคำมั่นว่าจะ ขายที่ดินของจำเลยและตามคำฟ้องเดิมบรรยายว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 เวลา 8.30 นาฬิกา โจทก์พร้อมด้วย ว. ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามที่ได้นัดหมายไว้กับจำเลย แต่ในคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่ไม่ได้ระบุ ว. นั้น ชั้นพิจารณา ในคดีเดิมทั้งโจทก์และ ว. ไม่ได้เบิกความถึงว่า ว. ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันเวลาดังกล่าว จึงไม่ทำให้เห็นว่า พยาน โจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างหรือขัดแย้งกันในเรื่องนี้ นอกจากนั้นคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่มีข้อความเพิ่มเติมจาก คำฟ้องเดิมว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลย ก็เป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี