พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเกษตรกรรมและการพิจารณาเพื่อผลกำไรตาม พ.ร.ก.
ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 แสดงโดยแจ้งชัดว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ใดหากไม่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (5) ว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรแล้ว จึงให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน (6) ต่อไปว่าการขายนั้นได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาหรือไม่ หากเป็นการขายภายในระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ถือว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไร เมื่อจำเลยรับว่าที่ดินแปลงที่โจทก์ขายเป็นที่ดินที่ใช้ในเกษตรกรรมต้องตามความใน (5) แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยการขายตามหลักเกณฑ์ใน (6) อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10659-10665/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องมีเหตุผลอันสมควร และรางวัลพิเศษขึ้นอยู่กับผลกำไรจากธุรกิจหลัก
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หมายความถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุ หรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้าง สาเหตุการเลิกจ้างอาจเกิดจากฝ่ายลูกจ้างฝ่ายเดียว เมื่อสาเหตุและความจำเป็นที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มาจากการประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและลดจำนวนพนักงานลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับคุ้มทุน มิฉะนั้นจะไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ให้สิทธิจำเลยในการที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ ทั้งเหตุที่ต้องยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงานและโอนงานไปรวมกับหน่วยงานอื่นก็เป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการและสัญญาผู้ประกอบการจำหน่ายที่จำเลยทำกับเจ้าหนี้ ดังนั้น การที่จำเลยใช้สิทธิตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเลิกจ้างโจทก์พร้อมกับพนักงานในหน่วยงานที่ถูกปรับยุบทั้งหมด เพราะมีสาเหตุมาจากการประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องมิได้เลือกปฏิบัติกลั่นแกล้งเฉพาะโจทก์เท่านั้น จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนกรณีที่จำเลยประกาศรับสมัครผู้จัดการในหน่วยงานอื่นของจำเลยซึ่งโจทก์ทั้งสองมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะสมัครเข้าไปทำงานได้นั้น จำเลยก็ได้ดำเนินการหลังจากเลิกจ้างโจทก์เป็นเวลานาน เนื่องจากความจำเป็นทางด้านการบริหารจัดการที่เพิ่งเกิดมีขึ้นใหม่ในภายหลังตามความประสงค์ของบริษัท ว. ซึ่งจำเลยมีความผูกพันตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายที่จะต้องปฏิบัติ เหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเช่นกัน
จำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์และอะไหล่และให้บริการเกี่ยวกับรถยนต์ รายได้ที่จะมีผลต่อกำไรหรือขาดทุนในการประกอบธุรกิจของจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ การที่จำเลยประกาศจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่พนักงาน จึงมุ่งหมายถึงผลประกอบการในการดำเนินธุรกิจรถยนต์โดยตรง ซึ่งได้แก่ การขายรถยนต์ใหม่ การขายรถยนต์เก่าการขายอะไหล่ การให้บริการซ่อมบำรุง และการให้เช่ารถยนต์ ส่วนการขายสินทรัพย์ หนี้สูญได้รับคืน รายได้อื่นๆ และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของจำเลย มิใช่การประกอบกิจการอันเป็นธุรกิจรถยนต์ของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจถือเป็นรายได้ที่จะนำมาคำนวณเป็นผลกำไรในส่วนธุรกิจรถยนต์ เมื่อการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ไม่มีผลกำไร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษจากจำเลย
จำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์และอะไหล่และให้บริการเกี่ยวกับรถยนต์ รายได้ที่จะมีผลต่อกำไรหรือขาดทุนในการประกอบธุรกิจของจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ การที่จำเลยประกาศจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่พนักงาน จึงมุ่งหมายถึงผลประกอบการในการดำเนินธุรกิจรถยนต์โดยตรง ซึ่งได้แก่ การขายรถยนต์ใหม่ การขายรถยนต์เก่าการขายอะไหล่ การให้บริการซ่อมบำรุง และการให้เช่ารถยนต์ ส่วนการขายสินทรัพย์ หนี้สูญได้รับคืน รายได้อื่นๆ และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของจำเลย มิใช่การประกอบกิจการอันเป็นธุรกิจรถยนต์ของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจถือเป็นรายได้ที่จะนำมาคำนวณเป็นผลกำไรในส่วนธุรกิจรถยนต์ เมื่อการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ไม่มีผลกำไร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8773/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินลงทุนและผลกำไรจากการขายที่ดิน: 10 ปีนับแต่วันอาจบังคับสิทธิ
โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินลงทุนและผลกำไรจากการขายที่ดินที่โจทก์ร่วมลงทุน ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คืออายุความ 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิ เรียกร้องได้ จำเลยขายที่ดินที่โจทก์ร่วมลงทุนเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2531 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาผลกำไรที่สูญเสียไป ไม่ใช่ราคาขายรวมต้นทุน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการทำซ้ำ โฆษณาและนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ และขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายทางการค้า จึงเท่ากับโจทก์อ้างว่า การกระทำของจำเลยซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นประกอบด้วยการทำซ้ำและการนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแต่เพียงในปัญหาว่าการกระทำซ้ำของจำเลยต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่ จึงยังไม่ถูกต้อง ต้องวินิจฉัยด้วยว่าการที่จำเลยนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งเทปเพลงของกลางทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายทางการค้าหรือไม่
ความเสียหายจากการขาดรายได้ที่โจทก์จะได้รับเมื่อจำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการนำเทปเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ออกจำหน่าย ย่อมเป็นความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลกำไรจากการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนออกจำหน่ายเท่านั้น หาใช่ความเสียหายที่คิดคำนวณจากราคาจำหน่ายเทปเพลงแต่ละม้วนซึ่งได้รวมต้นทุนการผลิตเอาไว้ด้วยแต่อย่างใดไม่
ความเสียหายจากการขาดรายได้ที่โจทก์จะได้รับเมื่อจำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการนำเทปเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ออกจำหน่าย ย่อมเป็นความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลกำไรจากการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนออกจำหน่ายเท่านั้น หาใช่ความเสียหายที่คิดคำนวณจากราคาจำหน่ายเทปเพลงแต่ละม้วนซึ่งได้รวมต้นทุนการผลิตเอาไว้ด้วยแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันกระทำละเมิดและขอบเขตความรับผิดของจำเลยร่วม การประเมินค่าเสียหายจากผลกำไรที่ไม่แน่นอน
จำเลยที่ 2 ได้ไปปรึกษาจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับเรื่องจะว่าจ้างทนายความในการดำเนินการขายที่ดิน จำเลยที่ 3ได้พาไปหา ส. ซึ่งเป็นญาติทำงานอยู่ที่สำนักงานทนายความแล้วจึงได้มีการจ้างทนายความที่สำนักงานทนายความนั้นให้เขียนสัญญาซื้อขายและจำเลยที่ 3 เป็นเพียงพยานในสัญญาซื้อขายเท่านั้นส่วนการดำเนินการขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2กับทนายความของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ เมื่อจำเลยที่ 3ไม่ได้เป็นผู้ออกอุบายและร่วมตกลงใจให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่เป็นการกระทำอันเกิดแต่เจตนาของจำเลยที่ 2 เองมาตั้งแต่แรก เพียงแต่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างใดจึงต้องให้ทนายความช่วยดำเนินการให้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3ไปรับเงินจากโจทก์ที่ 3 มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ไปรับเงินเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 เอง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลุงใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหลานช่วยไปรับเงินแทนเท่านั้นดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็จะฟังว่าจำเลยที่ 3มีส่วนร่วมในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ได้ ค่าเสียหายจากการขาดกำไรในการขายที่ดินพิพาทที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอน โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายโบนัสพิเศษไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19) หากไม่ได้กำหนดจ่ายจากผลกำไรสุทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถานพร้อมทั้งแนบบัญชีพยานมาท้ายคำร้องด้วยปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จะทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นที่ว่าค่าใช้จ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่ถูกประเมินเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ให้เป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าวคำสั่งที่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว เงินโบนัสพิเศษที่โจทก์จ่ายหาได้กำหนดขึ้นจากผลกำไรที่ได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่แต่เป็นการจ่ายโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานของบริษัทโดยส่วนรวมแล้วนำมาจัดสรรให้แก่พนักงานรายจ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์จึงมิใช่รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา65ตรี(19)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทห้างหุ้นส่วน: สิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คเกิดขึ้นเมื่อห้างหุ้นส่วนมีผลกำไรและเสร็จสิ้นการตามสัญญา
เช็คพิพาทจำเลยออกให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันโดยมุ่งหมายให้เป็นประกันในการคืนทุนเมื่อเสร็จการของห้างหุ้นส่วนและเมื่อมีผลกำไร แต่กลับปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนยังไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จการตามกำหนดและยังไม่มีผลกำไรเช่นนี้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็ค การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทหุ้นส่วน: สิทธิเรียกร้องเงินยังไม่เกิดเมื่อห้างหุ้นส่วนไม่เสร็จและไม่มีกำไร จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
เช็คพิพาทจำเลยออกให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันโดยมุ่งหมายให้เป็นประกันในการคืนทุนเมื่อเสร็จการของห้างหุ้นส่วนและเมื่อมีผลกำไร แต่กลับปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนยังไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จการตามกำหนดและยังไม่มีผลกำไร เช่นนี้โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็ค การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058-2076/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น – ไม่เป็นส่วนราชการ, ผลกำไรเป็นของโรงพิมพ์, คณะกรรมการดำเนินงานปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา7 การแบ่งส่วนราชการของกรมจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา.ไม่ปรากฏว่าได้เคยมีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมการปกครองโจทก์ให้โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการของกรมโจทก์มาก่อน. คงมีแต่คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนมอบอาคารโรงพิมพ์ เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์การพิมพ์ทั้งสิ้นแก่โจทก์. และสั่งให้จัดแบ่งส่วนราชการให้โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการสังกัดกรมโจทก์เท่านั้น. การดำเนินกิจการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น เงินที่ใช้ในการหมุนเวียนได้มาจากการกู้และการลงหุ้นของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาล โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นไม่เคยเสนอประมาณการรายรับและรายจ่ายต่อสำนักงบประมาณ. ทั้งไม่เคยมีการตั้งงบประมาณแผ่นดินไว้ดำเนินกิจการของโรงพิมพ์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502.โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นส่วนราชการของกรมโจทก์.ดังนั้นเงินรายได้และผลกำไรของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นย่อมมิใช่รายได้อันจะต้องนำส่งคลังเป็นรายได้ของแผ่นดินในนามของกรมโจทก์. ผลกำไรดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นกำไรสุทธิประจำแต่ละปีหรือกำไรที่สะสมไว้ล้วนเป็นผลอันได้มาจากการประกอบกิจการของโรงพิมพ์ซึ่งอาจเป็นเงินสดหรือทรัพย์สินอื่น.มิใช่ดอกผลธรรมดาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากแม่ทรัพย์เพราะเหตุที่ได้ใช้แม่ทรัพย์นั้น. ทั้งมิใช่ดอกผลนิตินัยเพราะหาใช่ทรัพย์ที่ได้เป็นครั้งคราวจากผู้อื่นเพื่อตอบแทนการที่ได้ใช้แม่ทรัพย์นั้นไม่. ผลกำไรดังกล่าวจึงมิใช่ดอกผลตกได้แก่กรมโจทก์ แต่ย่อมจะตกแก่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของกิจการนั้น. ในการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจการโรงพิมพ์ขึ้น 2 คณะ คือ. คณะกรรมการบริหารมีอำนาจควบคุมดูแลรับผิดชอบทั่วไปในกิจการของโรงพิมพ์. กำหนดนโยบายออกกฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งในการดำเนินงาน.กับคณะกรรมการดำเนินงาน มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย กฎข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งที่คณะกรรมการบริหารได้กำหนดและวางไว้. มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร และอธิบดีกรมโจทก์เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน. คณะกรรมการทั้งสองคณะส่วนใหญ่เป็นกรรมการที่แต่งตั้งตามตำแหน่งหน้าที่ราชการ. จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมโจทก์ โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน และช่วยปฏิบัติงานในโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น. โรงพิมพ์ดังกล่าวดำเนินการค้าหากำไรเงินรายได้และผลกำไรของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นที่ได้มาจากการดำเนินกิจการไม่เคยมีการนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน.คณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นได้มีมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นส่วนหนึ่งเป็นเงินรางวัลแก่ข้าราชการที่ช่วยปฏิบัติงาน. ซึ่งจำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินดังกล่าวไปตามระเบียบของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและการจ่ายเงินแก่จำเลยก็ได้จ่ายตามระเบียบที่วางไว้เช่นกัน.ดังนี้การที่คณะกรรมการดำเนินงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนมีอำนาจจัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นแทนเจ้าของกิจการซึ่งเป็นตัวการ. ได้ลงมติให้จัดสรรเงินผลกำไรสุทธิของโรงพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นการกระทำตามระเบียบที่กรมโจทก์ยินยอมให้ถือปฏิบัติ. ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนที่ได้รับมอบหมายโดยชอบ. การกระทำของคณะกรรมการดำเนินงานโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์. การที่จำเลยทั้งสิบเก้าสำนวนได้รับเงินไปจากโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนการปฏิบัติงานย่อมมิใช่รับไปโดยไม่มีสิทธิและไม่ชอบด้วยกฎหมาย. โจทก์จึงจะฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบหนี้จากการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและการแบ่งปันผลกำไรจากกิจการโรงสี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าหุ้นส่วนทำการค้าข้าวเปลือก ข้าวสารกับผู้ตายเพื่อแบ่งปันกำไรกัน ผู้ตายลงทุนด้วยโรงสี โจทก์ลงทุนด้วยเงินสด โดยโจทก์ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่ธนาคารแล้วขอกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้จำนวนหนึ่ง เมื่อโจทก์ได้รับสมุดเช็คจากธนาคารแล้ว โจทก์ลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คทั้งหมดมอบให้ผู้ตายไปกรอกจำนวนเงินและวันที่สั่งจ่ายเอง เพื่อใช้ซื้อข้าวเปลือกมาสี เมื่อขายข้าวที่สีได้แล้วผู้ตายนำเงินฝากเข้าบัญชีของโจทก์ ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตายก่อนที่จะแบ่งปันผลกำไรกัน โจทก์เป็นหนี้ธนาคารอยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและโจทก์ถูกธนาคารฟ้องให้ชำระหนี้ดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้ ขอให้บังคับจำเลยแบ่งปันผลกำไรและใช้ทุนเท่าจำนวนที่โจทก์ถูกธนาคารฟ้องเรียกคืนให้แก่โจทก์ ทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนทำการค้าข้าวเปลือกข้าวสารกับผู้ตายตามฟ้อง แต่ฟังได้ว่าผู้ตายได้ขอให้โจทก์ช่วยหาเงินมาให้ผู้ตายเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการโรงสีของผู้ตายด้วยการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ผู้ตายใช้เช็คของโจทก์เพื่อประโยชน์ในกิจการโรงสีของผู้ตาย ทำให้โจทก์เป็นหนี้ธนาคารตามจำนวนในฟ้อง ซึ่งเข้าใจได้โดยปริยายว่าผู้ตายต้องชำระหนี้นั้นแก่ธนาคารแทนโจทก์ มิฉะนั้นโจทก์ก็ต้องรับผิดชำระแก่ธนาคาร เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาเป็นข้อที่โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องแล้ว ทั้งได้มีคำขอให้จำเลยชำระเงินเท่าจำนวนที่โจทก์ถูกธนาคารฟ้องด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ได้