พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9307/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ การเลิกสัญญาโดยปริยาย การคิดค่าจ้างตามผลงาน และสิทธิในการรับค่าจ้าง
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยขุดร่องและทำคันดินรอบที่ดินของโจทก์ กำหนดค่าจ้างคิดเหมาจากจำนวนดินที่นำมาถมทำเป็นคันดินในราคาคิวละ 14 บาท ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 เมษายน 2540 จำเลยได้ถมดินให้โจทก์ 157,324 คิว เป็นเงิน 2,202,536 บาทโจทก์ได้จ่ายเงินให้จำเลยไปรวม 1,300,000 บาท หลังจากวันที่ 15 เมษายน 2540 โจทก์ยังยินยอมให้จำเลยเบิกเงินอีก 50,000 บาท ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2540 แสดงว่า โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาในสัญญาเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่จำเลยไปพบโจทก์เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2540 อ้างว่างานเรียบร้อยแล้วขอให้โจทก์ลงชื่อรับมอบงานแต่โจทก์โต้เถียงว่างานยังไม่เรียบร้อย ซึ่งหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญา โจทก์จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการภายในกำหนดโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาได้ แต่โจทก์มิได้บอกกล่าวเลิกสัญญา อย่างไรก็ตามการที่โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 บอกเลิกสัญญาและเรียกร้องเอาเงินค่าปรับจากจำเลย และไปว่าจ้างผู้อื่นให้มาไถและปรับแต่งที่ดินจนแล้วเสร็จเป็นเงิน 80,000 บาทจำเลยทราบเรื่องจึงไปแจ้งความไว้ถือว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยายแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม โจทก์จึงต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานของจำเลยให้จำเลยตามมาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าตามผลงานเป็นค่าจ้าง: ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
แม้ค่านายหน้าที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนจะมีจำนวนไม่แน่นอนและไม่เท่ากัน แต่จำเลยจ่ายค่านายหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน โดยคำนวณตามยอดขายสินค้าที่โจทก์ขายได้และยอดเงินที่จำเลยเก็บค่าสินค้าซึ่งโจทก์ขายได้จึงเป็นการจ่ายเป็นประจำทุกเดือน กรณีถือได้ว่าค่านายหน้าดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ จึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 จำเลยต้องนำค่านายหน้าดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่านายหน้าซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยเกินไปจากจำนวนเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ถูกต้องเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่านายหน้าซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยเกินไปจากจำนวนเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ถูกต้องเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7406/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: จ่ายตามผลงาน แม้ตกลงประนีประนอม
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความ ผลสำเร็จของงานย่อมอยู่ที่การว่าความจนคดีถึงที่สุด ส่วนการแพ้หรือชนะเป็นเพียงผลแห่งการงานในการชำระสินจ้างเท่านั้น เมื่อคดีที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความถึงที่สุด เพราะมีการตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและถอนฟ้องในคดีอาญา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่ผลแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไป
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไร และย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตาม ป.พ.พ.มาตรา 144 (เดิม)มาตรา 182 (ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไร และย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตาม ป.พ.พ.มาตรา 144 (เดิม)มาตรา 182 (ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7406/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: แม้ผลคดีไม่เป็นไปตามที่ตกลง ก็มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามผลงานที่กระทำไป
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความ ผลสำเร็จของงานย่อยอยู่ที่การว่าความจนคดีถึงที่สุด ส่วนการแพ้หรือชนะเป็นเพียงผลแห่งการงานในการชำระสินจ้างเท่านั้น เมื่อคดีที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความถึงที่สุด เพราะมีการตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและถอนฟ้องในคดีอาญา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่ผลแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไป
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไรและย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144(เดิม) มาตรา 182(ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไรและย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144(เดิม) มาตรา 182(ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7406/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: ผลสำเร็จของงานอยู่ที่การว่าความจนคดีถึงที่สุด แม้ผลคดีไม่เป็นไปตามที่ตกลง ก็มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามสมควร
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความ ผลสำเร็จของงานย่อยอยู่ที่การว่าความจนคดีถึงที่สุด ส่วนการแพ้หรือชนะเป็นเพียงผลแห่งการงานในการชำระสินจ้างเท่านั้น เมื่อคดีที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความถึงที่สุด เพราะมีการตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและถอนฟ้องในคดีอาญา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่ผลแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไป
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไรและย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144(เดิม) มาตรา 182(ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไรและย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144(เดิม) มาตรา 182(ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: ค่าตอบแทนการขายตามผลงานเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน ฟ้องเกิน 2 ปี คดีขาดอายุความ
โจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งพนักงานขายของจำเลยมีหน้าที่ขายสินค้านอกจากโจทก์จะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างประจำแล้วหากโจทก์ขายสินค้าได้เองโจทก์ยังมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการขายในอัตราร้อยละ1.5ของยอดขายด้วย ค่าตอบแทนการขายนี้โจทก์จะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนยอดขายที่โจทก์สามารถขายได้ค่าตอบแทนการขายจึงเป็นเงินส่วนหนึ่งที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนในการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้และมีกำหนดงวดเวลาจ่ายไว้แน่นอนเงินค่าตอบแทนการขายจึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งค่าตอบแทนการขายนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระภายใน2ปีนับแต่โจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายโบนัสพิจารณาจากผลงานย้อนหลัง การกระทำผิดหลังประเมินผลไม่เป็นเหตุให้ไม่จ่ายโบนัส
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสกำหนดให้การประเมินผลพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยคิดจากผลงานตั้งแต่วันที่1พฤศจิกายน2536ถึงวันที่30ตุลาคม2537ซึ่งระหว่างวันเวลาดังกล่าวไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือมีเหตุอื่นอันสมควรที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสจำเลยจะนำเอาเหตุที่โจทก์กระทำผิดโดยเล่นการพนันเมื่อวันที่17พฤศจิกายน2537ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากการคิดประเมินผลพนักงานดังกล่าวแล้วมาอ้างเป็นเหตุว่าโจทก์ไม่ควรมีสิทธิได้รับเงินโบนัสไม่ได้ ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องที่ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดต่อปีศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาและการจ่ายค่าตอบแทน เมื่อไม่มีข้อตกลงเรื่องจำนวนค่าตอบแทน ศาลมีอำนาจกำหนดตามผลงาน
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งให้โจทก์เป็นที่ปรึกษา ทำการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูล และเจรจากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเรื่องการประมูลก่อสร้างทางด่วนสายท่าเรือ-ดาวคะนอง เพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างทางด่วนดังกล่าวกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เช่นนั้น สัญญาดังกล่าวมิได้มีวัตถุประสงค์ให้โจทก์ใช้อิทธิพลวิ่งเต้นหรือเข้าแทรกแซงในกิจการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการแต่อย่างใด จึงไม่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผลใช้บังคับกันได้โดยสมบูรณ์ และเมื่อจำเลยที่ 3 ว่าจ้างโจทก์ทำการงานให้จำเลยที่ 3 แม้โจทก์กับจำเลยที่ 3 มิได้ตกลงกันในเรื่องสินจ้างหรือค่าตอบแทนที่โจทก์เรียกว่าบำเหน็จและค่าใช้จ่ายโดยแจ้งชัด ก็ถือได้ว่าได้มีสัญญาผูกพันจำเลยที่ 3 ที่จะต้องจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างให้โจทก์ทำนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 3 เป็นผลสำเร็จ ทำให้จำเลยที่ 3 กับกิจการร่วมค้าได้ทำสัญญาก่อสร้างงานตามโครง-การทางด่วนท่าเรือ-ดาวคะนอง ช่วงที่ 1 กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลย-ที่ 3 จึงต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่โจทก์ทำนั้น แต่เมื่อไม่มีข้อตกลงกันโดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 3 จะให้สินจ้างแก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใดก็จำเป็นที่จะต้องตีความสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย และศาลมีอำนาจกำหนดสินจ้างให้แก่โจทก์ได้ตามผลสำเร็จของงานโดยพิเคราะห์ความยากง่ายในการดำเนินการของการงานที่จำเลยที่ 3 จ้างให้โจทก์ทำประกอบด้วย และจำเลยที่ 3 ยังต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของสินจ้างที่จำเลยที่ 3 ต้องจ่ายให้โจทก์ในระหว่างเวลาผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างจากลักษณะการทำงานและการจ่ายค่าจ้างตามผลงาน เพื่อสิทธิในการรับค่าชดเชย
โจทก์เป็นช่างแต่งผมชาย ใช้สถานที่ของจำเลยเปิดบริการ ลูกค้าโดยจำเลยเป็นผู้จัดหาสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ และ ของใช้ต่าง ๆ ส่วนโจทก์มีกรรไกร ปัตตะเลี่ยน เครื่องมือใช้เช็ด หู รายได้จากการแต่งผมชายของโจทก์แบ่งกันคนละครึ่ง ระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยจำเลยจ่ายส่วนที่จะได้แก่โจทก์ ให้โจทก์ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน ได้มีการตกลง เรื่องระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า โจทก์ต้อง ตอกบัตรลงเวลาการทำงาน หากโจทก์ไม่มาทำงานหรือมาทำงานสาย ในวันใด โจทก์จะถูกหักค่าจ้าง โจทก์ได้รับบัตรประจำตัว พนักงานจากจำเลยเพื่อแสดงว่าเป็นพนักงานและจำเลยใช้ตรวจสอบ ในการอนุมัติให้เข้าออกบริเวณสถานที่ของจำเลย โจทก์ทำงาน สัปดาห์ละ 6 วัน เห็นได้ว่าโจทก์มีเวลาทำงานปกติของ วันทำงาน จำเลยมีอำนาจสั่งการและบังคับบัญชาให้โจทก์ ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดเวลา ทำงานและตรวจสอบเวลาทำงานของโจทก์ กับมีอำนาจหักรายได้ของโจทก์ในกรณีที่โจทก์ขาดงานหรือมาทำงานสาย และเงินรายได้ จากการแต่งผมที่จ่ายให้โจทก์ก็คำนวณได้ตามผลงานที่โจทก์ ทำได้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเช่นนี้ ถือได้ว่า โจทก์ทำงานให้แก่จำเลย เพื่อรับค่าจ้างโดยคำนวณค่าจ้าง ตามผลงานที่โจทก์ทำได้ โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การพิจารณาจากอำนาจควบคุมและค่าจ้างตามผลงาน
โจทก์มีเวลาทำงานปกติ จำเลยที่ 1 มีอำนาจสั่งการและบังคับบัญชาให้โจทก์ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดเวลาทำงานและตรวจสอบเวลาทำงานของโจทก์กับมีอำนาจหักรายได้ของโจทก์ในกรณีที่โจทก์ขาดงานหรือมาทำงานสายเงินรายได้จากการแต่งผมที่จ่ายให้โจทก์ก็คำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อรับค่าจ้างโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยทั้งสอง