พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: ผลหลังการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม และผลของการกระทำของผู้ปกครอง
เมื่อยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่เขาแล้วบิดามารดาโดยกำเนิดก็หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วและแม้ภายหลังผู้รับบุตรบุญธรรมจะวายชนม์ เด็กนั้นก็ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของผู้วายชนม์นั้นอยู่ ฉะนั้นบิดามารดาเดิมของเด็กนั้นหรือภริยาของผู้รับบุตรบุญธรรมย่อมไม่มีอำนาจปกครองเด็กนั้นตามกฎหมายจึงไม่มีอำนาจทำนิติกรรมแทนเด็กได้ ถ้าขืนทำไปนิติกรรมนั้นๆ ก็ไม่ผูกพันเด็กให้ต้องรับผิด
มารดาเดิมของเด็กซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมคนอื่นอยู่ได้ตั้งตัวเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็ก ฟ้องเรียกมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แล้วได้ประนีประนอมยอมความกันต่อศาลให้แบ่งทรัพย์กัน โดยวิธีขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันศาลก็พิพากษาให้เป็นไปตามยอม ต่อมาได้มีการขอตั้งผู้ปกครองเด็กนั้นซึ่งศาลได้ตั้งผู้อื่นเป็นผู้ปกครองเด็กผู้ปกครองจึงร้องขอต่อศาลในคดีเดิมให้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์มรดกเอาเงินมาแบ่งกันตามคำพิพากษาท้ายฟ้องดังนี้ การกระทำของผู้ปกครองดังกล่าวย่อมเป็นการรับรองกิจการที่มารดาเดิมของเด็กได้กระทำไปในเรื่องนั้น การกระทำของผู้ปกครองจึงย่อมผูกพันเด็กเหมือนเด็กได้ทำด้วยตนเอง ฉะนั้นเด็กจึงไม่มีสิทธิจะขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาท้ายยอมดังกล่าวแล้วได้
มารดาเดิมของเด็กซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมคนอื่นอยู่ได้ตั้งตัวเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็ก ฟ้องเรียกมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แล้วได้ประนีประนอมยอมความกันต่อศาลให้แบ่งทรัพย์กัน โดยวิธีขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันศาลก็พิพากษาให้เป็นไปตามยอม ต่อมาได้มีการขอตั้งผู้ปกครองเด็กนั้นซึ่งศาลได้ตั้งผู้อื่นเป็นผู้ปกครองเด็กผู้ปกครองจึงร้องขอต่อศาลในคดีเดิมให้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์มรดกเอาเงินมาแบ่งกันตามคำพิพากษาท้ายฟ้องดังนี้ การกระทำของผู้ปกครองดังกล่าวย่อมเป็นการรับรองกิจการที่มารดาเดิมของเด็กได้กระทำไปในเรื่องนั้น การกระทำของผู้ปกครองจึงย่อมผูกพันเด็กเหมือนเด็กได้ทำด้วยตนเอง ฉะนั้นเด็กจึงไม่มีสิทธิจะขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาท้ายยอมดังกล่าวแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5901/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่า: การส่งหนังสือบอกเลิกถึงภูมิลำเนา ถือว่ามีผลตามกฎหมาย แม้ผู้รับไม่รับ
การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้านั้น ป.พ.พ. มาตรา 169 บัญญัติว่า "การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา..." ถ้อยคำที่ว่าไปถึงผู้รับการแสดงเจตนานั้นมิได้หมายความว่า ผู้นำจดหมายไปส่งจะต้องได้พบผู้รับการแสดงเจตนาโดยตรง แต่หมายความว่า ผู้นำจดหมายไปส่งต้องไปส่ง ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับการแสดงเจตนา แม้ขณะไปถึงภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับการแสดงเจตนา จะไม่พบผู้รับการแสดงเจตนาโดยตรง ก็ถือว่าเป็นการส่งยังสถานที่ที่ถูกต้องแล้ว ดังนี้ การที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไปส่งให้จำเลยที่ 2 ที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 อันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการ แม้จะไม่พบจำเลยที่ 2 และไม่มีผู้ใดรับไว้ แต่ก็ถือได้ว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์ได้ไปถึงจำเลยที่ 2 และมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว การบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์ไปยังจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมาย