พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดแม้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อออกจากการเป็นผู้จัดการแล้ว จนกว่าการจดทะเบียนจะมีผล
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนให้จำเลยในคดีดังกล่าวดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อจำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต่อนายทะเบียนกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หากจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ดังนั้น จำเลยที่ 3 จะพ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อจำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้วเพราะการเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1021 และ 1022 หาใช่จำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่ ดังนั้น เมื่อในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้จำเลยที่ 3 ยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อยู่ จำเลยที่ 3 จึงหาหลุดพ้นจากความผิดรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ แต่ต้องร่วมรับผิดบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 และ 1077 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาด และโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสามเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้มีคำขอให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 89 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจะได้มีการแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้วหรือไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาด และโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสามเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้มีคำขอให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 89 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจะได้มีการแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6980/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและการเริ่มต้นสิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 (3) บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด สิทธิหน้าที่บิดากับบุตรพึงมีต่อกันตามกฎหมายจึงเริ่มในวันดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด มิใช่นับแต่วันฟ้องของโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดไต่สวนและผลของการไม่มาศาล: ศาลย่อมถือว่าจำเลยทราบคำสั่งเมื่อทนายรับรอง และการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมมีผลทางกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์พร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ในวันที่ 7 ตุลาคม 2541 และทนายจำเลยได้ลงชื่อรับรองข้อความที่ว่าให้มาทราบคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในวันที่ 14 ตุลาคม 2541 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้เกษียณคำสั่งไว้ที่คำร้องว่า ให้รับคำร้อง และนัดไต่สวนวันที่ 14 ธันวาคม 2541 เวลา 8.30 นาฬิกา โดยบันทึกวันที่เกษียณคำสั่งในวันที่ 12 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นการมีคำสั่งไว้ก่อนวันที่กำหนดให้จำเลยมาทราบคำสั่งศาล ย่อมมีผลว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลที่นัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในวันที่ 14 ธันวาคม 2541 ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2541 แล้ว แม้ในวันที่14 ตุลาคม 2541 จำเลยยังมิได้สาบานตัว ศาลก็กำหนดนัดวันไต่สวนคำร้องได้
จำเลยทราบกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์แล้วไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันนัดไต่สวนคำร้องว่า ให้งดการไต่สวน แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นให้งดการไต่สวน ก็ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา จึงมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าหากจำเลยประสงค์ที่จะอุทธรณ์ ให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ซึ่งถือว่าจำเลยได้ทราบแล้วในวันดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบอีก การที่จำเลยมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไปวางศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาล ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์
จำเลยทราบกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์แล้วไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันนัดไต่สวนคำร้องว่า ให้งดการไต่สวน แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นให้งดการไต่สวน ก็ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา จึงมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าหากจำเลยประสงค์ที่จะอุทธรณ์ ให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ซึ่งถือว่าจำเลยได้ทราบแล้วในวันดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบอีก การที่จำเลยมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไปวางศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาล ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องเรื่องประเภทสินค้าผิดพลาด: อนุญาตได้หากไม่กระทบสาระสำคัญและผลทางกฎหมาย
ชื่อประเภทของสินค้าที่แปลไม่ถูกต้องที่โจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องและระบุไว้ในคำแปลท้ายฟ้อง ไม่ใช่สาระสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ในส่วนดังกล่าวไม่เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือเพิ่มหรือลดข้อหาในคำฟ้องเพียงแต่เป็นการแก้ไขคำฟ้องเดิมที่ผิดพลาดเพราะการแปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพื่อให้ข้อความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงตามข้อความในต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ทั้งไม่ทำให้ผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป จึงถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์อาจขอแก้ไขในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินทุ่งฟ้าผ่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและที่ราชพัสดุ คำสั่งสมุหเทศาภิบาลไม่สร้างผลทางกฎหมาย
แม้หม่อมเจ้าธำรงศิริสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลจันทบุรีทรงมีลายพระหัตถ์ในเอกสารฉบับลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2458 และเอกสารฉบับลงวันที่ 21 กันยายน 2458 ถึงผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรีในขณะนั้น ให้ขยายแนวเขตสนามยิงปืนทุ่งฟ้าผ่าออกไป เพื่อป้องกันมิให้กระสุนปืนทำอันตรายแก่ราษฎรผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นก็ตาม แต่เอกสารทั้งสองฉบับนั้นเป็นเพียงคำสั่งของสมุหเทศาภิบาลที่สั่งการให้ผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรีผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น มิได้มีผลเป็นกฎหมายดังเช่นพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ที่ดินในเขตทุ่งฟ้าผ่าเป็นที่ดินที่ทางราชการทหารใช้เป็นสนามยิงปืน ย่อมเป็นทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) และเป็นที่ราชพัสดุตาม พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 การที่ทางราชการทหารส่งหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงคืนให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินและโลหกิจจังหวัด ไม่ทำให้สภาพของที่ดินดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
ที่ดินในเขตทุ่งฟ้าผ่าเป็นที่ดินที่ทางราชการทหารใช้เป็นสนามยิงปืน ย่อมเป็นทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) และเป็นที่ราชพัสดุตาม พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 การที่ทางราชการทหารส่งหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงคืนให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินและโลหกิจจังหวัด ไม่ทำให้สภาพของที่ดินดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะมีผลทันทีตามกฎหมาย แม้ต่อมามีการซื้อขายหรือจำนอง
ช. อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรของตนและประชาชนทั่วไปใช้เป็นทางสัญจร ย่อมมีผลตามกฎหมายทันทีนับตั้งแต่วันที่ช. อุทิศให้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนให้ปรากฏเป็นทางสาธารณะอีก เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะแล้ว แม้ต่อมาช. จะนำที่ดินดังกล่าวไปขายให้แก่จำเลยหรือจำเลยนำไป จดทะเบียนจำนองต่อ ก็หาทำให้ที่ดินพิพาทสิ้นสภาพ เป็นทางสาธารณะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นแบบโอนลอย: เจตนาคู่กรณีและผลทางกฎหมาย
หุ้นพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นทั้งหมดที่จำเลยได้ลงชื่อในแบบโอนลอยให้แก่ ธ.ไป หาก ธ.ประสงค์ต้องการมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้น ก็จะต้องลงลายมือชื่อเป็นผู้รับโอนแล้วไปแก้ทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นตามระเบียบได้ และถ้า ธ.ไม่ต้องการมีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้น ธ.สามารถโอนหุ้นดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นต่อไปได้ เมื่อปรากฏต่อมาอีกว่า ธ.ได้แบ่งโอนหุ้นบางส่วนให้แก่บุตรสาวคนหนึ่งซึ่งได้ดำเนินการเปลี่ยนและโอนใบหุ้นเป็นชื่อของตนแล้ว จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นชัดว่า การโอนหุ้นระหว่างจำเลยและ ธ.แบบโอนลอยนั้น คู่กรณีมีเจตนามุ่งให้ความสะดวกเป็นประโยชน์แก่ผู้รับโอนที่จะเลือกปฏิบัติได้ว่า หากประสงค์จะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นเป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดก็จะต้องปฏิบัติตามแบบแห่งกฎหมายให้ถูกต้องต่อไป แต่หากยังไม่ประสงค์จะให้มีผลเสร็จเด็ดขาด ก็อาจโอนลอยต่อให้บุคคลอื่นไปปฏิบัติต่อไปได้ กล่าวโดยชัดแจ้งคือ เป็นการแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติตามแบบแห่งนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดโดยฝ่ายจำเลยผู้โอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนฝ่ายตนแล้วมอบให้ฝ่ายผู้รับโอนไปเลือกปฏิบัติภายหลังให้เสร็จสมบูรณ์ต่อไปโดยลำพังได้ การโอนลอยหุ้นให้แก่ ธ.จึงเป็นเพียงขั้นตอนที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายของตนแล้วเป็นขั้นตอนแรกเท่านั้น ยังมิได้เป็นขั้นตอนการโอนที่เสร็จเด็ดขาด และความมุ่งหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1129วรรคสอง ที่บัญญัติว่า การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อเป็นโมฆะนั้นเป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น หาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว ยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ยังไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ ป.พ.พ.บัญญัติไว้เท่านั้น จึงมิอาจถือเป็นการขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนต่อในช่วงสุดท้ายยังอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิในหุ้นพิพาทที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นแบบโอนลอย: เจตนาคู่กรณีและผลทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การโอนหุ้นระหว่างจำเลยและธ. แบบโอนลอยนั้นคู่กรณีมีเจตนามุ่งให้ความสะดวกเป็นประโยชน์แก่ผู้รับโอนที่จะเลือกปฏิบัติได้ว่าหากประสงค์จะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นเป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดก็ต้องปฏิบัติตามแบบแห่งกฎหมายให้ถูกต้องแต่หากยังไม่ประสงค์จะให้มีผลเสร็จเด็ดขาดก็อาจโอนลอยต่อให้บุคคลอื่นไปปฏิบัติได้ซึ่งเป็นการแบ่งขั้นตอนปฏิบัติตามแบบแห่งนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดการโอนลอยหุ้นให้แก่ธ. จึงเป็นเพียงขั้นตอนที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายของตนเป็นขั้นตอนแรกแล้วเท่านั้นยังมิได้เป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดซึ่งความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสองเป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะมีหลักฐานการโอนที่แน่นอนหาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ดังนั้นผู้ถือหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทและไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้นหาอาจถือเป็นการขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะไม่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนต่อในช่วงสุดท้ายยังคงอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิในหุ้นพิพาทที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9513/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลไม่กระทบอำนาจฟ้องคดี และการมอบอำนาจยังคงมีผลแม้เปลี่ยนชื่อแล้ว
แม้ขณะฟ้องโจทก์ได้เปลี่ยนชื่อจากบริษัทอ. เป็นบริษัทท. แล้วก็ตามแต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนชื่อใหม่เช่นนั้นก็ไม่ทำให้ความเป็นนิติบุคคลของโจทก์สิ้นสุดลงโจทก์ยังคงเป็นนิติบุคคลมีตัวตนอยู่เช่นเดิมต่อไปและไม่ว่าโจทก์จะทำนิติกรรมในชื่อเดิมหรือชื่อที่เปลี่ยนใหม่แล้วก็ตามก็เป็นการทำนิติกรรมโดยนิติบุคคลคนเดียวกันนั้นเองการทำนิติกรรมในชื่อเดิมของโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่แล้วนั้นไม่มีผลให้เป็นการทำนิติกรรมโดยสิ่งที่ไม่มีตัวตนเป็นนิติบุคคลดังนั้นแม้การมอบอำนาจให้ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์เป็นการมอบอำนาจภายหลังจากที่โจทก์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัทท. แล้วโจทก์ก็ยังมอบอำนาจในชื่อเดิมของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5665/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้คำพิพากษา แม้ส่งหมายนัดผิดพลาด การลงลายมือชื่อรับรู้มีผลเท่ากับการฟังคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 4 โดยมิชอบ แต่เมื่อทนายจำเลยที่ 2และที่ 4 มาศาลและลงลายมือชื่อรับรู้การอ่านคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็มีผลเช่นเดียวกับการอ่านให้ตัวความฟังทุกประการ