พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากเงินสงเคราะห์สมาชิก ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ นั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สมาชิกให้ช่วยเหลือสงเคราะห์ซึ่งกันและกันเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย หาได้เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางการค้าหรือแสวงหากำไรแต่อย่างใดไม่ ทั้งพระราชบัญญัตินี้ยังมีลักษณะในการควบคุมการดำเนินกิจการของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว และมีบทกำหนดโทษแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนเพื่อป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วย การที่จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 และจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นกรรมการของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯร่วมกันหักเงินร้อยละ 4 จากเงินสงเคราะห์ที่สมาคมเรียกเก็บจากสมาชิกเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งตาย ในแต่ละครั้งแล้วนำมาจัดสรรแบ่งกันเป็นประโยชน์ส่วนตัว ทั้ง ๆ ที่เงินส่วนนั้นควรเป็นประโยชน์แก่ญาติของสมาชิกที่ถึงแก่ความตาย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และจำเลยที่ 7 หาได้รู้สำนึกถึงความผิดของตนไม่โดยให้ถ้อยคำแก่พนักงานคุมประพฤติว่าไม่ประสงค์จะชดใช้เงินคืนแก่สมาคม พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจากการใช้อำนาจหน้าที่ผิดหน้าที่และแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งในการหารายได้ให้แก่จำเลย การที่โจทก์มีคำสั่งโดยพลการเพื่อประโยชน์ของโจทก์เอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยแล้วยังเห็นได้อย่างชัดแจ้งอีกว่าจำเลยจะต้องได้รับความเสียหาย เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยโจทก์มีคำสั่งให้พนักงานขับรถซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของโจทก์ขับรถนำพนักงานขายของจำเลยไปชมการสาธิตเครื่องดูดฝุ่นของบริษัท ฮ. อันเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าที่จำเลยจำหน่าย โดยฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่มีคำสั่งให้พนักงานขับรถดังกล่าวขับรถนำพนักงานขายสินค้าของจำเลยไปขายที่อื่น โดยโจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วหรือเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้แก่จำเลยและหลังจากที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ก็ได้ไปทำงานที่บริษัท ฮ. โดยมีพนักงานขายของจำเลยที่เคยอยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ลาออกจากจำเลยไปทำงานกับโจทก์อีกด้วยการกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ประกอบธุรกิจแข่งขันกับนายจ้าง ถือเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและการลงโทษทางวินัยระบุไว้ว่า "แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานหรือเวลาปฏิบัติงานของบริษัท" ถือว่าเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ดังนี้ การที่โจทก์เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์ ส.โดยได้รับผลตอบแทนอันเป็นธุรกิจหนังสือพิมพ์เช่นเดียวกับที่จำเลยประกอบอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ ซึ่งตามหนังสือสัญญาจ้างที่หนังสือพิมพ์ส.ทำไว้กับโจทก์นั้น โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากการที่โจทก์ให้คำปรึกษากับหนังสือพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นคู่แข่งกับหนังสือพิมพ์ของจำเลย กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานที่โจทก์ทำกับจำเลย โดยทำงานให้แก่ธุรกิจที่แข่งขันกับนายจ้างทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่งานและทำงานให้คู่แข่ง
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและการลงโทษทางวินัยระบุไว้ว่า "แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานหรือเวลาปฏิบัติงานของบริษัท" ถือว่าเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ดังนี้ การที่โจทก์เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์ส. โดยได้รับผลตอบแทนอันเป็นธุรกิจหนังสือพิมพ์เช่นเดียวกับที่จำเลยประกอบอยู่และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ซึ่งตามหนังสือสัญญาจ้างที่หนังสือพิมพ์ ส. ทำไว้กับโจทก์นั้น โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากการที่โจทก์ให้คำปรึกษากับหนังสือพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นคู่แข่งกับหนังสือพิมพ์ของจำเลย กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยทำงานให้แก่ธุรกิจที่แข่งขันกับนายจ้างทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้วจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทจากการประกาศข้อเท็จจริงพฤติการณ์ของผู้เช่าที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาและการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
เดิมโจทก์เป็นผู้เช่าอาคารและบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีต่อมาสัญญาเช่าหมดอายุ ทางราชการได้อนุมัติให้ธ เป็นผู้เช่าในนามของคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมือง โจทก์ก็ยังคงอยู่ในที่เช่าและคงขายธูป เทียน และทองอีกต่อไปจำเลยได้ออกประกาศมีข้อความว่า 'โปรดทราบ ดอกไม้ ธูป เทียนทอง น้ำมัน เจ้าพ่อมีจำหน่ายที่ศาลาเพียงแห่งเดียว รายได้ทั้งนำมาบำรุงเจ้าพ่อ ร้านที่ขายอยู่เก่าหมดสัญญาแล้วแต่ยังดื้อขายอยู่เพื่อเอารายได้เป็นของตัวเอง คณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี' เมื่อโจทก์ยอมรับว่าตั้งแต่ครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ไม่เคยนำเงินรายได้และค่าเช่าไปมอบให้ทางราชการเลย แสดงว่าโจทก์จำหน่ายสิ่งของดังกล่าวแล้วเอารายได้เป็นของตนเอง พฤติการณ์ของโจทก์จึงเป็นความจริงตามประกาศของจำเลย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นกรรมการในคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีมีหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินกิจการศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นลูกจ้างคนงานของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จำเลยทั้งหกจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินกิจการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองซึ่งเป็นการกุศลสาธารณประโยชน์และประชาชนทั่วไปมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งหกประกาศข้อความดังกล่าวโดยสุจริตเพื่อชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426-1427/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กำลังเกินเหตุของเจ้าพนักงานตำรวจในการวิวาทเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ร่วมไปจับปลากับผู้ตายและพวกเพื่อขอปลาเป็นส่วนแบ่ง ผู้ตายแบ่งให้น้อย จำเลยกลับอ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานจะทำการจับกุม ได้เกิดต่อสู้ทำร้ายกันขึ้น จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย และทำร้ายผู้อื่นถึงบาดเจ็บ ดังนี้การกระทำของจำเลยไม่นับว่าเป็นการกระทำตามหน้าที่อันชอบ และจำเลยจะอ้างว่าได้กระทำโดยป้องกันตัวก็ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้แรงงานของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว และการเบิกจ่ายเงินที่ไม่ถูกต้อง
นายตรวจทางรถไฟเอาคนงานที่ทำงานรัฐบาลไปทำงานส่วนตัวแล้วจดเบิกเงินรัฐบาลไม่มีผิดตามมาตราข้างบน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7749/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากการจัดซื้อ จัดจ้าง โดยเรียกรับเงินจากผู้ขาย เป็นการทุจริตต่อหน้าที่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 บัญญัติให้ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ซึ่งหมายความว่า ลูกจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรมอันดี เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายสินค้าและจัดส่ง และได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้จัดซื้อรถยกและชั้นวางสินค้าไว้ใช้ในคลังสินค้าของบริษัทนายจ้าง แต่ในการเจรจาซื้อสินค้าดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โจทก์เรียกค่าตอบแทนในการจัดซื้อสินค้าไว้เป็นการส่วนตัว และจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการประพฤติทุจริตเบียดบังสิทธิและผลประโยชน์อันมิควรได้ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่การงานและความไว้วางใจของนายจ้างที่ให้อำนาจในการจัดซื้อจัดจ้าง ข้อตกลงเรียกเงินค่าตอบแทนในการเจรจาซื้อขายสินค้าดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่โจทก์จึงไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง