คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลผูกพันคำพิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมต่อคดีใหม่: สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและเบิกความต่อศาลเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะรับมรดกตามที่จะได้รับตามบันทึกข้อตกลงทั้งสิ้นนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้เช่นนั้นจึงไม่มีประเด็นดังกล่าวในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 218/2534 ว่าบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.2 มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์กับจำเลย จำเลยไม่ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวไม่ได้อุทธรณ์ คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ บันทึกข้อตกลงนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7973/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาในคดีที่คู่ความเป็นจำเลยร่วมกัน
คดีที่ธนาคารฟ้องโจทก์กับจำเลยคดีนี้ แม้โจทก์กับจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันในคดีดังกล่าวก็ตาม ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อนด้วย คำพิพากษาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2057/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม, สัญญาจะซื้อขาย, การปฏิบัติการชำระหนี้, ค่าเสียหาย, การบังคับสัญญา
โจทก์ทั้งสองเคยฟ้องจำเลยขอให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายมาก่อนจำเลยให้การต่อสู้ทำนองเดียวกับในคดีนี้ว่าสัญยาจะซื้อขายเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรมอำพรางศาลในคดีก่อนพิพากษาถึงที่สุดว่าสัญญาจะซื้อขายเป็นสัญญาที่แท้จริงมิใช่นิติกรรมอำพรางใช้บังคับได้ตามกฎหมายแต่เนื่องจากโจทก์ยังมิได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้จึงบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทไม่ได้พิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิฟ้องใหม่ภายในอายุความเช่นนี้คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145จำเลยจะมาโต้เถียงในคดีนี้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะสัญญาดังกล่าวใช้บังคับไม่ได้และจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาอีกหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอื่น และการพิจารณาประเด็นนอกฟ้องในคดีแพ่งเกี่ยวกับพินัยกรรม
โจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมของ อ. ซึ่งยกทรัพย์มรดกให้จำเลยเป็นพินัยกรรมปลอมให้จำเลยแบ่งมรดกของ อ. ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ปรากฏว่าอีกคดีหนึ่งซึ่งจำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ตามพินัยกรรม และโจทก์คัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมนั้น คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างว่า มิใช่พินัยกรรมปลอม คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความในคดีนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ดังนั้น ในคดีนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมหาได้ไม่
แม้พินัยกรรมจะมิได้ลงชื่อผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตรา 1671 ก็ตาม หาก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้จัดพิมพ์พินัยกรรมเองก็ไม่จำต้องลงชื่อระบุว่า เป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตรา ดังกล่าว ทั้งพินัยกรรมที่มิได้ลงชื่อผู้พิมพ์ก็หาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะมาตรา 1705 หาได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามมาตรา 1671 เป็นโมฆะด้วยไม่
แม้พินัยกรรมจะมิได้ลงชื่อผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตรา 1671 ก็ตาม หาก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้จัดพิมพ์พินัยกรรมเองก็ไม่จำต้องลงชื่อระบุว่าเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตราดังกล่าว ทั้งพินัยกรรมที่มิได้ลงชื่อผู้พิมพ์ก็หาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะมาตรา 1705 หาได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามมาตรา 1671 เป็นโมฆะด้วยไม่
คดีมีประเด็นว่า พินัยกรรมตามที่จำเลยอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ไม่มีข้อเท็จจริงโต้เถียงกันว่า จำเลยเป็นผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรมหรือไม่แต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความมิได้นำสืบ และมิใช่ประเด็นแห่งคดี โดยฟังว่าจำเลยเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรม แล้วนำมาวินิจฉัยปรับเป็นข้อกฎหมายว่าจำเลยต้องห้ามมิให้รับทรัพย์ตามพินัยกรรม พินัยกรรมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1653, 1705 ย่อมเป็นการชี้ขาดตัดสินคดีนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินการกระบวนพิจารณาโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอื่น และการวินิจฉัยนอกประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบพินัยกรรม
โจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมของ อ. ซึ่งยกทรัพย์มรดกให้จำเลยเป็นพินัยกรรมปลอม ให้จำเลยแบ่งมรดกของ อ.ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ปรากฏว่าอีกคดีหนึ่งซึ่งจำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ตามพินัยกรรม และโจทก์คัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมนั้น คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างว่า มิใช่พินัยกรรมปลอมคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความในคดีนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ดังนั้น ในคดีนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมหาได้ไม่
แม้พินัยกรรมจะมิได้ลงชื่อผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตรา 1671ก็ตาม หาก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้จัดพิมพ์พินัยกรรมเองก็ไม่จำต้องลงชื่อระบุว่าเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมตามมาตราดังกล่าว ทั้งพินัยกรรมที่มิได้ลงชื่อผู้พิมพ์ก็หาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะมาตรา 1705หาได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามมาตรา 1671เป็นโมฆะด้วยไม่
คดีมีประเด็นว่าพินัยกรรมตามที่จำเลยอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ไม่มีข้อเท็จจริงโต้เถียงกันว่าจำเลยเป็นผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรมหรือไม่แต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความมิได้นำสืบและมิใช่ประเด็นแห่งคดี โดยฟังว่าจำเลยเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรม แล้วนำมาวินิจฉัยปรับเป็นข้อกฎหมายว่าจำเลยต้องห้ามมิให้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมพินัยกรรมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1653,1705ย่อมเป็นการชี้ขาดตัดสินคดีนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้เมื่อคำพิพากษาเดิมวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว
จำเลยเคยยื่นคำร้องในคดีก่อนอ้างว่าที่พิพาทเป็นที่ดินในโฉนดของโจทก์ซึ่งจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโฉนดของโจทก์ ความจริงจำเลยเข้าไปอาศัยและทำนาโดยอาศัยสิทธิการเช่าของบุคคลอื่นที่เช่าที่ดินไปจากโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมิได้ครอบครองรุกล้ำเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์ โดยต่างคนต่างครอบครองตามแนวเขตที่ดินของตนไม่ปรปักษ์กันดังนี้ คำพิพากษาคดีก่อนจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องผูกพันในคำพิพากษานั้นว่า ที่พิพาทไม่ได้อยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีหลังและนำสืบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายจึงรับฟังไม่ได้
แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อคำพิพากษาวินิจฉัยมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลย จำเลยย่อมอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม หุ้นส่วนสามัญ และการใช้เงินชำระค่าหุ้นเพื่อเอาคืนที่ดิน
ที่ดินโฉนดที่ 4052,4053 ศาลฎีกาเคยพิพากษาไว้แล้วว่าเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญฯ จำเลยเป็นคู่ความในคดีย่อมจะต้องผูกพันในผลแห่งคำพิพากษานั้นด้วย ฉะนั้น จำเลยจะเอาเงินมาใช้แทนค่าหุ้นแล้วถอนเอาที่ดินคืนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและผลผูกพันตามคำพิพากษาในคดีเกี่ยวพันกัน
คดีนี้และคดีก่อนมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นนี้แล้ว คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แต่คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด หากในชั้นที่สุดศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีนี้เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา ผลของคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยในคดีนี้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ทำให้คดีนี้ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยต้องชำระค่าก่อสร้างงวดที่ 7 ถึง 9 แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด จึงควรรอฟังผลคดีดังกล่าวให้ถึงที่สุดเสียก่อนแล้วพิพากษาคดีนี้ต่อไป