พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝาก-ซื้อขาย: สิทธิไถ่-ผู้รับโอนสิทธิ-ผลสมบูรณ์ของสัญญา
จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่ ภ. บิดาโจทก์ ระหว่างที่ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝาก จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์ ต่อมา จำเลยทำสัญญากับ ภ. ว่าไม่ประสงค์จะไถ่ถอนและขอสละสิทธิไถ่ถอน ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ภ. ถือได้ว่า เป็นการขายขาดที่ดินให้แก่ ภ. โดยทำสัญญากันเอง จึงไม่เกิดผลเป็นสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากได้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่และภายในกำหนดระยะการขายฝาก จำเลยย่อมมีสิทธินำที่ดินไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 ได้กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ด้วย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินของผู้เยาว์: ผลสมบูรณ์เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายและศาลไม่อนุญาต
ป.พ.พ. มาตรา 1546 (บรรพ 5 เดิม), 1574
ในช่วงที่ ผ.ทำหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิ โจทก์ที่ 4 มีอายุประมาณ 22 ปี เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ.ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมี พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546 (1) ถึง (8) แต่อย่างใดดังนั้น การที่ ผ.ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ.แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2ในขณะที่ ป.พ.พ.มาตรา 1546 (1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ.ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ.ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ.ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088 ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472 ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดีที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบ โจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่
ในช่วงที่ ผ.ทำหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิ โจทก์ที่ 4 มีอายุประมาณ 22 ปี เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ.ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมี พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546 (1) ถึง (8) แต่อย่างใดดังนั้น การที่ ผ.ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ.แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2ในขณะที่ ป.พ.พ.มาตรา 1546 (1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ.ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ.ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ.ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088 ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472 ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดีที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบ โจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมีผลสมบูรณ์ แม้ไม่ได้จดทะเบียน และศาลไม่สามารถสั่งให้เจ้าพนักงานจดทะเบียนได้
การอุทิศที่ดินเพื่อเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหาตกอยู่ในบังคับว่าด้วยการยกให้ไม่แม้การยกให้โดยปริยายก็มีผลทำให้ที่ดินที่ยกให้ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ไม่จำต้องจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย การจดทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานที่จะดำเนินการ ศาลย่อมไม่อาจสั่งบังคับให้เจ้าพนักงานซึ่งมิใช่คู่ความดำเนินการจดทะเบียนที่ดินพิพาทนั้นให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิที่ดินในโครงการจัดรูปที่ดิน: สัญญาจะซื้อขายที่มีเงื่อนไขการอนุญาตจากราชการมีผลสมบูรณ์
พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2517 มาตรา 44มิได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินโอนสิทธิในที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินยังอยู่ในวิสัยที่จะโอนสิทธิในที่ดินภายในกำหนดเวลาห้ามโอนให้แก่ผู้อื่นได้หากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ดังนั้น สัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยว่า โจทก์จะโอนที่ดินให้แก่จำเลยเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการจึงไม่ใช่สัญญาที่กระทำลงโดยมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมาย สัญญาดังกล่าวมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันโมฆียะกรรมโดยปริยาย แม้ต่อมาจะบอกล้าง แต่มีผลสมบูรณ์เมื่อได้กระทำการแสดงเจตนาไปแล้ว
จำเลยไม่ได้ให้การว่าได้ บอกล้าง โมฆียะกรรมภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วการนำสืบของจำเลยที่ว่าได้บอกล้างนิติกรรมไปยังโจทก์ก่อนวันที่พากันไปโอนที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นโมฆียะที่สำนักงานที่ดินจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้ในวันนัดจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้เพราะภรรยาจำเลยคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนครึ่งหนึ่งแต่แสดงว่าจำเลยตั้งใจที่จะปฏิบัติตาม สัญญาจะซื้อจะขายตลอดมาซึ่งเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุที่เป็นโมฆียะกรรมได้สูญสิ้นไปโดยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมแล้วโดยปริยายและแม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำให้การต่อสู้คดีโดยถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแต่เมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันก่อนแล้วจึงไม่อาจ บอกล้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีรองจ่าศาล และผลสมบูรณ์ของการขายทอดตลาด
ปัญหาที่ว่าศาลชั้นต้นตั้งให้จ่าศาลเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีรองจ่าศาลจะมีอำนาจบังคับคดีแทนหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(14) บัญญัติว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี หมายความว่า เจ้าพนักงานศาลหรือพนักงานอื่นผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้อยู่ ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง รองจ่าศาลเป็นเจ้าพนักงานศาลซึ่งเป็นตำแหน่งรองจากจ่าศาล จึงมีอำนาจบังคับคดีได้ และแม้หมายบังคับคดีจะระบุให้จ่าศาลเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีก็หาใช่ว่าจะต้องเป็นอำนาจโดยเฉพาะเจาะจงของจ่าศาลแต่ผู้เดียวไม่ จ่าศาลย่อมมอบอำนาจให้รองจ่าศาลซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาดำเนินการแทนได้ ดังนั้น เมื่อจ่าศาลได้มอบให้รองจ่าศาลเป็นผู้ดำเนินการแทน รองจ่าศาลจึงมีอำนาจบังคับคดีได้ การขายทอดตลาดที่ดินตามคำสั่งของศาล เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขายแก่โจทก์ผู้ซื้อแล้ว ต้องถือว่าการขายทอดตลาดเป็นอันสมบูรณ์แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามส่วนการจะให้จำเลยซื้อที่ดินคืนหรือไม่ยอมเป็นสิทธิของโจทก์จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยไถ่คืนที่ดินและเพิกถอนการขายทอดตลาดที่เสร็จบริบูรณ์ไปแล้วนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมหย่าที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลสมบูรณ์ของการจดทะเบียนหย่า แม้ไม่แจ้งตามระเบียบ
การทำหนังสือยินยอมหย่าจะทำกันที่ไหนก็ได้ก่อนจดทะเบียนการหย่าเมื่อโจทก์และ ว. ทำหนังสือยินยอมหย่ากัน ณ ที่ว่าการอำเภอก่อนที่จะจดทะเบียนการหย่าโดยทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อและมีพยานสองคนลงลายมือชื่อครบถ้วน จึงเป็นหนังสือยินยอมหย่าที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 วรรคสอง การที่โจทก์และ ว. นำหนังสือยินยอมหย่าไปแสดงและเจ้าพนักงานได้จดทะเบียนหย่าให้ตามความต้องการแล้ว การหย่าย่อมมีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 และพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 18 แม้นายทะเบียนจะมิได้แจ้งการจดทะเบียนการหย่าไปยังที่ว่าการอำเภอที่จดทะเบียนสมรสหรือสำนักงานทะเบียนกลางตามระเบียบการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2483ก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องที่สมบูรณ์ แม้ใช้ถ้อยคำต่างจากที่กฎหมายบัญญัติ และผลของการบอกเลิกการโอนสิทธิโดยผู้โอน
แม้ข้อความในเอกสารจะใช้ถ้อยคำว่า 'โอนสิทธิรับเงินสินจ้าง'โดยมิได้ใช้คำว่า 'โอนสิทธิเรียกร้อง' ตามชื่อที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงก็ตาม แต่เมื่อใจความในเอกสารดังกล่าวทั้งฉบับเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง ก็ย่อมต้องฟังว่าเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง และแม้หลักฐานการขอเบิกและจ่ายเงินจะระบุชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้ขอเบิกและผู้รับก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอยู่แล้วต้องเสียไป
การที่จำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องมีหนังสือบอกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้น ย่อมไม่มีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวที่มีต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่จำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องมีหนังสือบอกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้น ย่อมไม่มีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวที่มีต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่ามีผลสมบูรณ์แม้ยังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาเช่า หากเงื่อนไขนั้นไม่ใช่แบบของนิติกรรม
จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ให้แก่ผู้ร้องที่ 1ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึง 3 ปีเศษ โดยผู้ร้องได้รับมอบเครื่องรับโทรศัพท์ไว้ในความครอบครองตั้งแต่วันที่โอนสิทธิกัน ดังนั้นการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายนี้ย่อมมีผลสมบูรณ์ แม้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีเงื่อนไขว่าการโอนจะต้องได้รับความยินยอมจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเสียก่อน เมื่อยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ก็ไม่ทำให้นิติกรรมการโอนเสียไปเพราะเงื่อนไขดังกล่าวไม่ใช่แบบของนิติกรรม สิทธิการเช่าโทรศัพท์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธินำยึด.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลสมบูรณ์ของการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์: การทำสัญญาและการชำระราคาเป็นสำคัญ
อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่า การที่ผู้ร้องและจำเลยได้ยื่นคำขอโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ ณ ที่ทำการชุมสายโทรศัพท์ ถือได้ว่าการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของผู้ร้องมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วตั้งแต่วันที่ได้ทำคำขอโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องอันถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ยินยอมให้มีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ข้อกฎหมาย
จำเลยและผู้ร้องได้ตกลงโอนขายสิทธิการเช่าโทรศัพท์ต่อกันทั้งได้ทำคำขอโอนและรับโอนการเช่าโทรศัพท์ร่วมกันต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยก็รับทราบและได้แจ้งให้จำเลยและผู้ร้องไปชำระเงินค่าโอนย้ายโทรศัพท์แล้ว อีกทั้งผู้ร้องก็ได้ชำระราคาให้จำเลยและจำเลยได้ส่งมอบเครื่องโทรศัพท์ไว้ในครอบครองของผู้ร้องแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายดังนั้นการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายนี้ย่อมมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่ขณะทำสัญญาเสร็จการที่จะไปทำการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าโทรศัพท์จากจำเลยมาเป็นชื่อผู้ร้องเป็นแต่เพียงแบบพิธีการเท่านั้น.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยและผู้ร้องได้ตกลงโอนขายสิทธิการเช่าโทรศัพท์ต่อกันทั้งได้ทำคำขอโอนและรับโอนการเช่าโทรศัพท์ร่วมกันต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยก็รับทราบและได้แจ้งให้จำเลยและผู้ร้องไปชำระเงินค่าโอนย้ายโทรศัพท์แล้ว อีกทั้งผู้ร้องก็ได้ชำระราคาให้จำเลยและจำเลยได้ส่งมอบเครื่องโทรศัพท์ไว้ในครอบครองของผู้ร้องแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายดังนั้นการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายนี้ย่อมมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่ขณะทำสัญญาเสร็จการที่จะไปทำการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าโทรศัพท์จากจำเลยมาเป็นชื่อผู้ร้องเป็นแต่เพียงแบบพิธีการเท่านั้น.(ที่มา-ส่งเสริม)