คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลแห่งคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดี: ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยทุกประเด็น หากไม่กระทบผลแห่งคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 142 ที่บัญญัติห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏ ในคำฟ้อง เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามอนุมาตรา (1) ถึง (6) เป็นการกำหนดขอบเขตของการวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาล ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยตามประเด็นปัญหาที่ศาลได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถาน แต่มิได้บังคับ เด็ดขาดว่าศาลจำต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาดังกล่าวทั้งหมด หากศาลเห็นว่าประเด็นปัญหาใดแม้วินิจฉัยให้ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยในประเด็นปัญหาดังกล่าว อันเป็นอำนาจทั่วไปของศาล
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อีก การใช้ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบด้วยมาตรา 142 และ 131 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าเป็นจำเลยร่วม: การมีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดี
ที่ดินที่ผู้ร้องเช่าซื้อมาเป็นคนละส่วนกับที่พิพาทที่โจทก์ฟ้อง ขับไล่จำเลย แม้ผู้ร้องจะได้ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินจากว. เช่นเดียวกับจำเลยตลอดจนผลแห่งคดีนี้อาจทำให้จำเลยต้องแพ้คดีมีผลกระทบจนเป็นที่หวั่นเกรงว่าโจทก์อาจนำคดีมาฟ้องร้องได้ก็ไม่ใช่เป็นผลแห่งคดีโดยตรงที่กระทบหรือผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิตามกฎหมายของผู้ร้อง จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3328/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลแห่งคดี ศาลไม่ต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่เพิกถอน น.ส.3ก.ของโจทก์ที่อ้างว่าออกทับที่ดินสาธารณประโยชน์ โดยโจทก์อ้างว่าที่ดินนั้นไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ ประเด็นแห่งคดีจึงอยู่ที่เหตุที่จำเลยออกคำสั่ง คือที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่เท่านั้น การที่จำเลยให้การต่อสู้เพิ่มเติมจากประเด็นดังกล่าวออกไปอีกว่า จำเลยเพิกถอนชอบแล้ว เพราะ น.ส.3ก. ออกโดยผิดกฎหมาย เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ครอบครองมาก่อน อันเป็นผลให้ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อนี้ขึ้น แต่ข้อต่อสู้นี้ไม่มีผลกระทบถึงผลแห่งคดีย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทให้คู่ความนำสืบ จึงเป็นการกำหนดประเด็นขึ้นโดยไม่ชอบ ถือได้ว่าคดีไม่มีประเด็นดังกล่าว แม้ศาลล่างจะวินิจฉัยมาก็ไม่ผูกพันศาลฎีกาที่จะต้องวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเพื่อเป็นโจทก์ร่วมต้องมีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี โดยทรัพย์มรดกที่กล่าวอ้างต้องเป็นทรัพย์เดียวกันกับที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกส่วนแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม โดยอ้างว่าผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรม ปรากฏว่าทรัพย์มรดกที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเป็นทรัพย์ต่างรายกับทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้อง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะร้องสอดเข้ามาในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีขับไล่: ผู้ร้องต้องมีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดีจึงจะได้รับการอนุญาต
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากตึกพิพาทอ้างว่าอยู่โดยละเมิด จำเลยต่อสู้ว่าอยู่ในตึกพิพาทโดยเช่าจากผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ร้องได้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) อ้างว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ดังนี้ การที่โจทก์จะมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยเพียงใด เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลย แม้จำเลยจะไปทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับผู้ร้องในภายหลัง ผลแห่งคดีก็ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องอย่างใด จึงไม่ถือว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี และการที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2) นั้น ก็อยู่ในอำนาจศาลที่จะพิจารณาว่าคดีมีเหตุผลสมควรที่จะอนุญาตหรือไม่ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนได้เสียในการร้องสอดคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ต้องเป็นส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) นั้น ผู้ร้องสอดขอเข้ามาในคดีได้ต่อเมื่อตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดี ซึ่งหมายความว่า ผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนด้วยจึงจะร้องสอดได้มิใช่ว่าเข้าไปเซ็นสัญญากับคนในคดีได้ตามใจชอบแล้วอ้างว่ามีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี
(ประชุมใหญ่ ครั้ง 41/2504)