พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย และการใช้สิทธิเรียกร้องค่าใช้ทรัพย์เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระ
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกกันเนื่องจากโจทก์ติดตามยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาได้โดยฝ่ายจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย คู่กรณีแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อก่อนเลิกสัญญาโดยไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อนั้น ผู้เช่าซื้อจำต้องใช้เงินเป็นค่าเช่าหรือค่าใช้ทรัพย์ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม แต่ไม่ต้องใช้ค่าเสียหายใด ๆ เป็นค่าขาดราคานอกจากค่าที่ได้ใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยมิได้ชำระค่าเช่าซื้อนั้น
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันได้คงเรียกได้แต่ค่าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้นซึ่งไม่ก่อให้เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด แม้โจทก์จะได้ออกเงินทดรองชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกเอาจากจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันได้คงเรียกได้แต่ค่าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้นซึ่งไม่ก่อให้เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด แม้โจทก์จะได้ออกเงินทดรองชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกเอาจากจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8055/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่เลิกสัญญา แม้ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อบางส่วน ผู้ให้เช่าซื้อยอมรับการชำระเงินโดยไม่โต้แย้ง
ผู้ให้เช่าซื้อยอมรับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระไม่ตรงตามกำหนดตลอดมาแสดงว่าผู้ให้เช่าซื้อไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยรับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อจากผู้ให้เช่าซื้อโดยไม่โต้แย้ง จึงต้องผูกพันตามความประสงค์ของคู่สัญญาที่ไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญเช่นกัน เมื่อจะบอกเลิกสัญญาจำเลยต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อภายในเวลาที่สมควรก่อน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อเพียง 3 งวด การที่โจทก์ขอชำระค่าเช่าซื้อแต่จำเลยไม่ยอมรับอ้างว่าค้างชำระถึง 9 งวด จึงเป็นการไม่รับชำระหนี้โดยไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะอ้างได้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่โจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาตามหนังสือบอกเลิกสัญญายังถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย: โจทก์ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามเช็ค จำเลยขอคิดดอกเบี้ยเพิ่มไม่ได้
เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้แก่จำเลย โจทก์ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดคือวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่โจทก์ชำระเฉพาะต้นเงินตามเช็คให้แก่จำเลยเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มิได้ชำระ และศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์รับผิดตามที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนของดอกเบี้ยดังกล่าว แม้เงินที่โจทก์จะต้องรับผิดจะเป็นหนี้เงินและการที่โจทก์ไม่ยอมชำระทำให้จำเลยเสียหายก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวก็เป็นหนี้เงินในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยมิใช่หนี้เงินในส่วนที่เป็นต้นเงิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์โดยคิดเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของหนี้เงินดังกล่าวอีก เพราะมีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดต้องเริ่มนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระจริง และค่าขึ้นศาลไม่ใช่หนี้ที่ขอรับชำระในคดีล้มละลายได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง กำหนดแจ้งชัดว่า หนี้ที่จะขอรับชำระได้ต้องเป็นหนี้ที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เท่านั้น แม้ว่าหนี้นั้นจะยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้หรือเป็นหนี้ที่ยังมีเงื่อนไขในการชำระหนี้ก็ตาม แต่จำนวนเงินค่าขึ้นศาลที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้เป็นค่าธรรมเนียมศาลซึ่งเจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องชำระแก่ศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 เพื่อเจ้าหนี้จะได้ใช้สิทธิดำเนินคดีทางแพ่งต่อลูกหนี้ตามกฎหมายเท่านั้น และเงินจำนวนนี้ไม่ใช่ค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระแก่เจ้าหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 แล้ว จึงมิใช่มูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อันเจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าปรับจากสัญญาประกันตัว: การกำหนดค่าปรับ การแจ้งหนี้ และการผิดนัดชำระ
ธ. ทำสัญญาขอปล่อยชั่วคราว ส. ผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนกับโจทก์ ในวงเงิน 120,000 บาท เมื่อถึงกำหนด นัดส่งตัว ส. ในวันที่ 17 เมษายน 2542 ธ. ไม่นำตัว ส. มาส่งโจทก์จึงเป็นการผิดนัดตามสัญญาประกันอันจะต้องเสียค่าปรับนับแต่วันนั้น แต่จำเลยจะผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยค่าปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ก็ต่อเมื่อโจทก์กำหนดค่าปรับและแจ้งให้ ธ. ทราบแล้วไม่ชำระ ตามมาตรา 204 โจทก์มีหนังสือทวงถามให้ ธ. นำเงิน 120,000 บาท มาชำระในวันที่ 25 มิถุนายน 2542 ธ. เพิกเฉย ธ. จึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงิน 120,000 บาท นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2542 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3807/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนชำระหนี้หลังคำพิพากษา ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี หากผิดนัดชำระ โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์ได้
จำเลยจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ จำเลยเสนอขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นรายเดือนซึ่งผู้แทนโจทก์ยินยอมตามเงื่อนไขและได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการยึดทรัพย์ไว้เพื่อรอฟังผลการชำระหนี้ภายนอก คงมีความหมายเพียงว่าถ้าจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์โดยไม่ผิดนัด โจทก์จะยังไม่ใช้สิทธิบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลย แต่มิได้หมายความว่าสิทธิในการบังคับคดีแก่จำเลยจะหมดสิ้นไป ทั้งข้อตกลงดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะไม่ได้ตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ดังนั้นเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง 2 ครั้ง แต่ละครั้งไม่เป็นไปตามเงื่อนไข โจทก์จึงชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถยนต์หลังผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ: โจทก์ผิดสัญญาเมื่อไม่บอกกล่าวให้ชำระหนี้ก่อนยึดรถ
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะระบุว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อไม่ว่างวดหนึ่งงวดใด ให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้โดยทันที และยินยอมให้เจ้าของทำการยึด และเข้าครอบครองรถยนต์นั้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาตั้งแต่งวดที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งโจทก์ก็ยินยอมรับไว้ แม้โจทก์จะคิดค่าปรับแก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ล่าช้าก็ตาม แต่หลังจากโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาแล้ว โจทก์ยังยินยอมรับเงินค่าเช่าซื้องวดที่ 7 และ ที่ 8 พร้อมค่าปรับ พฤติการณ์ดังกล่าวของโจทก์แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าซื้อในสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ทั้งก่อนที่โจทก์จะไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ จากนั้นจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอรับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แสดงว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งการยึดนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระงวดที่ 9 ภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรดังบทบัญญัติดังกล่าว การที่โจทก์ไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาเพราะเหตุดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ก็โต้แย้งการยึด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อแทนค่าปรับที่ได้รับไว้แก่จำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: หนี้บัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปีนับจากวันผิดนัดชำระ
หนี้ที่จำเลยใช้บัตรเครดิตมิใช่หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยใช้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสด หรือใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสดโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(7) โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจำเลยใช้บัตรเครดิตวันที่ 31มีนาคม 2535 ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามบัตรเครดิตตั้งแต่นั้นมานับถึงวันฟ้องวันที่ 29 กันยายน 2542 เกินกว่า 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6121/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระ: สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดราคา
สัญญาเช่าซื้อระบุให้ผู้เช่าซื้อนำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไปชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของเจ้าของ จึงเป็นภาระหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อที่ต้องนำเงินค่างวดไปชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ การที่จำเลยที่ 1 นำสืบถึงข้อตกลงว่าพนักงานของโจทก์จะเป็นผู้ไปเก็บค่างวดแก่จำเลยที่ 1 เอง จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเอกสารสัญญาเช่าซื้อ ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันทันทีโดยเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องบอกกล่าวก่อน
ฟ้องโจทก์ที่ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เพราะมิใช่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น อันจะต้องใช้สิทธิฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
ฟ้องโจทก์ที่ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เพราะมิใช่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น อันจะต้องใช้สิทธิฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ผิดนัดชำระ ก็เป็นดอกผลนิตินัย โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตามสัญญา
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีและในกรณีมีเหตุจำเป็นยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดเมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ แสดงว่าตามหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ การคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเข้าลักษณะดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในช่วงแรกโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองไม่ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไปโดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้ หาใช่เป็นเรื่องลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้อง อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ไม่ โจทก์ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญากู้เงินได้
ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองตามหนังสือสัญญากู้เงินไม่ใช่การแสดงเจตนาเพื่อลวงบุคคลอื่น และไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีเจตนาทำสัญญาฉบับนี้อำพรางสัญญาฉบับอื่นแต่อย่างใด จึงไม่เข้าลักษณะนิติกรรมอำพรางที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองลดลงเหลืออัตราร้อยละ 16 ต่อปีได้
ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองตามหนังสือสัญญากู้เงินไม่ใช่การแสดงเจตนาเพื่อลวงบุคคลอื่น และไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีเจตนาทำสัญญาฉบับนี้อำพรางสัญญาฉบับอื่นแต่อย่างใด จึงไม่เข้าลักษณะนิติกรรมอำพรางที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองลดลงเหลืออัตราร้อยละ 16 ต่อปีได้