คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผูกพันตามสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4594/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามสัญญา แม้ไม่มีลายมือชื่อกรรมการ การกระทำของตัวแทนสร้างภาระผูกพันแก่บริษัทหลัก
จำเลยทั้งสองเคยสั่งให้โจทก์ลงโฆษณามาก่อนหลายครั้ง โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในใบสั่งโฆษณา แม้ในครั้งที่พิพาทกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 จะมิได้ลงลายมือชื่อไว้แต่ก็เป็นเรื่องข้อตกลงภายในของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้างเพื่อปัดความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งบุคคลภายนอก ทั้งข้อความที่ลงโฆษณาก็เป็นเรื่องที่อยู่ในกิจการและประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว พฤติการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนว่าจ้างโจทก์โฆษณา จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดชำระสินจ้างแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้เช่าย่อมผูกพันตามสัญญา
การเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 มิได้บังคับว่าผู้ให้เช่าจำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่า ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน แม้ทรัพย์สินที่ให้เช่าจะมิใช่ของโจทก์ แต่จำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์ จำเลยย่อมต้องผูกพันตามสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ทั้งจำเลยก็ยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิให้เช่าที่ดินพิพาทในฐานะเป็นทายาทของบ. จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าต่อโจทก์ เมื่อสัญญาเช่ากำหนดเวลาไว้ 3 ปีสัญญาย่อมระงับเมื่อสิ้นกำหนดเวลา โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3763/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายแม้ผู้ขายไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ก็ผูกพันตามสัญญาได้ หากเจตนาซื้อขายจริง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยอมตกลงทำสัญญาขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปให้ ส. เช่าซื้ออีกต่อหนึ่งนั้น เป็นวิธีการทำธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยที่ 1 และโจทก์เคยปฏิบัติต่อกันมาหลายครั้งแล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์พิพาทขณะทำสัญญาซื้อขายรถยนต์คันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ก็ต้องผูกพันตามสัญญาที่ได้แสดงเจตนาออกมานั้นจะอ้างว่าเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับโจทก์เพื่อลวงหรือหลอกให้ผู้อื่นหลงผิดไม่ได้ เพราะผู้ขายไม่จำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะทำสัญญาซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ผูกพันตามข้อตกลงเดิม แม้มีข้ออ้างเรื่องนิติกรรมอำพราง ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
เมื่อคำให้การจำเลยแปลความได้ว่า จำเลยยอมรับว่าได้ตกลงกู้เงินจากโจทก์และหลังจากทำสัญญากู้แล้ว จำเลยได้รับเงินจากโจทก์จนครบและเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงผูกพันกันตามสัญญากู้ดังกล่าว สัญญากู้จึงมิใช่นิติกรรมอำพรางการยืมเงินทดรองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้
คดีมีประเด็นพิพาทเพียงว่า จำเลยยืมเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น หาได้มีประเด็นพิพาทว่า จำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่แต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมที่แท้จริงคือยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยสัญญากู้จึงเป็นโมฆะ ดังนั้นการนำสืบหักล้างเรื่องการชำระหนี้ จึงกระทำด้วยเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 และจ.3 ได้เพราะต้องถือตามสัญญาหรือข้อตกลงที่แท้จริงมิได้ถือเอาตามสัญญากู้นั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามสัญญาของหุ้นส่วนผู้จัดการ แม้ไม่มีตราสำคัญ การค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่โจทก์ในนามจำเลยที่ 1 โดยไม่ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในสัญญาขายลดตั๋วเงิน มีจำเลยที่3 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วยจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์ตามสัญญาแล้ว และเมื่อครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1ใช้เงินแก่โจทก์บางส่วน ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวในฐานะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญานั้น จำเลยที่ 3 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้และสัญญาค้ำประกัน: อำนาจฟ้องจำเลยผู้กู้และผู้ค้ำประกัน
แม้เงินที่จำเลยที่ 1 กู้ไปจากโจทก์จะเป็นเงินของภริยาโจทก์แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ให้ไว้กับโจทก์ผู้ให้กู้และจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้กับโจทก์เจ้าหนี้ จำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกวดราคา: การยื่นซองเสนอราคาถือเป็นการผูกพันตามสัญญา แม้จะอ้างความผิดพลาดในการเสนอราคา
จำเลยทราบข้อสัญญาการประกวดราคาตามประกาศเรียกประกวดราคาของโจทก์แล้ว จึงยื่นซองประกวดราคา เมื่อจำเลยประมูลได้ ก็ต้องผูกพันตามสัญญานั้น โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยประมูลได้แล้วไม่มาทำสัญญาก่อสร้าง จำเลยรับว่าได้ยื่นซองเสนอราคาจริง แต่อ้างว่าจำเลยไม่ผูกพันตามสัญญา ดังนี้ ประเด็นที่ว่าคำเสนอของจำเลยยังคงผูกพันจำเลยหรือไม่ จำเลยต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
จำเลยประมูลทำการก่อสร้างได้แล้วไม่ยอมทำสัญญาก่อสร้าง เมื่อกรณีนี้ตามสัญญาประกวดราคาระบุให้จำเลยผู้ประกวดราคาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำงานนี้ในราคาสูงกว่าที่จำเลยเสนอราคา จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873-2878/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิหน้าที่ในสัญญาจะซื้อขาย: ผู้ซื้อทราบข้อพิพาท ย่อมผูกพันตามสัญญาเดิม
จำเลยที่ 1 (จำเลยที่ 1 ในสามสำนวนแรก) และ จ. เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2133 และสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินได้ทำสัญญาจะซื้อขายห้องแถวไม้ 3 ห้อง พร้อมที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 2133 ให้แก่โจทก์ทั้ง 3 (โจทก์ในสามสำนวนแรก) คนละห้อง โดยให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือน แล้วจำเลยที่ 1 และ จ. ได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 (จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในสามสำนวนแรก) โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้ง 3 ทราบ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ซื้อทราบอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และ จ. กับโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับทั้งสิทธิ์และหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และ จ. ผู้ขาย ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ทำสัญญาตกลงกับจำเลยที่ 1 และ จ. (คู่สัญญาของโจทก์ทั้งสาม) ว่าตนจะชำระหนี้แก่โจทก์ทั้ง 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและห้องพิพาทกับโจทก์ทั้ง 3 ขึ้นใหม่ คงถือตามสัญญาเดิม เมื่อต่อมาจำเลยทั้ง 3 ได้แจ้งเรื่องการซื้อขายระหว่างจำเลยต่อโจทก์ทั้ง 3 ว่าถ้าโจทก์ทั้ง 3 ยังประสงค์จะซื้อที่ดินและห้องแถวอยู่ก็ให้ส่งเงินที่ค้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ภายใน 7 วัน โจทก์ทั้ง 3 มีหนังสือตอบตกลงขอให้จำเลยที่ 2 นัดวันโอนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้ง 3 ที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 สิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิ์นั้นในภายหลังได้ไม่ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องผูกพันตนร่วมกับจำเลยที่ 1 และ จ. เป็นคู่สัญญารับผิดในการปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อโจทก์ทั้งสามด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: แม้แบ่งแยกโฉนดไม่ได้ จำเลยยังต้องผูกพันตามสัญญา
จำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้อื่นเฉพาะส่วนของจำเลย จำเลยได้รับมัดจำไว้แล้วแต่จำเลยขอแบ่งแยกและโอนโฉนดไม่สำเร็จ เพราะเจ้าพนักงานที่ดินยังไม่ทำให้นั้นแม้จะเป็นเหตุที่จำเลยอาจไม่ต้องรับผิดชอบแต่ก็ไม่มีผลถึงกับจะทำให้จำเลยถือเป็นเหตุปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาเสียทีเดียวจำเลยยังคงต้องผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ คือให้ได้มีการโอนโฉนดเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์ตามสัญญาเมื่อบัดนี้จำเลยปฏิเสธสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้