พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้ไม่มีตราประทับ และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด เดิมมีโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาโจทก์ถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนโดยมีการทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็น ผู้ให้สัญญา แต่ไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงข้ออื่น ๆ ในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์บางส่วนไปแล้ว ทั้งจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ก็จดทะเบียนถอนโจทก์ออกจากการเป็น ผู้ถือหุ้น ตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ซึ่งเท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ปฏิบัติไปตามบันทึกข้อตกลงนั้นเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว จะไม่มีการประทับตราของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำการแทนในนามของจำเลยที่ 1 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดย่อมต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1077 (2) ประกอบด้วยมาตรา 1087 แห่ง ป.พ.พ. จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดย่อมต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1077 (2) ประกอบด้วยมาตรา 1087 แห่ง ป.พ.พ. จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญากู้ยืมหลังการระงับหนี้เดิม การนำสืบไม่แตกต่างฟ้อง และการรับสภาพของจำเลย
การที่โจทก์นำสืบถึงมูลหนี้เดิมว่าสามีจำเลยกู้เงินโจทก์30,000 บาท จำเลยรู้เห็น เมื่อสามีจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ฉบับพิพาทให้โจทก์ไว้และรับว่าจะชำระเงินตามสัญญากู้โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญากู้นั้นได้ โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องถึงมูลหนี้เดิมซึ่งระงับแล้วไว้ เพราะจำเลยทำสัญญากู้และยอมผูกพันตนชำระหนี้แทนสามี การนำสืบของโจทก์ถึงมูลหนี้เดิมหาเป็นการแตกต่างจากคำฟ้องไม่ ทั้งการที่ศาลล่างฟังว่าเป็นเรื่องแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ก็มิใช่เป็นเรื่องนอกสำนวน โจทก์มิได้เสียค่าอ้างเอกสารสัญญากู้แต่โจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือสัญญากู้มาท้ายฟ้อง จำเลยก็รับว่าเป็นผู้ทำสัญญากู้ฉบับพิพาทให้โจทก์ไว้จริง ฉะนั้นกรณีจึงไม่จำต้องหยิบยกเอกสารที่โจทก์ไม่ได้เสียค่าอ้างขึ้นวินิจฉัย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำรับของจำเลยอยู่แล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้ตามฟ้องและโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันพิเศษ: ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันหนี้ชั้นเดียวกับลูกหนี้ได้ แม้ไม่ฟ้องลูกหนี้ก่อน
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า กรณีเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องลูกหนี้ก่อน และมีข้อความอีกตอนหนึ่งว่า ยังยินยอมให้ผ่อนเวลาชำระหนี้ได้ และผู้ค้ำประกันยังคงรับผิดชอบอยู่เสมอ ดังนี้ถือว่าเป็นการตกลงพิเศษ ผู้ค้ำประกันหารับผิดเพียงฐานะผู้ค้ำประกันตามกฎหมายเท่านั้นไม่
อนึ่ง การที่ผู้ค้ำประกันตกลงกันเป็นพิเศษยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้นั้น หาขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 ข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ
ในกรณีลูกหนี้ตาย สัญญาค้ำประกันยังให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันได้ เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องความมรดกโดยผู้ค้ำประกันยินยอมและไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในทางคดี เป็นข้อแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า เจ้าหนี้ไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้หรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าผู้กู้ถึงแก่ความตายไม่ได้รับชำระหนี้จากกองมรดกครบจำนวน ผู้ค้ำประกันยอมรับชำระหนี้จนครบนั้น มิได้หมายความว่าจะต้องฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ด้วยตราบใดยังไม่ได้รับชำระหนี้หรือกองมรดก ผู้ค้ำประกันก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่เสมอการที่ผู้ค้ำประกันตกลงจะไม่ยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้นั้น ไม่ขัดต่อมาตรา 191 หรือ 192 เพราะไม่ใช่อายุความของผู้ค้ำประกัน และข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ
อนึ่ง การที่ผู้ค้ำประกันตกลงกันเป็นพิเศษยอมรับผิดชั้นเดียวกับลูกหนี้นั้น หาขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 ข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ
ในกรณีลูกหนี้ตาย สัญญาค้ำประกันยังให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันได้ เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องความมรดกโดยผู้ค้ำประกันยินยอมและไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในทางคดี เป็นข้อแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า เจ้าหนี้ไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้หรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้
สัญญาค้ำประกันอีกข้อหนึ่งว่า ถ้าผู้กู้ถึงแก่ความตายไม่ได้รับชำระหนี้จากกองมรดกครบจำนวน ผู้ค้ำประกันยอมรับชำระหนี้จนครบนั้น มิได้หมายความว่าจะต้องฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ด้วยตราบใดยังไม่ได้รับชำระหนี้หรือกองมรดก ผู้ค้ำประกันก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่เสมอการที่ผู้ค้ำประกันตกลงจะไม่ยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้นั้น ไม่ขัดต่อมาตรา 191 หรือ 192 เพราะไม่ใช่อายุความของผู้ค้ำประกัน และข้อตกลงนี้ไม่เป็นโมฆะ