พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ: การพิจารณาจากความรู้สึกของวิญญูชนทั่วไป ไม่ใช่ผู้กระทำ
กรณีที่จะเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผู้กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและเหตุอันไม่เป็นธรรมนั้นต้องเป็นเรื่องร้ายแรง โดยต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปที่อยู่ในภาวะวิสัยและพฤติการณ์อย่างเดียวกับผู้กระทำความผิด จะถือเอาความรู้สึกนึกคิดของตัวผู้กระทำความผิดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าผู้กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ไม่ได้ แม้จำเลยจะเป็นญาติผู้ใหญ่ของผู้ตาย และพูดตักเตือนผู้ตายเรื่องการขับรถจักรยานยนต์ในหมู่บ้านว่าไม่ให้ขับเร็วเพราะเกรงว่าจะชนเด็ก แล้วผู้ตายตอบว่าเป็นรถของผู้ตายเองจะยังคงขับเร็ว และพูดท้าทายจำเลยว่า มึงแก่แล้วอย่ามายุ่งกับกูหากแน่จริงให้ลุกขึ้นมา ซึ่งเป็นการแสดงกิริยายโสโอหัง ไม่สมควรที่จะกระทำต่อจำเลยซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ก็ตาม แต่ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การกระทำของจำเลย จึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4025/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับจากวันที่รู้การละเมิดและตัวผู้กระทำ
จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2532 และวันที่ 9 ตุลาคม2533 ตามลำดับ โจทก์ทราบมาโดยตลอดว่า ผู้กระทำละเมิดในครั้งนี้คือจำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 จึงต้องถือว่าค่าเสียหายเกี่ยวกับที่ดินและแผงค้าตามฟ้องที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 24 เมษายน 2539 เกิน 1 ปี แล้วเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9738/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดด้วยความจำเป็นและการละเมิดอำนาจศาล ผู้กระทำต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์บังคับหรือเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
การกระทำความผิดด้วยความจำเป็นตาม ป.อ. มาตรา 67 แบ่งออกเป็น 2 ประการ ประการแรกเป็นความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับซึ่งการบังคับหรือบงการให้กระทำที่เป็นความผิดนั้นมาจากภายนอก ผู้ถูกบังคับมิได้คิดริเริ่มกระทำการนั้นขึ้นด้วยใจตนเอง แต่เป็นเพราะไม่มีทางที่จะทำอย่างอื่นใด อีกประการหนึ่งก็คือเป็นความจำเป็นซึ่งไม่มีการบังคับหรือบงการให้กระทำแต่มีภยันตรายที่จะต้องหลีกเลี่ยงและผู้กระทำเลือกหลีกเลี่ยงภยันตรายโดยวิธีกระทำการอันเป็นความผิดด้วยความคิดริเริ่มของตน แม้อาจทำอย่างอื่นได้ แต่การกระทำอย่างอื่นนั้นก็ยังทำความเสียหายแก่ผู้อื่นอยู่นั่นเอง ดังนั้น การกระทำด้วยความจำเป็นตาม ป.อ. มาตรา 67 อันเป็นมูลเหตุแห่งการยกเว้นโทษจึงไม่ใช่สิทธิ แต่เป็นการกระทำที่ไม่ใช่การกระทำโดยผู้กระทำมีจิตใจเป็นอิสระ แต่กระทำโดยถูกผู้อื่นหรือเหตุการณ์อื่นบังคับอีกชั้นหนึ่ง
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลก็เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ เมื่อปรากฏว่าเอกสารที่โจทก์อ้างถึงในคดีสูญหายไปจากสำนวนความของศาล ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาได้นำเอกสารเหล่านั้นมามอบคืนศาลชั้นต้น โดยผู้ถูกกล่าวหาเมื่อได้รับเอกสารดังกล่าวคืนมาแล้วยังคงเก็บเอกสารดังกล่าวไว้อีก 2 ถึง 3 วัน โดยไม่นำมาส่งคืนศาล และการเก็บเอกสารเช่นว่านั้นก็มิได้รับอนุญาตจากศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาหาใช่เป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ การกระทำของผู้กล่าวหาจึงมิใช่กระทำความผิดด้วยความจำเป็นอันจะทำให้ไม่ต้องรับโทษ
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลก็เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ เมื่อปรากฏว่าเอกสารที่โจทก์อ้างถึงในคดีสูญหายไปจากสำนวนความของศาล ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาได้นำเอกสารเหล่านั้นมามอบคืนศาลชั้นต้น โดยผู้ถูกกล่าวหาเมื่อได้รับเอกสารดังกล่าวคืนมาแล้วยังคงเก็บเอกสารดังกล่าวไว้อีก 2 ถึง 3 วัน โดยไม่นำมาส่งคืนศาล และการเก็บเอกสารเช่นว่านั้นก็มิได้รับอนุญาตจากศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาหาใช่เป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ การกระทำของผู้กล่าวหาจึงมิใช่กระทำความผิดด้วยความจำเป็นอันจะทำให้ไม่ต้องรับโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ: พิจารณาจากเหตุการณ์ต่อเนื่องและโทสะของผู้กระทำ
การที่ผู้ตายเอาเบียร์จากโต๊ะของจำเลยที่ 1 ไปดื่มโดยพลการ จนผู้ตายและจำเลยที่ 1 ทะเลาะกัน เมื่อ ป.เข้าห้าม ผู้ตายก็เดินไปทางปากซอยส่วนจำเลยที่ 1กลับไปนั่งดื่มเบียร์ต่อที่โต๊ะ แต่ผู้ตายยังไม่ยอมเลิกแล้วต่อกันกลับไปท้าท้ายจำเลยที่ 1 ให้ชกต่อยกันอีกจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้มีดแทงผู้ตายในเวลาเกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกันจึงเป็นการกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 การกระทำผิดโดยบันดาลโทสะต้องพิจารณาว่า ขณะนั้นโทสะของผู้กระทำผิดหมดสิ้นไปแล้วหรือหาไม่ โดยพิจารณาจากพฤติการณ์อื่นประกอบ การที่จำเลยทั้งสองบันดาลโทสะจึงวิ่งไล่แทงผู้ตาย และจำเลยที่ 2 แทงผู้ตายได้ในที่สุดเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกันย่อมแสดงว่าขณะผู้ตายหนีต่อไปไม่ได้และใช้โต๊ะขึ้นกันนั้นโทสะของจำเลยทั้งสองยังไม่หมดสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงไม่ใช่เจตนาจัดหางาน ผู้กระทำจึงไม่ผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน
ที่จำเลยฎีกาว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดดังฟ้องเพราะขาดองค์ประกอบอันจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยจึงยกขึ้นฎีกาได้ กรณีจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528มาตรา30วรรคหนึ่งนั้นผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะจัดหางานให้คนหางานเพื่อทำงานในต่างประเทศแต่ตามฟ้องคดีนี้โจทก์บรรยายว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกว่าจำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งหกไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น โดยจะได้รับค่าจ้างคนละ40,000บาทต่อเดือนซึ่งผู้เสียหายทั้งหกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าบริการให้จำเลยซึ่งเป็นความเท็จเพราะความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถส่งผู้เสียหายทั้งหกไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้จากคำบรรยายฟ้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งหกคงมีแต่เจตนาหลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกเพื่อที่จะได้รับเงินค่าใช้จ่ายและค่าบริการจากผู้เสียหายทั้งหกเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528 เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อรู้เหตุละเมิดและตัวผู้กระทำ
จำเลยที่1ถึงที่6และป. เจ้ามรดกของจำเลยที่7ได้ร่วมกันขออายัดที่ดินของโจทก์ไว้ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาโดยอาศัยคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ด. ผู้จะซื้อเมื่อวันที่19ธันวาคม2532แสดงว่าโจทก์รู้เหตุละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่นั้นมาโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่11พฤษภาคม2535เกินกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่งโจทก์จะอ้างว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงวันฟ้องหาได้ไม่ ที่โจทก์อ้างว่าเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งเจ็ดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา263ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้กำหนดอายุความไว้จึงต้องบังคับตามอายุความทั่วไปคืออายุความ10ปีนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์โดยชอบต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดป่าสงวน: ผู้กระทำไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนฯ ย่อมไม่มีความผิด แม้พื้นที่เป็นป่าสงวนฯ จริง
ที่ดินที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำการก่นสร้างแผ้วถางเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ย่อมเป็นข้อเท็จจริงหากไม่ใช่ป่าสงวนแห่งชาติจำเลยย่อมไม่มีความผิดและแม้จะเป็นป่าสงวนแห่งชาติแต่จำเลยเข้าก่นสร้างแผ้วถางโดยไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำเลยก็ไม่มีความผิด จำเลยที่2ถึงที่7เป็นเพียงผู้รับจ้างเข้าทำไร่มันสำปะหลังให้จำเลยที่1โดยสภาพพื้นที่เคยปลูกมันสำปะหลังมาก่อนจำเลยที่2ถึงที่7ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั้งโจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความว่าจำเลยที่1รู้ว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติและตามสภาพที่ดินก็ไม่มีต้นไม้ใหญ่กลับเป็นไร่มันสำปะหลังทั้งไม่มีป้ายแนวเขตว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติพฤติการณ์ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ทราบว่าที่เข้าไปก่นสร้างแผ้วถางเป็นป่าสงวนแห่งชาติเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำละเมิดเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
การที่โจทก์ทำหนังสือลงวันที่ 27 ตุลาคม 2526 ชี้แจงข้อเท็จจริงปฏิเสธข้อกล่าวหาของจำเลยไปยังกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในว่าโจทก์มิได้ประพฤติปฏิบัติตามที่จำเลยร้องเรียน แสดงว่าโจทก์รู้ตั้งแต่ก่อนหรืออย่างน้อยตั้งแต่วันที่27 ตุลาคม 2526 แล้วว่าจำเลยเป็นผู้ทำหนังสือร้องเรียนโจทก์โดยนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรกโจทก์จะต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน โจทก์ฟ้องคดีวันที่1 พฤษภาคม 2529 จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาความรุนแรงบาดแผลและเจตนาของผู้กระทำ
จำเลยฟันโจทก์ร่วม 2 ที โดยใช้มีดพร้าที่มีใบมีดยาวประมาณ 1 ศอก และด้ามยาวแขนเศษ แต่จำเลยฟันโดยโจทก์ร่วมมิได้ป้องกันหรือขัดขวางแต่อย่างใดเป็นโอกาสที่จำเลยจะเลือกฟันตามถนัด แม้บาดแผลที่เกิดขึ้นจะยาวหลายเซนติเมตร แต่เป็นการเกิดขึ้นจากความยาวของคมมีดพร้า บาดแผลที่บริเวณหูขวาและที่หน้าผากเหนือคิ้วซ้ายลึก 1/4 และ 1/2 เซนติเมตรตามลำดับสามารถรักษาให้หายภายใน 7 วัน แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ฟันโจทก์ร่วมอย่างรุนแรง พฤติการณ์เช่นนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาปล้นทรัพย์ ไม่ถือเป็นเจตนาฆ่า การกระทำยิงเป็นการกระทำส่วนตัวของผู้กระทำ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกเพียงแต่มีเจตนาจะมาปล้นทรัพย์เท่านั้นแม้จำเลยที่ 2 จะทราบว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนติดตัวมาด้วยก็ยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจำเลยที่ 1 จะต้องใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเสมอไป เมื่อจำเลยที่ 2 ยืนอยู่เฉย ๆ มิได้แสดงอาการใดให้ปรากฏว่าจะให้จำเลยที่ 1 ยิงผู้เสียหาย การที่จำเลยที่ 1 ยิงผู้เสียหายทั้ง ๆ ที่ผู้เสียหายมิได้ขัดขืน จึงเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 เองตามลำพังและโดยฉับพลันในขณะนั้นเอง แม้หลังจากเกิดเหตุแล้วจำเลยที่ 2 วิ่งหนีไปกับจำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ร่วมกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 พยายามฆ่าผู้เสียหาย.