พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดกิจกรรมบริการสังคมตาม ป.อ.มาตรา 56(1) ต้องคำนึงความเห็นผู้กระทำความผิด และกำหนดเวลาที่ชัดเจน
ตาม ป.อ.มาตรา 56 (1) การจัดให้ผู้กระทำความผิดกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์นั้น กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานและผู้กระทำความผิดเห็นสมควร หาใช่ตามที่เจ้าพนักงานเห็นสมควรฝ่ายเดียวไม่ และสมควรกำหนดเวลากระทำกิจกรรมให้ชัดเจนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา: การรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำความผิด
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ทำหนังสือถึงภริยาโจทก์เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2531 เล่าเรื่องเกี่ยวกับหนี้สินของโจทก์ โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามหนังสือมอบอำนาจวันที่ 5 ตุลาคม 2532 จำเลยที่ 1 นำที่ดินทั้งสามแปลงไปจำนองธนาคารเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2533 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2533นับจากวันฟ้องถึงวันจำนองเป็นเวลา 1 ปี 7 เดือน 4 วัน โดยมิได้บรรยายว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อใดอันจะเป็นเหตุทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: การบรรยายข้อเท็จจริงเรื่องความรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำความผิดที่ชัดเจน
จำเลยที่1ฎีกาว่าจำเลยที่1ทำหนังสือถึงภริยาโจทก์เมื่อวันที่26ตุลาคม2531เล่าเรื่องเกี่ยวกับหนี้สินของโจทก์โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามหนังสือมอบอำนาจวันที่5ตุลาคม2532จำเลยที่1นำที่ดินทั้งสามแปลงไปจำนองธนาคารเมื่อวันที่6ธันวาคม2533โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่11กันยายน2533นับจากวันฟ้องถึงวันจำนองเป็นเวลา1ปี7เดือน4วันโดยมิได้บรรยายว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อใดอันจะเป็นเหตุทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ฎีกาของจำเลยที่1จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้กระทำความผิดในชั้นฎีกาและการลดโทษตามกฎหมายอาญา
จำเลยอายุ 15 ปีเศษ ในขณะกระทำความผิด อันอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุของจำเลยมิได้ปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา แต่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และคดีนี้ได้ทำการพิจารณาโดยศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันถือได้ว่าเป็นการโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 แล้ว จึงไม่ต้องโอนคดีไปยังศาลเยาวชนและครอบครัว จำเลยกระทำความผิดขณะอายุยังไม่เกิน 17 ปี จึงต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำความผิดเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
หลังจากจำเลยนำเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์แล้ว จำเลยไม่ไปขายของและไม่นำดอกเบี้ยไปจ่ายให้โจทก์ โจทก์เข้าใจว่าจำเลยหลบหนีและฉ้อโกง วันที่ 6 มิถุนายน 2531 โจทก์จึงนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน อ้างว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่เหมือนและมีคำสั่งให้ระงับการจ่าย แสดงว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดมาตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแล้ว ความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์ แต่มาฟ้องคดีเกิน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15711/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ จำเลยต้องพิสูจน์ว่าไม่ใช่ผู้กระทำความผิดจริง หากโจทก์ฟ้องไม่ชัดเจน ศาลอาจยกฟ้อง
แม้การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 43 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 58 ในคำฟ้องข้อ 2.2 ถึงข้อ 2.5 และข้อ 2.6 ถึงข้อ 2.9 จะเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2555 เวลากลางวัน จนถึงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน และเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2553 เวลากลางวันจนถึงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน ตามลำดับ อันเป็นความผิด 2 กรรม ดังที่โจทก์อุทธรณ์ก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 2.2 ถึงข้อ 2.5 และข้อ 2.6 ถึงข้อ 2.9 ในส่วนที่เกี่ยวกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์ว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่ร้าน บ. และที่ร้าน น. อันได้มีไว้ในสถานที่ประกอบกิจการของตนซึ่งแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดีภาพยนต์และวีดิทัศน์ที่ไม่มีการแสดงเครื่องหมายการอนุญาต ประเภทของภาพยนตร์ และหมายเลขรหัสและไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์จำนวนกี่แผ่นเท่านั้น โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 43 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 58 ว่า ภาพยนตร์และวีดิทัศน์นั้นเป็นภาพยนตร์และวีดิทัศน์เรื่องใด จัดอยู่ในภาพยนตร์ประเภทใด เช่น เป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 (2) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์นั้นมีเนื้อหาที่เป็นการบ่อนทำลาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศไทยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคหนึ่ง และมาตรา 51 ประกอบมาตรา 29 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์นั้นมีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกับภาพยนตร์ที่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43 หรือเพื่อแสดงให้เห็นว่าวีดิทัศน์นั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับวีดิทัศน์ที่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 43 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 58 คำฟ้องของโจทก์ในข้อ 2.2 ถึงข้อ 2.5 และข้อ 2.6 ถึง ข้อ 2.9 จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดให้ครบองค์ประกอบของความผิดตามบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์ย่อมเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 43 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 58 ได้