คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้กระทำละเมิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความมีผลระงับสิทธิเรียกร้อง แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ได้ร่วมตกลง ผู้กระทำละเมิดยังต้องรับผิดชอบ
แม้ใบรับเงินค่าสินไหมทดแทนจะเป็นแบบฟอร์มที่บริษัทจำเลยที่ 2 จัดทำขึ้นเอง แต่เมื่อได้กรอกข้อความตามที่ตกลงกัน และโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงิน ใบรับเงินค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่แสดงว่าโจทก์ยอมรับเงินไปจากจำเลยที่ 2 จริง อันมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จสิ้นไปโดยต่างฝ่ายต่างยอมผันให้แก่กันด้วยความสมัครใจของโจทก์และจำเลยที่ 2
เอกสารใบรับเงินค่าสินไหมทดแทนเป็นข้อตกลงประนีประนอมยอมความและมีผลใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์ได้รับเงินไปตามข้อตกลงแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันระงับไปตามข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์และมิได้ร่วมตกลงด้วย จึงไม่อาจอาศัยเอกสารดังกล่าวต่อสู้โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเนื่องจากคดีมีทุนทรัพย์เพียง 20,250 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทั้งสองนำสืบก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การรับรู้ตัวผู้กระทำละเมิดและวันที่เริ่มนับอายุความ
โจทก์มีคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ 2193/2537 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2537 เรื่องการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทน (ด้านคดี) มีข้อความว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขจึงออกคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุขในการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญา เมื่อเกิดการทุจริตหรือเสียหายแก่ทรัพย์สินของสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่เกิดขึ้นในจังหวัดนั้น คำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงการออกคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งความเพื่อดำเนินคดีแทนโจทก์ เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการแจ้งความเท่านั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดมิใช่เป็นตัวแทนของโจทก์ในเรื่องอื่น ๆ ด้วย การที่รองผู้ว่าราชการจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ลงชื่อรับทราบรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง จึงไม่ใช่การลงชื่อในฐานะตัวแทนของโจทก์และถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดในวันดังกล่าว
รถยนต์ของโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2539 ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่ง ต่อมาวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบในทางแพ่ง ซึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นรักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นรับทราบรายงานเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2539 ต่อมาจังหวัดขอนแก่นส่งรายงานการสอบสวนไปให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขรักษาการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุขลงชื่อ รับทราบเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2539 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2539 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2540 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4025/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การนับอายุความเริ่มจากวันที่รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำละเมิด
จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2532 และวันที่ 9 ตุลาคม 2533 ตามลำดับ โจทก์ทราบมาโดยตลอดว่า ผู้กระทำละเมิดในครั้งนี้คือจำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 จึงต้องถือว่าค่าเสียหายเกี่ยวกับที่ดินและแผงค้าตามฟ้องที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 24 เมษายน 2539 เกิน 1 ปี แล้วเป็นอันขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7989/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการจัดซื้อหนังสือพิพาทโดยไม่ชอบ คดีไม่ขาดอายุความนับจากวันที่ทราบผู้กระทำละเมิด
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 9 และ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ.2534 มาตรา 9 ต่างก็บัญญัติว่า กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน และตามระเบียบของทางราชการ กระทรวงการคลังมีอำนาจทำความเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดฐานละเมิด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์เสนอความเห็นไปหรือไม่ และโจทก์มีอำนาจฟ้องตามความเห็นของกระทรวงการคลังได้ แม้เลขาธิการของโจทก์เคยมีความเห็นว่าไม่มีผู้รับผิดชอบทางแพ่งก็ตาม และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีอำนาจยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
หนังสือพิพาทไม่มีความจำเป็นต้องจัดซื้อโดยเร่งด่วน เนื่องจากได้จัดซื้อตอนกลางปีการศึกษา และไม่ใช่หนังสือภาคบังคับ ไม่จำเป็นตามหลักสูตรเพราะครูสามารถสอนนักเรียนได้โดยใช้คู่มือ จึงถือได้ว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดซื้อหนังสือ หากมีการล่าช้าในการจัดซื้อก็ไม่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอีกทั้งร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ฯ แต่ไม่เป็นหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิที่จะซื้อจากร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด แม้ผู้บังคับบัญชาของจำเลยทั้งสี่เคยมีหนังสือสั่งการไว้ว่าร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัด เป็นหน่วยราชการให้สนับสนุนกิจการร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ก็ตาม แต่ก็เป็นเพราะความผิดพลาดและเข้าใจผิด ทั้งหนังสือสั่งการดังกล่าวเป็นการแนะนำเท่านั้น ไม่ได้บังคับให้ต้องปฏิบัติตาม การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจัดซื้อหนังสือพิพาทโดยวิธีกรณีพิเศษตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2522 ข้อ 16 จึงไม่ชอบ เป็นการผิดระเบียบและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
การที่โจทก์ได้มีหนังสือสอบถามไปยังผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรีว่าได้ซื้อหนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หรือไม่ โดยจังหวัดราชบุรีได้ตอบโจทก์เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2524ก็เพื่อต้องการทราบเกี่ยวกับการจัดซื้อหนังสือเท่านั้น ยังไม่ทราบผู้ทำละเมิด ซึ่งจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนอีกชั้นหนึ่ง จึงนับอายุความจากวันที่จังหวัดราชบุรีแจ้งการจัดซื้อหนังสือดังกล่าวไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือจากกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 10 กันยายน 2533 ระบุชื่อผู้ทำละเมิดให้โจทก์ทราบและโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28 เดือนเดียวกัน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำละเมิดเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
จำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อกรมโจทก์ โจทก์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงทำการสอบสวนแล้วได้รายงานให้โจทก์ทราบว่าจำเลยทำละเมิดและจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ซึ่ง ธ. รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีโจทก์ได้บันทึกลงในรายงานฉบับนี้เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 ให้กองนิติการพิจารณาเสนอด้วย ธ. จึงทราบตามรายงานแล้วว่า จำเลยทำละเมิดและจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อ ธ. เป็นผู้แทนของโจทก์จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2536 แล้ว โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 เกิน 1 ปี จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของผู้ขายเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างส่งมอบ และอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิด
น. ซื้อสินค้าวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ ได้ชำระราคาแล้วและตกลงให้โจทก์จัดส่งสินค้าที่ซื้อไปยังภูมิลำเนาของ น.โจทก์จึงให้ลูกจ้างของตนขับรถยนต์บรรทุกสินค้าไปส่งระหว่างทางถูกรถยนต์ซึ่งจำเลยขับมาด้วยความประมาทเลินเล่อชนทำให้สินค้าเสียหายทั้งหมด ดังนั้น แม้กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่โจทก์ขายให้ได้ตกเป็นของ น. ในขณะทำสัญญาซื้อขายกันแล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้ น.เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้นเสียก่อน จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้ขายที่จะต้องรับผิดชอบต่อ น. เมื่อโจทก์ชำระราคาสินค้านั้นให้แก่ทายาทของ น. ไป โจทก์จึงเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ น. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 227 มาฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผูกพันของข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายและการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดและผู้ว่าจ้าง
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 นายจ้างไปในทางการที่จ้างชนท้ายรถยนต์ของโจทก์ซึ่ง ร. ภรรยาโจทก์เป็นผู้ขับได้รับความเสียหายต่อมาจำเลยที่ 1 ทำบันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายกับ ร. มีข้อความว่า จำเลยที่ 1ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่รถยนต์โจทก์เสียหายแก่ ร. จำนวน 30,990 บาท ร.ตกลงตามข้อเสนอของจำเลยที่ 1 และมีข้อความต่อไปว่าการตกลงครั้งนี้จะยังไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 จะคงผูกพันอยู่จนกว่า ร. จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ร. จึงจะไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ กับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 อีก แม้จำเลยที่ 2 มิได้ร่วมลงลายมือในบันทึกก็ตามแต่ข้อความตอนท้ายของบันทึกดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาของฝ่ายโจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 ยังไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ครบถ้วน โจทก์ก็ยังมิได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเสียหายให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ หนี้ในมูลละเมิดจึงยังไม่ระงับ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ และมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของทายาทต่อผู้กระทำละเมิดต่อการเสียชีวิตและทรัพย์สินของเจ้ามรดก
สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคแรก เป็นสิทธิของผู้ที่เป็นทายาทจะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิดทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายภายใต้บังคับมาตรา 1649 ส่วนสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแก่ทรัพย์สินของเจ้ามรดกเนื่องมาจากการกระทำละเมิดก็เป็นสิทธิของเจ้ามรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 และ 1600 เมื่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกซึ่งเป็นบิดารับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ตามมาตรา 1627 และย่อมมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1629 (1) จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพของเจ้ามรดกและค่าที่รถจักรยานยนต์ของเจ้ามรดกเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายจากการชนรถยนต์ที่เสียหายทั้งคัน ประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องจากผู้กระทำละเมิด
รถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกชนได้รับความเสียหายทั้งคันไม่สามารถจะซ่อมแซมได้ โจทก์ย่อมสามารถพิจารณาจ่าย ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยเต็มวงเงินที่ ประกันภัยไว้ได้หาจำต้องโต้แย้งค่าเสียหายไม่และเมื่อจ่ายแล้วโจทก์ย่อม รับช่วงสิทธิมาเรียกร้องจากผู้กระทำละเมิดและผู้ที่จะต้องร่วมรับผิดด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในสัญญาประกันภัยค้ำจุน: โจทก์ผู้กระทำละเมิดไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยผู้รับประกันภัยโดยตรง
สัญญาประกันภัยค้ำจุนคือสัญญาซึ่งผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดในความวินาศภัยที่เกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอกต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเมื่อโจทก์ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยและไม่ปรากฏว่าโจทก์มีนิติสัมพันธ์อันใดกับผู้เอาประกันภัยในอันที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของโจทก์ต่อบุคคลภายนอกโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชดใช้เงินที่โจทก์จ่ายเป็นค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกคืนได้
of 5