พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาค้ำประกัน, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และการชำระหนี้บางส่วนของผู้กู้
ตามสัญญากู้ฉบับแรก โจทก์มิได้มอบเงินที่กู้ให้แก่จำเลยที่ 1 รับไปในคราวเดียว แต่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเป็นคราว ๆ ตามความจำเป็น และคิดดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นคราวตามวันที่จ่ายจริง มิใช่นับแต่วันทำสัญญากู้เงินทั้งหมด และแม้ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 มาขอกู้เงินจากโจทก์เพิ่มอีกเป็นครั้งที่ 2 โจทก์ก็จ่ายเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะเดียวกัน ดังนั้นแม้ในสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 8 ทำไว้ต่อโจทก์จะมีข้อความในข้อ 1 วรรคสาม ระบุว่า "เนื่องจากการค้ำประกันตามวรรคแรกเป็นประกันหนี้ดังกล่าวข้างต้นในจำนวนหนี้ที่มีอยู่ก่อน หรือในขณะทำสัญญานี้และ/หรือที่จะมีขึ้นใหม่ภายหน้า ผู้ค้ำประกันและธนาคารจึงตกลงกันว่าในกรณีที่ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแล้ว ถ้าตราบใดธนาคารยังมิได้มีหนังสือแจ้งว่าผู้ค้ำประกันหมดภาระผูกพันตามสัญญาค้ำประกันฉบับนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันและธนาคารตกลงให้ถือว่าสัญญาค้ำประกันรายนี้ยังคงมีผลบังคับอยู่ เมื่อเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าหรือหนี้ใหม่ของลูกหนี้กับธนาคารต่อไปอีกด้วย" อันแสดงให้เห็นได้ว่า สัญญาค้ำประกันฉบับแรกเป็นการค้ำประกันถึงหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 อันมีผลใช้บังคับต่อผู้ค้ำประกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคสอง ก็ตาม แต่ลักษณะของสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ซึ่งผู้ค้ำประกันคือ จำเลยที่ 5 และที่ 6 และที่ 8 อาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 699 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 6 และที่ 8 ได้มีหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว ก่อนที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ฉบับที่ 2 กับโจทก์ สัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไป ส่วนจำเลยที่ 5 นั้น แม้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ฉบับที่ 2 แต่จำเลยที่ 5 เพิ่งมีหนังสือบอกเลิกการค้ำประกันเงินกู้จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินฉบับที่ 2 กับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงยังคงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อโจทก์ในหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญากู้เงินฉบับแรกอยู่ จำเลยที่ 6 และที่ 8 ในฐานะค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ฉบับแรกพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามฟ้องต่อโจทก์
การที่พยานหลักฐานโจทก์ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระต้นเงินทั้งสองคราวนั้น ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ค้างชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินต่อโจทก์แล้ว จึงได้นำเงินมาหักจากต้นเงินได้ และแม้ว่าการผ่อนชำระดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับใด ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับแรก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคสอง
การที่พยานหลักฐานโจทก์ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระต้นเงินทั้งสองคราวนั้น ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ค้างชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินต่อโจทก์แล้ว จึงได้นำเงินมาหักจากต้นเงินได้ และแม้ว่าการผ่อนชำระดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับใด ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับแรก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความทางแพ่งหลังผู้กู้เสียชีวิต: การพิจารณาอายุความสะดุดหยุดชะงักและการรู้ถึงการเสียชีวิต
เมื่อ ร. ลูกหนี้ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของ ร. จะต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้ มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสามและวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/23 ทั้งนี้เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย
การจะวินิจฉัยปัญหาว่าคดีโจทก์ถ้าขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้ายหรือไม่ จะต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเสียก่อนว่าโจทก์ได้ทราบเรื่อง ร. ถึงแก่ความตายเมื่อใด ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวจากพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 แต่อย่างใด ทั้งคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 31,056.50 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงใด ๆ ของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247
การจะวินิจฉัยปัญหาว่าคดีโจทก์ถ้าขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้ายหรือไม่ จะต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเสียก่อนว่าโจทก์ได้ทราบเรื่อง ร. ถึงแก่ความตายเมื่อใด ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวจากพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 แต่อย่างใด ทั้งคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 31,056.50 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงใด ๆ ของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2400/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ระหว่างบุคคลกับคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการ: ความรับผิดในฐานะผู้กู้
แม้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2530 ข้อ 13 กำหนดให้การปฏิบัติงานภายในส่วนราชการตามระเบียบนี้ถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการ และข้อ 21 ให้คณะกรรมการหรือผู้ที่ คณะกรรมการมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจก่อหนี้ผูกพันและอนุมัติการจ่ายเงินกองทุนสวัสดิการ แต่ระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นเพียงกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการเท่านั้น ไม่มีผลทำให้ คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบันนังสตามีสภาพเป็นนิติบุคคล ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสามกู้ยืมเงินจากโจทก์ในนามและในฐานะคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงาน การประถมศึกษาอำเภอบันนังสตา จึงไม่อาจทำสัญญากู้ยืมเงินแทนกองทุนดังกล่าว จำเลยทั้งสามลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงิน และได้รับต้นเงินกู้ไปจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าว และ แม้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2530 ข้อ 13 จะกำหนดให้การปฏิบัติงานสวัสดิการภายในส่วนราชการตามระเบียบนี้ให้ถือเป็นการปฏิบัติราชการก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดตามหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1759/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่ไม่มีฐานะนิติบุคคลผู้กู้ และการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบันนังสตาซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ในนามคณะกรรมการกองทุนดังกล่าว แม้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจะระบุคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบันนังสตาเป็นผู้กู้โดยมีจำเลยเป็นผู้ลงนามในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุน แต่เมื่อคณะกรรมการกองทุนดังกล่าวไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จะสามารถรับผิดต่อโจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกสำหรับกิจการที่จำเลยกระทำไปตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 820 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าทำสัญญาแทนตัวการที่มีตัวอยู่จริง จำเลยจึงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามลำพัง
การที่สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินแก่โจทก์จนครบถ้วน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 แม้ว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงินกันแล้วจำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไปไม่ แต่เมื่อสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรที่กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 652 จึงไม่อาจถือว่าวันหลังจากที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์เป็นวันที่จำเลยผิดนัด แต่ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
การที่สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินแก่โจทก์จนครบถ้วน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 แม้ว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงินกันแล้วจำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไปไม่ แต่เมื่อสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรที่กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 652 จึงไม่อาจถือว่าวันหลังจากที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์เป็นวันที่จำเลยผิดนัด แต่ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน: เอกสารระบุจำนวนเงินและลายมือชื่อผู้กู้เพียงพอแล้ว แม้ไม่ระบุชื่อผู้ให้กู้
สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรก อยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้วไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้
เอกสารฉบับพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงมีอำนาจฟ้อง แต่คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,812 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
เอกสารฉบับพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงมีอำนาจฟ้อง แต่คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,812 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดโฉนดที่ดินจากการกู้ยืมเงิน: กรรมสิทธิ์ร่วม & ความรับผิดชอบของผู้กู้
เมื่อ ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินแปลงพิพาทย่อมมีสิทธินำโฉนดที่ดินไปให้จำเลยยึดถือเพื่อเป็นหลักประกันในการที่ ป. กู้ยืมเงินจากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์และทายาทอื่น ๆ ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ป. ในที่ดินดังกล่าว จะไม่ได้รู้เห็นหรือให้ความยินยอม จำเลยก็ย่อมยึดถือโฉนดที่ดินไว้ได้จนกว่า ป. จะชำระหนี้ให้แก่จำเลย หากโจทก์หรือทายาทอื่นได้รับความเสียหายจากการกระทำของ ป. ก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกับ ป. ต่างหาก หาเกี่ยวกับจำเลยไม่ แม้จำเลยจะมีสิทธิบังคับคดีได้เฉพาะที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ป. ดังที่โจทก์อ้าง ก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี อันเป็นคนละเรื่องกับการที่จำเลยใช้สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินอันเนื่องมาจากการที่ ป. นำมามอบให้ยึดถือไว้ เพื่อประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการบังคับชำระหนี้: เมื่อเจ้าหนี้เลือกฟ้องผู้กู้แล้ว ผู้รับชำระหนี้แทนไม่อาจฟ้องเรียกเงินจากผู้อื่นได้
โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน และให้จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับเงินตามเช็คพิพาทเพื่อรับชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 ดังนี้ เป็นการที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดโดยการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแก่โจทก์ที่ 2 ผู้มีอำนาจชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 มูลหนี้จึงมีเฉพาะการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1เมื่อโจทก์ที่ 1 เลือกใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินกู้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทได้อีกเพราะไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนโจทก์ที่ 1อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้สัญญาถูกแก้ไขเป็นเท็จ หลักฐานการกู้ยืมเดิมยังใช้ได้ ผู้กู้ต้องรับผิดตามจำนวนที่กู้จริง
จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจากโจทก์30,000 บาท ต่อมาโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญาเป็น60,000 บาท โดยไม่เป็นความจริง จึงเป็นเอกสารปลอมสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ กู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิดให้โจทก์ไว้ แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้น ก็ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์ต้องเสียไป จึงชอบที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินเท่าที่จำเลยกู้ไปจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คและการเป็นเจ้าของเงินในเช็ค กรณีผู้กู้เป็นหนี้ผู้ให้กู้
ผู้เสียหายเป็นหนี้เงินยืมจำเลยอยู่ประมาณ 390,000 บาทต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนเครื่องพิมพ์กันครั้นถึงวันกำหนดส่งเครื่องพิมพ์จำเลยได้ให้พนักงานของจำเลยนำเครื่องพิมพ์ไปส่งให้แก่ผู้เสียหายที่โรงพิมพ์แต่ผู้เสียหายไม่ยอมรับเครื่องพิมพ์ของจำเลย เนื่องจากในวันเดียวกันนั้นผู้เสียหายได้ขายเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหายที่จะแลกเปลี่ยนกับจำเลยให้แก่ ป. ในราคา 1,200,000 บาทต่อมาในวันเดียวกันจำเลยจึงไปที่โรงพิมพ์ของผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายและจำเลยเจรจาตกลงกันแล้ว ป. ได้สั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 600,000 บาท ในนามจำเลยเป็นผู้รับเงินเพื่อเป็นค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหาย โดยมอบเช็คให้แก่จำเลย ส่วนเงินที่เหลืออีก 600,000 บาท ป.จะชำระให้แก่ผู้เสียหายในวันส่งมอบเครื่องพิมพ์พร้อมเอกสารสิทธิจำเลยได้นำเช็คที่ ป.สั่งจ่ายให้ไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้ว เมื่อปรากฏว่าในการชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเป็นผู้สั่งให้ ป.สั่งจ่ายเช็คชำระค่าซื้อเครื่องพิมพ์มอบให้จำเลย เป็นการชำระหนี้เงินที่ผู้เสียหายได้ยืมจำเลยไป การมอบเช็คให้แก่จำเลยรับไปดังกล่าวจึงเป็นการชำระหนี้เงินยืมจำเลยผู้รับมอบเช็คจึงเป็นเจ้าของเช็คและเป็นผู้ทรงเช็คในฐานะผู้รับชำระหนี้โดยชอบ มิใช่ในฐานะผู้รับมอบเช็คแทนผู้เสียหายหรือผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมในเช็คนั้นด้วยเมื่อจำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและได้รับเงินตามเช็คแล้วเงินตามเช็คที่เรียกเก็บได้ย่อมเป็นของจำเลย ผู้เสียหายไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในเงินตามเช็คดังกล่าว และผู้เสียหายก็ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ฝากเงินตามเช็คที่จำเลยได้รับจากการเบิก เพราะผู้เสียหายมิได้ส่งมอบเงินให้แก่จำเลยเพียงแต่มีข้อตกลง ให้จำเลยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินส่วนที่เหลือตามที่ผู้เสียหาย กล่าวอ้างให้แก่ผู้เสียหายเมื่อได้หักหนี้ยืมที่ผู้เสียหาย เป็นหนี้จำเลยแล้วเท่านั้น แม้จำเลยไม่คืนเงินส่วนที่เหลือ ตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้างและนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ก็อาจเป็นเพียงเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันโดยไม่มีการลงลายมือชื่อผู้กู้และขาดการปิดอากรแสตมป์ ทำให้สัญญานั้นใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
ช.ได้ทำสัญญากู้และมอบ น.ส.3 ซึ่งโจทก์เป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน แต่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้และมิได้ยอมรับว่ากู้เงินจากจำเลย ทั้งหนังสือมอบอำนาจตามที่จำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อยึดถือ น.ส.3 ดังกล่าวไว้ เป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์แต่สัญญากู้และหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้าย ป.รัษฎากรและขีดฆ่าแล้ว กรณีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ช.ไปกู้เงินจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะยึด น.ส.3 ของโจทก์ไว้เพื่อบังคับชำระหนี้แก่จำเลย