พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน่วยการขนส่งทางทะเล: การกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล
สินค้าพิพาทบรรจุอยู่ในกล่องหรือลังรวม 231 กล่อง บรรจุรวมอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์เดียว แสดงว่าแต่ละกล่องที่บรรจุสินค้ามีสภาพสามารถทำการขนส่งไปตามลำพังได้ จึงถือว่าแต่ละกล่องที่บรรจุสินค้าพิพาทเป็นหนึ่งหน่วยการขนส่งตามคำนิยามในมาตรา 3 พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ส่วนตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าพิพาทดังกล่าวถือเป็นภาชนะขนส่ง เมื่อสินค้าได้รับความเสียหาย 31 กล่อง และมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้เพียงหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง หรือกิโลกรัมละสามสิบบาทต่อน้ำหนักสุทธิแห่งของนั้นแล้วแต่เงินจำนวนใดจะมากกว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดเป็นเงินไม่เกิน 310,000 บาท ซึ่งมากกว่าจำนวนเงินที่คำนวณได้ตามน้ำหนักสุทธิแห่งสินค้านั้น เมื่อโจทก์ (ผู้รับประกันภัย) ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเป็นเงิน 188,631 บาท โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตัวแทน กรณีไม่ได้ฟ้องในฐานะผู้ขนส่งตามกฎหมายรับขนของทางทะเล
บทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่ว่า สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ นั้นเป็นเรื่องที่ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่งฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ส่งของว่าจ้างจำเลยดำเนินการจัดส่งสินค้าของโจทก์ไปให้ลูกค้าของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งที่ต่างประเทศ โดยโจทก์ฟ้องอ้างเหตุว่าจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ ให้จำเลยรับผิดเพราะจัดส่งเอกสารการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าของโจทก์ที่ปลายทางตามข้อตกลงล่าช้า ทำให้ลูกค้าของโจทก์ไม่ยอมรับสินค้า เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หาได้ฟ้องอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งทางทะเล และให้จำเลยรับผิดเพราะเหตุการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งสินค้าที่รับขนเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยในฐานะจำเลยเป็นผู้ขนส่งทางทะเลตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น จึงจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามมาตรา 46 ดังกล่าวมาใช้บังคับมิได้ เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ ก็ต้องนำบทบัญญัติเรื่องความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการเพราะไม่ทำการเป็นตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 และบทบัญญัติเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับ แต่เมื่อ ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องถือว่ากรณีนี้มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่ง, อายุความฟ้องร้อง, และการจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่สินค้าได้เสียหายและสูญหายไปในระหว่างการขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างประเทศไทยไปยังประเทศสเปนอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในฐานะตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนดังกล่าวแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศร่วมรับผิด โดยผลของ ป.พ.พ. มาตรา 824 จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศตามมาตรา 5 และมาตรา 7 (5) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ แม้ใบตราส่งจะระบุว่าต้องใช้กฎหมายของเมืองฮ่องกง แต่กรณีพิพาทเป็นการขนส่งทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งในราชอาณาจักรไปยังที่อีกแห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักร และปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ส่งของเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญารับขนของทางทะเลจึงต้องเป็น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะลฯ ตามมาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนในการสูญหายของสินค้า โดยมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าสินค้าแผ่นเหล็กจำนวน 1 แผ่นรอง น้ำหนัก 1,426 กิโลกรัม สูญหายไปโดยตู้สินค้าและดวงตราผนึกตู้อยู่ในสภาพปกติเรียบร้อย ทั้งในระหว่างการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุก รถบรรทุกจะนำตู้สินค้าหลบไปที่ใดก็ได้ การลักขโมยสินค้าน่าจะกระทำได้โดยสะดวกกว่าขณะตู้สินค้าอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ ณ ท่าเรือ อเล็กซานเดรีย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าสินค้าสูญหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ก่อนที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าไว้แก่เจ้าหน้าที่ ณ ท่าเรืออเล็กซานเดรีย จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดเพื่อความสูญหายดังกล่าว
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดแต่ลำพังตนเอง เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน ดังนี้ เมื่อตามใบตราส่งพิพาทข้อ 27 ได้กำหนดเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของตัวแทนไว้ เท่ากับผู้ขนส่งและผู้ส่งของตกลงยกเว้นความรับผิดไว้ ย่อมเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 824 ดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งหรือโจทก์
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดแต่ลำพังตนเอง เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน ดังนี้ เมื่อตามใบตราส่งพิพาทข้อ 27 ได้กำหนดเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของตัวแทนไว้ เท่ากับผู้ขนส่งและผู้ส่งของตกลงยกเว้นความรับผิดไว้ ย่อมเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 824 ดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งหรือโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมขยายเวลาไม่ถือเป็นการสละอายุความ และการคำนวณความรับผิดของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.รับขน
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าทุเรียน โดยทั้งสองฝ่ายคาดว่าสินค้าจะถึงดินแดนไต้หวันไม่เกินวันที่ 25 มีนาคม 2543 แต่เรือที่ใช้ขนส่งสินค้าเกิดขัดข้องกลางทางไม่สามารถเดินทางต่อได้ จึงขนส่งสินค้าพิพาทกลับและมีการสำรวจความเสียหายเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 หลังจากนั้นโจทก์และจำเลยที่ 1 เจรจาเรื่องค่าเสียหายกันเรื่อยมาโดยมีหนังสือโต้ตอบกัน หนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ตามเอกสารหมาย จ. 7 มีเนื้อความว่า " ยินยอมให้ขยายเวลาออกไป 3 เดือน จนถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2544" จากพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าหนังสือของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ. 7 ทำขึ้นก่อนระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาอันควรส่งมอบสินค้าพิพาทสิ้นสุดลง โดยทำขึ้นเพื่อให้มีผลบังคับผูกพันกันได้จริง ดังนั้น การตีความการแสดงเจตนานั้นตาม ป.พ.พ มาตรา 171 ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร จึงแปลเจตนาอันแท้จริงได้ว่าประสงค์จะให้มีผลเป็นหนังสือยินยอมว่าจะไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลภายในวันที่ 25 มิถุนายน 2544 และความยินยอมนี้ใช้บังคับกันได้ตาม พ.ร.บ. รับขนของทางทะเล ฯ มาตรา 47 ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ขาดอายุความ
ตามใบตราส่งระบุว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งเป็นทุเรียนสด จำนวน 1,260 กล่อง อันเป็นการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งที่รวมกันนั้นไว้ในใบตราส่ง ดังนี้ จึงต้องถือว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งมีจำนวนหน่วยการขนส่ง 1,260 หน่วย เมื่อคำนวณข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เป็นเงิน 12,600,000 บาท สูงกว่าการคำนวณตามน้ำหนักสินค้า 30 บาท ต่อน้ำหนักสุทธิ 1 กิโลกรัม โดยสินค้าพิพาทตามใบตราส่งมีน้ำหนักสุทธิ 13,860 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเพียง 415,800 บาท ต้องถือจำนวนข้อจำกัดความรับผิดจำนวนที่สูงกว่า แต่เมื่อความเสียหายของโจทก์มีเพียง 263,755.56 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินที่พึงจำกัดความรับผิดได้ตามกฎหมาย จึงต้องถือเอาตามความเสียหายนั้นตามมาตรา 58 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 263,755.56 บาท พร้อมดอกเบี้ยในหนี้เงินนี้อัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้อง
ตามใบตราส่งระบุว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งเป็นทุเรียนสด จำนวน 1,260 กล่อง อันเป็นการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งที่รวมกันนั้นไว้ในใบตราส่ง ดังนี้ จึงต้องถือว่าสินค้าพิพาทที่ขนส่งมีจำนวนหน่วยการขนส่ง 1,260 หน่วย เมื่อคำนวณข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งหนึ่งหมื่นบาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง เป็นเงิน 12,600,000 บาท สูงกว่าการคำนวณตามน้ำหนักสินค้า 30 บาท ต่อน้ำหนักสุทธิ 1 กิโลกรัม โดยสินค้าพิพาทตามใบตราส่งมีน้ำหนักสุทธิ 13,860 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเพียง 415,800 บาท ต้องถือจำนวนข้อจำกัดความรับผิดจำนวนที่สูงกว่า แต่เมื่อความเสียหายของโจทก์มีเพียง 263,755.56 บาท ต่ำกว่าจำนวนเงินที่พึงจำกัดความรับผิดได้ตามกฎหมาย จึงต้องถือเอาตามความเสียหายนั้นตามมาตรา 58 วรรคสอง จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 263,755.56 บาท พร้อมดอกเบี้ยในหนี้เงินนี้อัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนในการขนส่งทางทะเล ความเสียหายสินค้า
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่น เมื่อเหตุแห่งการเสียหายของสินค้ามิได้เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมาย จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดในการเสียหายของสินค้าตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39
ตัวแทนคนใดจะต้องรับผิดตามสัญญาแต่ลำพังตนเองนั้น จะต้องเป็นกรณีตัวแทนนั้นทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 824 ของ ป.พ.พ. แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนสายการเดินเรือซึ่งต่างเป็นตัวการซึ่งอยู่ในต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศก็ตาม แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนตัวการดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 824
ตัวแทนคนใดจะต้องรับผิดตามสัญญาแต่ลำพังตนเองนั้น จะต้องเป็นกรณีตัวแทนนั้นทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในประเทศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 824 ของ ป.พ.พ. แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนสายการเดินเรือซึ่งต่างเป็นตัวการซึ่งอยู่ในต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศก็ตาม แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนตัวการดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 824
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่ง โดยพิจารณาจากเงื่อนไขการส่งมอบและสาเหตุความเสียหาย
แม้ตามใบกำกับสินค้าจะมีข้อความระบุราคาเป็นราคา FOB ก็ตาม แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคู่สัญญาว่า ผู้ซื้อไม่ได้มีหน้าที่ว่าจ้างผู้ขนส่งให้นำเรือไปรับสินค้าจากผู้ขายหรือให้ผู้ขายช่วยว่าจ้างผู้ขนส่งแทน โดยผู้ซื้อออกค่าขนส่งเองตามเงื่อนไขของการซื้อขายแบบ FOB ดังกล่าวแต่อย่างใด อีกทั้งเมื่อผู้ซื้อพบว่าสินค้าเสียหายและส่งสินค้าคืนแก่บริษัท บ. ตามที่ผู้ขายจะปฏิเสธไม่รับสินค้าตามสิทธิที่กระทำได้หากเป็นการซื้อขายภายใต้เงื่อนไข FOB ดังกล่าว ซึ่งความเสี่ยงภัยในการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าได้ตกอยู่แก่ผู้ซื้อแล้ว เนื่องจากมีการขนสินค้าข้ามพ้นกราบเรือ ณ ท่าเรือต้นทางแล้ว แต่ผู้ขายก็ยอมรับสินค้าคืน ซึ่งส่อแสดงว่าคู่สัญญาดังกล่าวมิได้ถือปฏิบัติตามเงื่อนไข FOB เป็นเหตุให้เชื่อได้ว่าคู่สัญญาซื้อขายรายนี้ระบุข้อความคำว่า "FOB" เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับราคาสินค้าเพียงเพื่อใช้แสดงราคาเท่านั้น มิใช่มีข้อตกลงให้นำเรื่องหน้าที่และการโอนความเสี่ยงภัยตามเงื่อนไข FOB ของ INCOTERM มาใช้ด้วย ดังนั้น เมื่อสินค้าเสียหายผู้ขายจึงยังต้องรับผิด
เหตุแห่งความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นจากการที่น้ำทะเลท่วมเข้าไปถูกตู้สินค้าซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 4 จึงเป็นกรณีจำเลยร่วมที่ 4 ผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และแม้ความเสียหายของสินค้าจะเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยร่วมที่ 4 ผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งก็ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้านั้นด้วย ตามมาตรา 43 และจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลอื่นในการขนส่งสินค้าของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย สำหรับจำเลยร่วมที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นได้รับการมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้า เมื่อเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในช่วงการขนส่งที่จำเลยร่วมที่ 3 ได้รับมอบหมายจำเลยร่วมที่สามจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้านี้เช่นกัน
ค่าสำรวจความเสียหายถือได้ว่าเป็นผลจากความเสียหายของสินค้าที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดด้วย
เหตุแห่งความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นจากการที่น้ำทะเลท่วมเข้าไปถูกตู้สินค้าซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 4 จึงเป็นกรณีจำเลยร่วมที่ 4 ผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และแม้ความเสียหายของสินค้าจะเกิดขึ้นในระหว่างสินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยร่วมที่ 4 ผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งก็ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้านั้นด้วย ตามมาตรา 43 และจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลอื่นในการขนส่งสินค้าของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย สำหรับจำเลยร่วมที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นได้รับการมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้า เมื่อเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในช่วงการขนส่งที่จำเลยร่วมที่ 3 ได้รับมอบหมายจำเลยร่วมที่สามจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้านี้เช่นกัน
ค่าสำรวจความเสียหายถือได้ว่าเป็นผลจากความเสียหายของสินค้าที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7680/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางเรือเมื่อเกิดความเสียหายจากเหตุที่คาดหมายได้ และการจำกัดความรับผิดตามสัญญาประกันภัย
เมื่อปรากฏว่าเรือฉลอมลำเกิดเหตุซึ่งบรรทุกสินค้า 155 ถุง น้ำหนัก 186 ตัน จากที่สามารถบรรทุกน้ำหนักสูงสุดได้ 190 ตันเศษ ถูกนำไปจอดรวมกับเรืออีก 4 ลำ อยู่ที่ทุ่นกลางแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่จอดเรือเป็นทางเข้าออกของเรือเดินสมุทรหรือเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ ย่อมจะคาดหมายได้ว่าจะเกิดคลื่นขนาดใหญ่ได้ การที่เรือฉลอมบรรทุกสินค้าเต็มลำเรือเสมอกาบเรือโดยเรือพ้นจากผิวน้ำไม่เกิน 1 ศอก เมื่อถูกคลื่นขนาดใหญ่กระแทกน้ำย่อมเข้าเรือได้โดยง่าย ยิ่งนำไปผูกรวมกับเรืออื่น ๆ อีก 4 ลำ ทำให้เรือกระแทกกันเอง เพิ่มความรุนแรงในการกระแทกมากขึ้นและน้ำย่อมจะเข้าเรือได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ปรากฏว่าได้มีการระมัดระวังจัดการป้องกันมิให้น้ำเข้าเรือเมื่อโดนคลื่นขนาดใหญ่กระแทกอย่างไรบ้าง การนำเรือมาจอดที่ทุ่นจอดเรือและบรรทุกสินค้าไม่เกินพิกัดสูงสุดที่จะบรรทุกได้โดยไม่จัดการระมัดระวังป้องกันเป็นพิเศษอย่างใดเลย ไม่เป็นการป้องกันตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากผู้มีอาชีพขนส่งสินค้าทางเรือ แม้ว่าเมื่อเรือฉลอมดังกล่าวจมลง ผู้ควบคุมเรือได้ตัดเชือกที่ผูกโยงกับเรือลำอื่น ๆ ก็เป็นเพียงการป้องกันมิให้เรือลำอื่น ๆ ต้องจมลงไปด้วย มิใช่การป้องกันเรือลำเกิดเหตุ เรือฉลอมจมลงและสินค้าเสียหายจึงมิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: การที่ตัวแทนผู้ขนส่งยกอายุความมีผลถึงผู้ขนส่ง
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องในมูลสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งโจทก์ผู้ส่งฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งและจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 จำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าถึงท่าเรือนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2541 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การ มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 และมาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อปรากฏว่าคดีขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การ มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 และมาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อปรากฏว่าคดีขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: จำเลยเป็นผู้ขนส่งจริงหรือไม่
จำเลยตกลงรับขนสินค้าและเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่บริษัท บ. ใบจองระวางเรือก็ปรากฏว่าเป็นแบบฟอร์มที่จำเลยจัดเตรียมให้แก่ผู้ส่ง โดยข้อตกลงในเรื่องการชำระค่าระวางที่กำหนดไว้ในใบตราส่งระบุว่า Freight prepaid แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้รับบำเหน็จค่าระวางเรืออันเนื่องมาจากการขนส่งสินค้านี้แล้ว นอกจากนี้จำเลยยังเป็นนิติบุคคลอันมีวัตถุประสงค์คือประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในการที่จำเลยทำสัญญากับบริษัท บ. จำเลยก็ไม่ได้มีการแจ้งหรือสำแดงไว้แต่ประการใดว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ขนส่งรายใด ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่ง ตามคำนิยามคำว่า "ผู้ขนส่ง" ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ