พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อบุคคลภายนอกแม้ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต และการวางค่าฤชาธรรมเนียม
ตามกรมธรรม์ จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ค่าทดแทนในนามของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใด ๆ แต่ก็มีข้อสัญญาพิเศษว่า จำเลยร่วมจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ประกันภัยหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิด เมื่อจำเลยร่วมได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์ต่อจำเลยที่ 2 เพราะเป็นกรณีซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ต้องใช้เงินจำนวนที่จำเลยร่วมได้จ่ายไปคืนให้แก่จำเลยร่วม ซึ่งมีความหมายว่า กรณีที่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันเกิดจากการขับขี่ของบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใด ๆ จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 แต่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในจำนวนเงินที่จำกัดความรับผิดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย แล้วไปไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ไม่เกินวงเงินประกันที่จำกัดความรับผิดไว้
เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันโดยจำเลยที่ 2 แยกยื่นอุทธรณ์อีกฉบับต่างหาก จึงต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งเป็นความรับผิดในมูลละเมิดโดยผลของกฎหมาย ส่วนจำเลยร่วมถูกจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นความรับผิดในมูลสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และความรับผิดของจำเลยร่วมจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เป็นการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ และเพื่อเป็นประกันการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางไม่ได้ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวาง และหากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่วางไว้คืนได้ ซึ่งจำเลยร่วมได้ใช้สิทธิขอเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืนไปแล้วด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน ไม่ขัดต่อมาตรา 229 และ 162 คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันโดยจำเลยที่ 2 แยกยื่นอุทธรณ์อีกฉบับต่างหาก จึงต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งเป็นความรับผิดในมูลละเมิดโดยผลของกฎหมาย ส่วนจำเลยร่วมถูกจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นความรับผิดในมูลสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และความรับผิดของจำเลยร่วมจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เป็นการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ และเพื่อเป็นประกันการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางไม่ได้ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวาง และหากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่วางไว้คืนได้ ซึ่งจำเลยร่วมได้ใช้สิทธิขอเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืนไปแล้วด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน ไม่ขัดต่อมาตรา 229 และ 162 คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถต่อผู้รับประกันภัยเมื่อผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต และการบังคับใช้สิทธิจากสัญญาประกันภัย
จำเลยผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 18.10 โดยไม่ระมัดระวังปล่อยให้ พ. บุตรชายนำรถยนต์คันดังกล่าวที่โจทก์รับประกันภัยไว้ออกไปขับและยอมให้ บ. ซึ่งไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์เป็นผู้ขับรถ ทั้งตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์บังคับให้จำเลยรับผิดในฐานผิดสัญญาประกันภัย มิใช่เป็นการใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 31 โจทก์ซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 121,428 บาท ให้แก่ทายาทของผู้ประสบภัยและผู้ประสบภัยไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 19 และไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 16
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากประกันภัยค้ำจุน จำเป็นต้องระบุผู้เอาประกันภัยและความสัมพันธ์กับผู้ขับขี่
สัญญาประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 กำหนดให้ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อเมื่อเป็นวินาศภัยซึ่งผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อ ฉ. ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของบทบัญญัติดังกล่าว การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 9 จ-กรุงเทพมหานคร ขอให้ร่วมรับผิดในผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ค้นที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยโดยประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย แต่โจทก์หาได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยและมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันนี้มีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับ ฉ. ผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย คำฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่จะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2 โดยไม่อาศัยคำฟ้องหาได้ไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ความยินยอมผู้ขับขี่ทำให้ผู้ขับขี่เสมือนผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัท น. จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยมีข้อตกลงว่า บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง... ซึ่งแม้ข้อตกลงดังกล่าวจะแตกต่างกับ ป.พ.พ. มาตรา 887 ซึ่งผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เป็นโมฆะและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย แม้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขับขี่รถยนต์ต่อโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยชนกับรถของโจทก์โดยละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์และนั่งมาในรถยนต์ด้วย จึงฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมของจำเลยที่ 2 ให้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัย จึงต้องถือเสมือนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยตามข้อตกลงในกรมธรรม์ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถยนต์และทำละเมิดเอง จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงต้องร่วมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ผลผูกพันเมื่อผู้ขับขี่ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย แต่ได้รับความยินยอม
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 3 เป็นบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันภัยและเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันดังกล่าว จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ โดยขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติว่า "อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้น คือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ" แต่ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.6 มีข้อตกลงว่า "บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง?" ซึ่งแม้จะแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เป็นโมฆะและใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย และแม้ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ด้วย แต่เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์และนั่งมาในรถยนต์ด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมของจำเลยที่ 2 ให้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัย จึงต้องถือเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 1 เป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.6 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถยนต์และทำละเมิดเอง จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในคดีชนแล้วหนี: การพิสูจน์ความประมาทและเหตุสุดวิสัยของผู้ขับขี่
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาพบค่ำ รถที่วิ่งบนถนนทุกคันเปิดไฟแล้ว แสดงว่าถนนมืดรถจักรยานยนต์ที่ ส. ขับไม่มีไฟหน้า ไฟเลี้ยวก็ใช้การไม่ได้ ทั้งก่อนขับรถมีการดื่มสุรามาบ้างแล้ว จุดที่รถจักรยานยนต์เลี้ยวกลับเป็นทางลงเนินอยู่ในช่องเดินรถของจำเลย เชื่อได้ว่าเมื่อจำเลยขับรถยนต์กระบะลงเนินแล้ว จำเลยเห็นรถจักรยานยนต์เลี้ยวกลับในช่องเดินรถของตนในระยะกระชั้นชิด ทำให้ไม่สามารถบังคับรถยนต์ให้หยุดได้ทันท่วงทีการที่รถยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์เป็นเหตุให้ ส. และโจทก์ร่วม ที่นั่งซ้อนท้ายมาได้รับอันตรายสาหัส จึงมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาททางถนน: ผู้ขับชนท้ายต้องรับผิดชอบหากไม่ใช้ความระมัดระวังแม้ผู้ถูกชนกลับช่องทางไม่ปลอดภัย
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน ขณะที่คนขับรถยนต์คันที่บริษัทโจทก์รับประกันภัยไว้ขับรถแซงรถคันหน้าขึ้นไปแล้วกลับเข้ามาในช่องเดินรถเดิม จำเลยซึ่งขับรถอยู่ห่างจากรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ทางด้านหลัง ย่อมมองเห็นตลอดเวลาและควรใช้ความระมัดระวังชะลอความเร็วของรถลงเนื่องจากเป็นเวลาหลังฝนตกถนนลื่น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ การที่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้แล่นกลับเข้ามาในช่องเดินรถเดิมและอยู่ห่างรถยนต์ที่จำเลยขับประมาณ2 เมตร แต่จำเลยไม่สามารถห้ามล้อหยุดรถได้ทัน เป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยขับชนท้ายรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ แสดงว่าจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายประมาทยิ่งกว่าคนขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายสองในสามส่วนให้แก่โจทก์ที่รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่ง และเหตุสุดวิสัยของผู้ขับขี่ ทำให้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหาย
การที่บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ส่ง กับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งได้ตกลงกันชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดของ จำเลยที่ 2 ที่ไม่รับประกันความเสียหายของสินค้าที่ส่งข้อตกลงยกเว้นความรับผิดดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 และมีผลให้บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ส่งไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้เอา ประกันภัยเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัททั้งสองไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัททั้งสอง แต่หาอาจก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัททั้งสองมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกกระจกที่โจทก์รับประกันภัยความเสียหายไว้จากบริษัทผู้ส่งมาถึงที่เกิดเหตุ มีรถยนต์บรรทุกกระบะพ่วงขับแซงรถของจำเลยที่ 1 ขึ้นไปแต่แซงยังไม่พ้น แล้วหักหัวรถตัดหน้ารถจำเลยที่ 1 กะทันหัน จำเลยที่ 1 จึงหักหัวรถหลบไปทางซ้าย แต่หักมากไม่ได้เพราะติดราวสะพาน แล้วจำเลยที่ 1 หักหัวรถมา ทางขวาเข้าช่องทางปกติ เชือกซึ่งยึดกระจกที่บรรทุกมาขาด ทำให้กระจกไปตีกระบะด้านซ้ายหักกระจกแตกเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวจึงฟังได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกกระจกที่โจทก์รับประกันภัยความเสียหายไว้จากบริษัทผู้ส่งมาถึงที่เกิดเหตุ มีรถยนต์บรรทุกกระบะพ่วงขับแซงรถของจำเลยที่ 1 ขึ้นไปแต่แซงยังไม่พ้น แล้วหักหัวรถตัดหน้ารถจำเลยที่ 1 กะทันหัน จำเลยที่ 1 จึงหักหัวรถหลบไปทางซ้าย แต่หักมากไม่ได้เพราะติดราวสะพาน แล้วจำเลยที่ 1 หักหัวรถมา ทางขวาเข้าช่องทางปกติ เชือกซึ่งยึดกระจกที่บรรทุกมาขาด ทำให้กระจกไปตีกระบะด้านซ้ายหักกระจกแตกเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวจึงฟังได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขับขี่ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แม้ไม่ใช่ความผิดตนเอง ต้องให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุ
กรณีที่รถเก๋งที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกหกล้อที่จำเลยที่ 2 ขับสวนทางกัน รถทั้งสองคันได้รับความเสียหายแม้ว่าความเสียหายนั้นจะมิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของจำเลยที่ 2 ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 หลบหนี ไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร ทั้งไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับไว้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9747/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การยกเว้นความรับผิดจากผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต และสิทธิของผู้รับประกันภัยในการเรียกคืนค่าเสียหาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีเพียงมาตรา 15 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าวที่ว่า "กรมธรรม์ประกันภัย? ซึ่งมีข้อความระบุถึงความรับผิดของบริษัทแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ใน บทแห่งพระราชบัญญัตินี้ บริษัทจะยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหาย เบื้องต้นมิได้" เท่านั้น มิได้มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขความรับผิดระหว่างผู้รับประกันภัยและ ผู้เอาประกันภัยในกรณีอื่น ๆ ไว้แต่ประการใด และตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 16 ข้อสัญญาพิเศษที่ระบุว่า โจทก์จะไม่ยกเอาข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์เป็นข้อต่อสู้ผู้ประสบภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิด ตามกรมธรรม์อันไม่เป็นการแตกต่างขัดกันกับบทบัญญัติมาตรา 15 ดังกล่าว ดังนั้น เงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิด ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 ที่ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิ ตามกฎหมายในการขับรถในเวลาเกิดอุบัติเหตุ จึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 โดยยินยอมให้ ส. ซึ่ง ไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์เป็นผู้ขับรถในขณะเกิดเหตุ และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ บ. ผู้ประสบภัยไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยจึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ได้