พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ขายเดิมในการคัดค้านการเวนคืน
แม้นาง ต.ได้ซื้อบ้านพิพาทจากนาง ม.โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ ต่อมานาง ต.ได้ขายบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายไว้ต่อกัน และเมึ่อซื้อบ้านพิพาทดังกล่าวแล้วโจทก์ได้เช่าที่ดินซึ่งบ้านพิพาทตั้งอยู่จากนาง ข.เพื่ออยู่อาศัยตลอดมา ถือว่า โจทก์ได้รับมอบการครอบครองบ้านพิพาทจากผู้ขาย และได้เข้าครอบครองแล้ว ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา1367 การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุตรนาง ม.เจ้าของบ้านพิพาทเดิมมิได้ครอบครองบ้านดังกล่าวไปคัดค้านการจ่ายเงินทดแทนการเวนคืนบ้านพิพาทจากกรมทางหลวงจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนคำคัดค้านและห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องกับบ้าน-พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ทรัพย์สินขายฝากสงวนเฉพาะผู้ขายเดิม/ผู้รับโอนสิทธิ/ผู้ที่ระบุในสัญญาเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 บุคคลที่จะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต้องเป็นผู้ขายเดิม ทายาทผู้ขายเดิม ผู้รับโอนสิทธิหรือบุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้ เป็นการกำหนดตัวผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินไว้โดยเฉพาะเจาะจงแล้ว โจทก์มิใช่บุคคลที่มีสิทธิในการไถ่ที่ดินพิพาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้นแม้โจทก์จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ขายฝากหรือไม่ก็ตาม โจทก์จะอ้างเหตุว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสและขอใช้สิทธิไถ่ที่พิพาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่การขายฝาก: กำหนดเฉพาะผู้ขายเดิม, ทายาท หรือผู้รับโอน/ได้รับอนุญาตตามสัญญา
ผู้มีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 497ได้แก่ ผู้ขายเดิม หรือทายาทผู้ขายเดิม ผู้รับโอนสิทธินั้นหรือบุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะ ว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้ กฎหมายกำหนดตัวผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินไว้โดยเฉพาะ เจาะจงแล้ว แม้โจทก์จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ขายฝากหรือไม่ก็ตามหามีสิทธิไถ่ถอนที่ดินพิพาทไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ทรัพย์สินขายฝากสงวนเฉพาะผู้ขายเดิม/ผู้รับโอนสิทธิ/ผู้ที่ระบุในสัญญาเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 บุคคลที่จะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต้องเป็นผู้ขายเดิมทายาทผู้ขายเดิมผู้รับโอนสิทธิหรือบุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้เป็นการกำหนดตัวผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินไว้โดยเฉพาะเจาะจงแล้ว โจทก์มิใช่บุคคลที่มีสิทธิในการไถ่ที่ดินพิพาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้นแม้โจทก์จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ขายฝากหรือไม่ก็ตามโจทก์จะอ้างเหตุว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสและขอใช้สิทธิไถ่ที่พิพาทหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนใบอนุญาตจัดสรรที่ดินไม่ตัดสิทธิผู้ซื้อในการฟ้องร้องความชำรุดบกพร่องจากผู้ขายเดิม
ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 บัญญัติเรื่องการโอนใบอนุญาตจัดสรรที่ดินไว้ในมาตรา 38 กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินยื่นคำขอต่อคณะกรรมการตามแบบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าการโอนนั้นไม่เป็นที่เสียหายแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร และธนาคารหรือสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตามมาตรา 24 หรือมาตรา 43 วรรคสอง ได้ยินยอมด้วยแล้ว ให้คณะกรรมการอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอน แม้มาตรา 39 บัญญัติผลแห่งการโอนใบอนุญาตว่า "เมื่อได้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอนแล้ว ให้บรรดาสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตกไปยังผู้รับโอน" ก็ตาม แต่เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรรโดยเฉพาะการได้สิทธิในที่ดินจัดสรรและการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ดังจะเห็นได้จากการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดสรรที่ดินในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคไว้ในมาตรา 43 ส่วนบ้านเรือนที่ปลูกสร้างในที่ดินที่จัดสรรย่อมเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ซึ่งยังคงมีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาซื้อขายกับผู้ขาย หาได้โอนไปตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งโอนไปเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในฐานะผู้ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน แต่ไม่หมายรวมถึงสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ตามข้อสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ภายในบังคับของ ป.พ.พ. ต่างหากจาก พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ดังนั้นบรรดาสิทธิ หน้าที่และความรับผิดที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับดังกล่าวจึงยังคงมีอยู่ทุกประการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ได้ เมื่ออาคารพาณิชย์ที่จำเลยที่ 1 ขายให้แก่โจทก์มีความชำรุดบกพร่อง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์