พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนอง: อำนาจผู้จัดการกองทุน, สิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิ, และประเด็นดอกเบี้ยที่ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาปฏิเสธคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองของผู้ร้องว่าเคลือบคลุม แต่โจทก์ก็ไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าคำร้องส่วนไหนเคลือบคลุม เคลือบคลุมอย่างไร จึงไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย แม้ศาลล่างจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และถือว่าไม่ใช่ประเด็นที่ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ผู้ร้องจึงต้องมีผู้จัดการกองทุนเพื่อดำเนินการต่างๆ แทน ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 124 วรรคสอง เมื่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินกิจการของผู้ร้องจึงมีอำนาจดำเนินการต่างๆ แทนผู้ร้อง
คำร้องขอรับชำระหนี้จำนองมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่าผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์ที่โจทก์ยึดไว้ในคดีที่มีการบังคับคดีในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิหรือไม่ ฎีกาของโจทก์ในประเด็นเรื่องดอกเบี้ยที่ว่าผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าไร จึงไม่เป็นสาระที่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกา
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ผู้ร้องจึงต้องมีผู้จัดการกองทุนเพื่อดำเนินการต่างๆ แทน ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 124 วรรคสอง เมื่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินกิจการของผู้ร้องจึงมีอำนาจดำเนินการต่างๆ แทนผู้ร้อง
คำร้องขอรับชำระหนี้จำนองมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่าผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์ที่โจทก์ยึดไว้ในคดีที่มีการบังคับคดีในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิหรือไม่ ฎีกาของโจทก์ในประเด็นเรื่องดอกเบี้ยที่ว่าผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าไร จึงไม่เป็นสาระที่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลกรณีฟ้องแทนกองทุนรวม: ศาลวินิจฉัยให้คิดค่าขึ้นศาลแยกตามทุนทรัพย์ของแต่ละกองทุน
กองทุนรวมทั้งสี่กองทุนตามฟ้องเป็นกองทุนรวมที่จดทะเบียนแล้ว จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันและแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 124 วรรคสอง ผลประโยชน์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมแต่ละกองทุนไปลงทุน ย่อมตกแก่กองทุนรวมแต่ละกองทุนตามส่วนของเงินที่นำไปลงทุน แม้หุ้นกู้แต่ละกองทุนเป็นหุ้นกู้ที่จำเลยเสนอขายแก่โจทก์ในคราวเดียวกัน แต่โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ที่นำทรัพย์สินของกองทุนรวมทั้งสี่กองทุนไปลงทุน โดยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นผลตอบแทนเท่านั้น มิใช่เป็นผู้ซื้อหุ้นกู้ของจำเลยเอง มูลหนี้ที่เกิดจากการซื้อขายหุ้นกู้ตามฟ้องของแต่ละกองทุนรวมจึงมิได้เกี่ยวข้องกัน แม้โจทก์ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจากจำเลยเป็นรายกองทุนรวม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19436/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างกรณีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การโอนเงินและการรับผิดชอบของนายจ้างและผู้จัดการกองทุน
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท ย. ต่อมาบริษัท ย. ขายแผนกไดเวอร์ซี่ลีเวอร์ให้จำเลยที่ 1 ทำให้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัท ย. สิ้นสุดลงโดยไม่ได้มีสาเหตุอันเกิดจากโจทก์ บริษัท ย. จึงจ่ายเงินผลประโยชน์ เมื่อออกจากงานในช่วงก่อนดำรงตำแหน่งผู้จัดการและเงินสมทบที่บริษัท ย. จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน ย. พร้อมดอกผลให้โจทก์ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัท ย. เงินทั้งสองจำนวนจึงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ที่ได้รับเมื่อออกจากการเป็นลูกจ้างของบริษัท ย. เมื่อโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์มีคำสั่งให้บริษัท ย. โอนเงินผลประโยชน์เมื่อออกจากงานในช่วงก่อนดำรงตำแหน่งผู้จัดการไปยังจำเลยที่ 1 และโอนเงินสมทบพร้อมดอกผลที่บริษัท ย. จ่ายให้ตามสัญญาจ้างไปยังกองทุนจำเลยที่ 2 (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จำเลยที่ 1 และลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จัดตั้งขึ้น) เพื่อนำเงินทั้งสองจำนวนมาใช้ประกอบการคำนวณผลประโยชน์เมื่อโจทก์ออกจากงาน จึงไม่ใช่การโอนทรัพย์สินที่เป็นเงินทั้งสองจำนวนให้เป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต้นเงินทั้งสองจำนวนยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ลงโทษเลิกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินผลประโยชน์เมื่อออกจากงานในช่วงก่อนดำรงตำแหน่งผู้จัดการให้โจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนของจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้โจทก์
เงินสมทบพร้อมดอกผลที่บริษัท ย. จ่ายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างและโจทก์มีคำสั่งให้บริษัท ย. โอนมายังกองทุนจำเลยที่ 2 เป็นเงินที่โจทก์จ่ายเข้ากองทุนจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายเข้ากองทุนจำเลยที่ 2 เงินจำนวนนี้จึงอยู่ในส่วนเงินสะสมของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง ไม่ใช่ส่วนเงินสมทบของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้พร้อมดอกผลแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 3 ส่งคืนเงินนั้นให้จำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิด
กองทุนจำเลยที่ 2 จดทะเบียนแล้วจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 การเรียกเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้วต้องฟ้องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้วเป็นจำเลยให้จ่ายเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลให้ไม่ว่าได้มีการจ่ายเงินและดอกผลคืนให้แก่นายจ้างไปแล้วหรือไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินพร้อมดอกผลให้โจทก์
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุคดีนี้บัญญัติว่า "เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน โดยให้จ่าย..." จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนของจำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินสมทบพร้อมดอกผลที่โจทก์มีคำสั่งให้บริษัท ย. โอนมายังกองทุนจำเลยที่ 2 จากกองทุนจำเลยที่ 2 มาจ่ายให้โจทก์ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้จำนวนนี้ จำเลยที่ 2 จึงยังไม่หลุดพ้นจากหนี้นั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินจำนวนนี้อันเป็นเงินสะสมพร้อมดอกผลให้โจทก์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันสิ้นสุดสมาชิกภาพตามข้อบังคับของกองทุนจำเลยที่ 2 กองทุนจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด การจ่ายเงินออกจากกองทุนจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการกองทุนจำเลยที่ 2 ต้องดำเนินการจ่ายเงินออกจากกองทุนจำเลยที่ 2 ให้โจทก์เป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้คำพิพากษามีผลระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
เมื่อจำเลยที่ 1 ลงโทษเลิกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินผลประโยชน์เมื่อออกจากงานในช่วงก่อนดำรงตำแหน่งผู้จัดการให้โจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนของจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้โจทก์
เงินสมทบพร้อมดอกผลที่บริษัท ย. จ่ายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างและโจทก์มีคำสั่งให้บริษัท ย. โอนมายังกองทุนจำเลยที่ 2 เป็นเงินที่โจทก์จ่ายเข้ากองทุนจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายเข้ากองทุนจำเลยที่ 2 เงินจำนวนนี้จึงอยู่ในส่วนเงินสะสมของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง ไม่ใช่ส่วนเงินสมทบของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้พร้อมดอกผลแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 3 ส่งคืนเงินนั้นให้จำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิด
กองทุนจำเลยที่ 2 จดทะเบียนแล้วจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 การเรียกเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้วต้องฟ้องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้วเป็นจำเลยให้จ่ายเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลให้ไม่ว่าได้มีการจ่ายเงินและดอกผลคืนให้แก่นายจ้างไปแล้วหรือไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินพร้อมดอกผลให้โจทก์
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุคดีนี้บัญญัติว่า "เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน โดยให้จ่าย..." จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนของจำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินสมทบพร้อมดอกผลที่โจทก์มีคำสั่งให้บริษัท ย. โอนมายังกองทุนจำเลยที่ 2 จากกองทุนจำเลยที่ 2 มาจ่ายให้โจทก์ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้จำนวนนี้ จำเลยที่ 2 จึงยังไม่หลุดพ้นจากหนี้นั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินจำนวนนี้อันเป็นเงินสะสมพร้อมดอกผลให้โจทก์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันสิ้นสุดสมาชิกภาพตามข้อบังคับของกองทุนจำเลยที่ 2 กองทุนจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด การจ่ายเงินออกจากกองทุนจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการกองทุนจำเลยที่ 2 ต้องดำเนินการจ่ายเงินออกจากกองทุนจำเลยที่ 2 ให้โจทก์เป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้คำพิพากษามีผลระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31