พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเงินโดยผู้จัดการธนาคารร่วมกับผู้อื่น โดยทุจริตและฝ่าฝืนคำสั่งของธนาคาร
การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์ร่วมได้อนุมัติให้จ่ายเงิน 5,870,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในขณะที่ยังไม่ทราบผลการเรียกเก็บเงินตามเช็ค 2 ฉบับ รวมเงินจำนวน 7,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 2นำเข้าบัญชีเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงิน อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ร่วมที่สั่งให้งดจ่ายเงินในกรณีที่ลูกค้าเอาเช็คเข้าบัญชีโดยยังไม่ทราบผลของการเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น เชื่อ ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้อนุมัติจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยทุจริตโดยคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อเอาเงินของโจทก์ร่วม จึงมีความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 353.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677-1678/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกสหภาพแรงงาน: ผู้จัดการธนาคารสาขาไม่มีอำนาจลงโทษ/ให้บำเหน็จโดยตรง จึงมีสิทธิเป็นสมาชิกสหภาพได้
การสอบสวนวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยของธนาคารออมสินมิใช่เป็นการประชุมที่ทางราชการกำหนด การที่สหภาพแรงงานธนาคารออมสินโจทก์ส่งผู้แทนเข้าสังเกตการณ์การสอบสวนดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 102 ผู้แทนโจทก์ที่เข้าสังเกตการณ์จึงไม่มีสิทธิลาโดยไม่ถือเป็นวันลา
ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการให้บำเหน็จหรือการลงโทษที่ต้องห้ามมิให้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 95 วรรคสองนั้น หมายถึงผู้มีอำนาจในการให้บำเหน็จความชอบหรือเป็นผู้มีอำนาจลงโทษลูกจ้างโดยตรง มิใช่เป็นเพียงผู้รายงานขอบำเหน็จความชอบหรือเสนอขอให้ลงโทษหรือกล่าวโทษพนักงานผู้กระทำผิดวินัย
ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการให้บำเหน็จหรือการลงโทษที่ต้องห้ามมิให้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 95 วรรคสองนั้น หมายถึงผู้มีอำนาจในการให้บำเหน็จความชอบหรือเป็นผู้มีอำนาจลงโทษลูกจ้างโดยตรง มิใช่เป็นเพียงผู้รายงานขอบำเหน็จความชอบหรือเสนอขอให้ลงโทษหรือกล่าวโทษพนักงานผู้กระทำผิดวินัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677-1678/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการธนาคารสาขา ไม่ถือเป็นผู้มีอำนาจให้บำเหน็จ/ลงโทษ จึงมีสิทธิเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้
การสอบสวนวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยของ ธนาคารออมสิน มิใช่เป็นการประชุมที่ทางราชการกำหนด การที่สหภาพแรงงานธนาคารออมสินโจทก์ส่งผู้แทนเข้าสังเกตการณ์การสอบสวนดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 102ผู้แทนโจทก์ที่เข้าสังเกตการณ์จึงไม่มีสิทธิลาโดยไม่ถือเป็นวันลา ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการให้บำเหน็จหรือการลงโทษที่ต้องห้ามมิให้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา95 วรรคสองนั้น หมายถึงผู้มีอำนาจในการให้บำเหน็จความชอบหรือเป็นผู้มีอำนาจลงโทษลูกจ้างโดยตรง มิใช่เป็นเพียงผู้รายงานขอบำเหน็จความชอบหรือเสนอขอให้ลงโทษหรือกล่าวโทษพนักงานผู้กระทำผิดวินัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จัดการธนาคารต่อการยักยอกเงินของพนักงาน: ละเมิด ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน
จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารออมสินสาขา ขออนุมัติให้พนักงานบัญชีใต้บังคับบัญชาลงรายการในแบบบัญชีรับจ่ายแทนโดยขอรับผิดชอบโดยไม่มีข้อโต้แย้งเมื่อมีการทุจริตผิดพลาด เจ้าหน้าที่ของธนาคารโจทก์อนุมัติ ดังนี้เป็นการปฏิบัติภายในวงงาน ไม่ใช่มุ่งผูกนิติสัมพันธ์ก่อสิทธิ ไม่เป็นสัญญาค้ำประกัน การที่พนักงานบัญชียักยอกเงินไป จำเลยรับผิดในฐานละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1977/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินของธนาคารโดยผู้จัดการ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 และการเรียกร้องดอกเบี้ย
1. การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้
(อ้างฎีกาที่ 890/2503)
2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้วแต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาลเช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้
3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว
4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319
(ข้อ 2 โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)
(อ้างฎีกาที่ 890/2503)
2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้วแต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาลเช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้
3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว
4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319
(ข้อ 2 โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1977/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินของธนาคารโดยผู้จัดการสาขา, การฟ้องเรียกดอกเบี้ย, และการพิจารณาโทษตามกฎหมายอาญามาตรา 354
1. การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้ (อ้างฎีกาที่ 890/2503) 2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาล เช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้ 3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว 4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319 (ข้อ 2 โดยประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดีของผจก.ธนาคาร: การมอบหมายอำนาจไม่ใช่การทำนิติกรรม แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิสูจน์
การที่ผู้จัดการธนาคารอุตสาหกรรมยื่นคำร้องขอหรือคำฟ้องต่อศาลนั้น ไม่ใช่เป็นการทำนิติกรรมของธนาคารอุตสาหกรรมและทั้งไม่ใช่เป็นการตั้งตัวแทนของธนาคารอุตสาหกรรมด้วย หากเป็นแต่ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่า คณะกรรมการธนาคารอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ผู้จัดการทำการยื่นคำร้องขอหรือคำฟ้องในคดีได้หรือไม่ เอกสารต่าง ๆ ที่ธนาคารอุตสาหกรรมซึ่งเป็นโจทก์ส่งต่อศาล จึงเป็นแต่เพียงพยานหลักฐาน เบื้องต้นแห่งการมอบหมายให้ดำเนินคดี ไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจหรือการตั้งตัวแทนอันจะต้องทำตามแบบ ถ้าจำเลยต้องการโต้แย้งว่า ผู้จัดการธนาคารอุตสาหกรรมไม่ได้รับมอบหมายให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เป็นหน้าที่ของผู้อ้างเอกสาร และผู้ปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงแห่งเอกสารนั้น จะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบให้เห็นประจักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจผู้จัดการธนาคารในการดำเนินคดี และข้อยกเว้นการเสียอากรแสตมป์
การที่ผู้จัดการธนาคารอุตสาหกรรมยื่นคำร้องขอหรือคำฟ้องต่อศาลนั้น ไม่ใช่เป็นการทำนิติกรรมของธนาคารอุตสาหกรรมและทั้งไม่ใช่เป็นการตั้งตัวแทนของธนาคารอุตสาหกรรมด้วย หากเป็นแต่ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่า คณะกรรมการธนาคารอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ผู้จัดการทำการยื่นคำร้องขอหรือคำฟ้องในคดีได้หรือไม่ เอกสารต่างๆ ที่ธนาคารอุตสาหกรรมซึ่งเป็นโจทก์ส่งต่อศาล จึงเป็นแต่เพียงพยานหลักฐานเบื้องต้นแห่งการมอบหมายให้ดำเนินคดี ไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจหรือการตั้งตัวแทนอันจะต้องทำตามแบบ ถ้าจำเลยต้องการโต้แย้งว่าผู้จัดการธนาคารอุตสาหกรรมไม่ได้รับมอบหมายให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เป็นหน้าที่ของผู้อ้างเอกสารและผู้ปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงแห่งเอกสารนั้น จะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบให้เห็นประจักษ์