พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อคุ้มครองประโยชน์ผู้ถือหุ้นข้างมาก กรณีพิพาทเกี่ยวกับอำนาจกรรมการ
จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อยเป็นผู้บริหารดำเนินกิจการของบริษัทที่พิพาท โดยจำเลยทั้งสองร่วมกับบุคคลภายนอกปลอมรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติปลดโจทก์ที่ 6 ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทที่พิพาทและตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 6 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหกมีเหตุสมควรที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อบริหารกิจการในระหว่างการพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 และโดยที่โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมาก การกำหนดสัดส่วนของผู้จัดการฝ่ายโจทก์ทั้งหกให้มีจำนวน 5 คนให้ร่วมกับจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการเพื่อบริหารบริษัทที่พิพาทเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณานั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คนลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คนลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค - ผู้ทรงเช็คที่แท้จริง - ผู้จัดการบริษัท
จำเลยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ให้แก่บริษัท ก.ซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการ บริษัท ก.จึงเป็นผู้ทรงเช็ค โจทก์ในฐานะส่วนตัวไม่ใช่ผู้ทรงเช็ค. เมื่อธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงฐานะเท็จเพื่อฉ้อโกง: จำเลยแสดงตนเป็นผู้จัดการบริษัทแต่ไม่เข้าข่ายความผิดตาม ม.342(1) และหลอกลวงเฉพาะผู้เสียหายรายเดียว
1. จำเลยไม่ได้แสดงตนเป็นคนอื่น แต่เป็นเพียงแสดงฐานะของตนเองเป็นเท็จเท่านั้น ย่อมไม่ผิดฐานแสดงตนเป็นคนอื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 (1)
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2505
2. จำเลยมิได้หลอกประชาชน หากแต่หลอกผู้เสียหายคนเดียวเท่านั้น ย่อมผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ไม่ใช่มาตรา 343 วรรคต้น
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2505
2. จำเลยมิได้หลอกประชาชน หากแต่หลอกผู้เสียหายคนเดียวเท่านั้น ย่อมผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ไม่ใช่มาตรา 343 วรรคต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการบริษัท โดยไม่ได้พิสูจน์ว่าจำเลยกระทำผิดด้วยตนเอง ทำให้ลงโทษไม่ได้
เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพฯ เรื่องควบคุมการค้าซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจฯ (ฉบับที่ 3)2494ลงวันที่ 18 ม.ค. 2494 ข้อ 4,5
หน้าฟ้องโจทก์ระบุชื่อจำเลยไม่ได้ระบุชื่อบริษัทในคำบรรยายฟ้องกล่าวถึงบริษัทอยู่บ้าง แต่ก็เป็นเพียงแสดงให้ทราบว่าจำเลยผู้ที่ถูกฟ้องนั้นเป็นผู้จัดการบริษัทจึงเป็นอันว่าจากหน้าฟ้องก็ตาม จากคำบรรยายฟ้องก็ตามโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวของจำเลย และฟ้องไม่ได้หาว่าจำเลยจัดคนให้เลื่อยไม้ เมื่อคำพยานไม่มีเลยว่าจำเลยเป็นผู้เลื่อยไม้เช่นนี้ลงโทษจำเลยไม่ได้
หน้าฟ้องโจทก์ระบุชื่อจำเลยไม่ได้ระบุชื่อบริษัทในคำบรรยายฟ้องกล่าวถึงบริษัทอยู่บ้าง แต่ก็เป็นเพียงแสดงให้ทราบว่าจำเลยผู้ที่ถูกฟ้องนั้นเป็นผู้จัดการบริษัทจึงเป็นอันว่าจากหน้าฟ้องก็ตาม จากคำบรรยายฟ้องก็ตามโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวของจำเลย และฟ้องไม่ได้หาว่าจำเลยจัดคนให้เลื่อยไม้ เมื่อคำพยานไม่มีเลยว่าจำเลยเป็นผู้เลื่อยไม้เช่นนี้ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการบริษัทในการลงนามสัญญา แม้มีข้อจำกัดอำนาจกรรมการ และค่าเสียหายที่แท้จริง
แม้ข้อบังคับของบริษัทจะมีระบุไว้ว่ากรรมการผู้มีชื่อคนหนึ่งแต่ผู้เดียวมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราผูกพันบริษัทได้ก็ตาม ก็เป็นข้อบังคับในเรื่องอำนาจของกรรมการ ถ้าไม่มีข้อห้ามไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว ผู้จัดการของบริษัทก็อาจที่จะลงนามในสัญญาผูกมัดบริษัทได้ ดังตัวอย่างฎีกาที่ 645/2486 และ 892/2486
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10832/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยสุจริตของผู้จัดการบริษัทในการเปลี่ยนกุญแจห้องพักของอดีตพนักงาน ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
โจทก์ร่วมทั้งสี่เข้าพักอาศัยในห้องที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ชั้นสองของอาคารที่ตั้งบริษัท ร. เนื่องจากโจทก์ร่วมที่ 1 เคยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ส่วนโจทก์ร่วมที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทและเป็นพนักงานของบริษัท ห้องพักของโจทก์ร่วมทั้งสี่ย่อมอยู่ในความครอบครองของบริษัท ร. โดยโจทก์ร่วมทั้งสี่อาศัยสิทธิของบริษัทพักอาศัยในฐานะพนักงานของบริษัทเท่านั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการบริษัท มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปของบริษัท เปลี่ยนกุญแจห้องพักของโจทก์ร่วมทั้งสี่รวมถึงเปลี่ยนกุญแจตามจุดต่างๆ ในบริษัทตามคำสั่งของ ว. กรรมการผู้จัดการบริษัท เนื่องจากขณะเกิดเหตุมีทรัพย์สินของบริษัทสูญหาย จึงเป็นการกระทำในนามของบริษัทเพื่อดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบริษัทด้วยความสุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาบุกรุก และโจทก์ร่วมทั้งสี่ก็ไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองห้องพิพาทที่อ้างว่าจำเลยเข้าไปรบกวนการครอบครอง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362