พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7377/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ทายาทเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมในคดีแบ่งมรดก เนื่องจากผู้จัดการมรดกดำเนินการแทนทายาททั้งหมดแล้ว
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งถือเป็นการดำเนินการเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่ง และเป็นการดำเนินการในฐานะตัวแทนของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคนอยู่แล้ว การที่ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นทายาทขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมอีกก็มีแต่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการดำเนินคดีโดยมิได้ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ผู้ร้องสอดเองก็ไม่สามารถใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่โจทก์มีอยู่ และจะใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หาได้ไม่ ส่วนกองมรดกได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของโจทก์เพียงใด ผู้ร้องสอดก็สามารถดำเนินการเพื่อเรียกร้องเอาจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1720 แห่ง ป.พ.พ. ได้อยู่แล้ว กรณียังไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องสอดจะร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนฟ้องคดีอาญาที่ยอมความได้ของผู้จัดการมรดกของผู้เสียหาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน กรณีผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท เมื่อได้ความตามคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ว่า บรรดาทายาททุกคนของผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย จึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาและเมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาตกทอดแก่ทายาท ผู้จัดการมรดกมีสิทธิถอนคำร้องได้ แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่ง ป.วิ.อ.มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน กรณีผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท เมื่อได้ความตามคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ว่าบรรดาทายาททุกคนของผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย จึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามตามกฎหมาย: โมฆะ และไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
ขณะที่ผู้ร้องและ ป. ผู้ตายทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันนั้น ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินมีข้อกำหนดห้าม ป. โอนที่ดินไปยังบุคคลอื่นภายในสิบปีตาม ป. ที่ดิน มาตรา 31 และยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่ว่าผู้ร้องจะครอบครองนานเพียงใด ผู้ร้องก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง และถึงแม้ว่าผู้ตายตกลงจะโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้ว ก็ไม่อาจทำได้เช่นกัน ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกของผู้ตายที่จะบังคับให้โอนที่ดินแปลงดังกล่าวแก่ผู้ร้อง และถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ และสิทธิในการถอดถอนผู้จัดการมรดกที่ตกทอดไปยังทายาท
ผู้คัดค้านและ น. เป็นบุตรของ ม. และผู้ร้อง ม. เคยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. เนื่องจากผู้ร้องขายที่ดินทรัพย์มรดกของ น. และเก็บเงินไว้แต่เพียงผู้เดียวทำให้ ม. และผู้คัดค้านเสียหาย ต่อมา ม. ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านได้ขอเข้ารับมรดกความแทนที่ ม. แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวของ ม. ผู้คัดค้านไม่สามารถเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้ จึงไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ม.ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องอ้างเหตุเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ผู้คัดค้านยังไม่ได้สืบสิทธิของ ม. ในการรับมรดกของ น.และเหตุตามคำร้องมิได้เป็นเรื่องที่โต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านมาเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าเป็นเหตุให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. หรือไม่ ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยก่อนว่า เหตุตามคำร้องเป็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของ ม. ที่จะตกทอดไปยังผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้มีอำนาจยกขึ้นอ้างเพื่อถอดถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ศาลได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีที่ ม. ยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ศาลถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. นั่นเอง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ข้อกำหนดที่ชัดเจน/ไม่ชัดเจน, การตกเป็นโมฆะ, และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมข้อ 2 ได้กำหนดยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่ผู้รับพินัยกรรมแล้ว เพียงแต่ให้ผู้รับพินัยกรรมนำผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินดังกล่าวไปก่อตั้งมูลนิธิซึ่งเป็นกรณีที่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจะดำเนินการต่อไปหลังจากทรัพย์มรดกตกเป็นของผู้รับพินัยกรรม และมรดกได้ก่อเกิดผลประโยชน์แล้ว ข้อกำหนดตามพินัยกรรมข้อนี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3)
ข้อความตามข้อกำหนดในข้อ 3 นั้นระบุว่าเงินสดยกให้ ส. และผู้ร้องเป็นผู้ดูแล จากข้อความดังกล่าวกำหนดให้ผู้ร้องและ ส. เป็นเพียงผู้ดูแลเท่านั้นหาได้ยกกรรมสิทธิ์เงินสดดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องและ ส. ไม่ และไม่ได้กำหนดโดยชัดแจ้งว่ายกเงินสดดังกล่าวให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดจำนวนมากน้อยเพียงใดข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) (3)
เมื่อข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 ตกเป็นโมฆะ ทรัพย์มรดกส่วนนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1699 ผู้ร้องมิได้เป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกจึงสมควรตั้งผู้คัดค้านทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกทรัพย์มรดกซึ่งเป็นเงินฝากไว้ที่ธนาคารกับทรัพย์มรดกอื่นฝ่ายเดียว
ข้อความตามข้อกำหนดในข้อ 3 นั้นระบุว่าเงินสดยกให้ ส. และผู้ร้องเป็นผู้ดูแล จากข้อความดังกล่าวกำหนดให้ผู้ร้องและ ส. เป็นเพียงผู้ดูแลเท่านั้นหาได้ยกกรรมสิทธิ์เงินสดดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องและ ส. ไม่ และไม่ได้กำหนดโดยชัดแจ้งว่ายกเงินสดดังกล่าวให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดจำนวนมากน้อยเพียงใดข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) (3)
เมื่อข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 ตกเป็นโมฆะ ทรัพย์มรดกส่วนนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1699 ผู้ร้องมิได้เป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกจึงสมควรตั้งผู้คัดค้านทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกทรัพย์มรดกซึ่งเป็นเงินฝากไว้ที่ธนาคารกับทรัพย์มรดกอื่นฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อน และการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วและคดีอยู่ในระหว่างไต่สวน ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้อีกเพราะเป็นการร้องซ้อนกับคำร้องขอที่ตนได้ยื่นไว้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึงที่สุดตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีก แม้จะมีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียก่อน
แม้ผู้คัดค้านจะเพิ่งยกเรื่องคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายในคดีก่อนขึ้นอ้างในฎีกาโดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาก่อน แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องหรือร้องขอเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
แม้ผู้คัดค้านจะเพิ่งยกเรื่องคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายในคดีก่อนขึ้นอ้างในฎีกาโดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาก่อน แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องหรือร้องขอเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้อน-อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก: ศาลล่างผิดที่ตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อนหลังมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งถึงที่สุดแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้อีกขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านกับขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกด้วย คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเป็นการร้องซ้อนกับคำร้องขอที่ตนได้ยื่นไว้แล้วต้องห้ามมิให้ผู้คัดค้านร้องขอในเรื่องเดียวกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ส่วนคำร้องขอของผู้ร้องนั้น เมื่อมรดกรายนี้มีคำสั่งถึงที่สุดตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้อีก เนื่องจากเหตุจะสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น ไม่ใช่ประเด็นคดีนี้ ผู้ร้องชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเสียก่อน คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ตั้งผู้จัดการมรดกรายเดียวกันนี้อีกจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาเจตนาเจ้ามรดกและความสัมพันธ์กับทายาท
กฎหมายบัญญัติเรื่องการตั้งผู้จัดการมรดกไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง ว่า การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร เมื่อได้ความว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรคนโตของผู้ตายไม่ค่อยได้ติดต่อกับผู้ตาย รวมทั้งไม่ได้ไปร่วมในงานบำเพ็ญกุศลของผู้ตาย โดยผู้ร้องพักอาศัยอยู่กับยายตั้งแต่เล็กและแต่งงานแยกครอบครัวไปตั้งแต่ปี 2509 แสดงว่าผู้ร้องค่อนข้างมีความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกับผู้ตาย การที่จะให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกน่าจะไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดกผู้ตาย กอปรกับผู้ร้องก็รับว่าทายาทผู้ตายมีความเห็นแตกต่างเป็นสองฝ่าย อีกทั้งผู้ร้องมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและไม่น่าไว้วางใจ ทำให้มีเหตุเชื่อว่าหากตั้งผู้ร้องให้ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว การจัดการมรดกน่าจะไม่ราบรื่นและไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดก การตั้งผู้คัดค้านแต่ฝ่ายเดียวให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงน่าจะเหมาะสมกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกไม่ตกเป็นโมฆะ แม้ผู้จัดการมรดกไม่ได้ระบุทรัพย์สินทั้งหมด การปิดบังทรัพย์สินเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง
โจทก์ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยมิได้ระบุว่ามีที่ดิน 2 แปลงด้วย แต่ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด และตามคำร้องก็ระบุเพียงว่า ผู้ร้องไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบก เพื่อโอนซื้อผู้ครอบครองรถยนต์กระบะเป็นของทายาทตามเจตนาของเจ้าของมรดก แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าต้องมีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อนเท่านั้นโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ระบุว่านอกจากทรัพย์สินดังกล่าว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นอีก จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดินดังกล่าวอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองถูกกำจัดมิให้ได้มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605