พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พรบ.บริษัทจำกัด กรณีผู้จัดการสาขาละเว้นการลงบัญชีและรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินโดยมิชอบ
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมไม่จัดให้มีหลักประกันคุ้มกับจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยปกปิดไม่ขออนุมัติโจทก์ร่วมและปฏิเสธว่าไม่ได้ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่จัดให้มีการจดแจ้งการรับอาวัลลงในสมุดทะเบียนไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัล ไม่ใช่เป็นการทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลงตัดทอน หรือปลอมบัญชีเอกสารหรือหลักประกันของโจทก์ร่วม จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42(1)
สมุดทะเบียนหนังสือค้ำประกัน และสมุดบัญชีภาระในการรับรองตั๋วเงินของธนาคารโจทก์ร่วม เป็นเอกสารบัญชีหรือเอกสารของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ร่วมมีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและดำเนินธุรกิจในสาขาซึ่งรวมถึงการสั่งให้พนักงานลงบัญชีหรือเรียกบัญชีมาตรวจสอบ จึงถือได้ว่าจำเลยมีหน้าที่ลงบัญชีด้วยการที่จำเลยลงชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่มีหลักประกัน ไม่ขออนุมัติจากโจทก์ร่วมตามระเบียบ ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัลและไม่ลงบัญชีเพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมสามารถตรวจสอบได้ จึงเป็นการละเว้นไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีโดยมีเจตนาเพื่อลวงให้โจทก์ร่วมขาดประโยชน์อันควรได้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ. 2499 มาตรา 42(2)
สมุดทะเบียนหนังสือค้ำประกัน และสมุดบัญชีภาระในการรับรองตั๋วเงินของธนาคารโจทก์ร่วม เป็นเอกสารบัญชีหรือเอกสารของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ร่วมมีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและดำเนินธุรกิจในสาขาซึ่งรวมถึงการสั่งให้พนักงานลงบัญชีหรือเรียกบัญชีมาตรวจสอบ จึงถือได้ว่าจำเลยมีหน้าที่ลงบัญชีด้วยการที่จำเลยลงชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่มีหลักประกัน ไม่ขออนุมัติจากโจทก์ร่วมตามระเบียบ ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัลและไม่ลงบัญชีเพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมสามารถตรวจสอบได้ จึงเป็นการละเว้นไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีโดยมีเจตนาเพื่อลวงให้โจทก์ร่วมขาดประโยชน์อันควรได้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ. 2499 มาตรา 42(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ไม่ผูกพันข้อเท็จจริงที่ผู้จัดการสาขาทราบ หนี้เกิดก่อนรู้สถานะลูกหนี้ ไม่ต้องห้ามขอรับชำระ
ผู้จัดการสาขามิใช่ผู้แทนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้นข้อเท็จจริงใดที่ผู้จัดการสาขารับรู้หาผูกพันให้เจ้าหนี้ต้องรับรู้ไม่ เมื่อกรรมการผู้จัดการของเจ้าหนี้ไม่รู้ถึงการก่อหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระในคดีนี้ หนี้ดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งทำงานล่วงเวลาของผู้ช่วยผู้จัดการสาขาเมื่อผู้จัดการสาขาไม่อยู่ ถือว่ามีอำนาจสั่งได้ตามข้อบังคับธนาคาร
ตาม ข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้อำนาจผู้จัดการสาขาเป็นผู้อนุมัติให้พนักงานทำงานล่วงเวลาได้ การที่ผู้ช่วยผู้จัดการสาขามีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานล่วงเวลา ในวันที่ผู้จัดการสาขาไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่นั้น ถือ ว่าผู้ช่วยผู้จัดการสาขาสั่งในฐานะ ผู้จัดการสาขา เมื่อข้อบังคับของจำเลยมิได้กำหนดอำนาจผู้ช่วยผู้จัดการสาขาว่าผู้ช่วยผู้จัดการสาขาทำการแทนผู้จัดการสาขาจะสั่งการเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลาไม่ได้หรือจะต้อง ได้ รับมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนจึงจะสั่งได้ ดังนี้ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาทำการแทนผู้จัดการสาขาจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์ไปทำงานล่วงเวลาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่ได้รับอนุมัติและไม่มีหลักประกัน ความรับผิดของผู้จัดการสาขาและผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ให้ ส. ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ได้ทำหนังสือสัญญาและไม่มีหลักประกัน ทั้งไม่ได้รับอนุมัติจากโจทก์ตามระเบียบ เป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ การที่โจทก์ยังไม่ฟ้อง ส. ให้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหาย เพราะหนี้รายนี้ไม่มีหลักประกัน ในการที่โจทก์จะฟ้อง ส. ให้ชำระหนี้คืนแก่โจทก์โจทก์จะต้องพิจารณาทางได้เสียในทุก ๆ ทาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของสาขาบริษัทต่างประเทศ: ผู้จัดการสาขาต้องได้รับมอบอำนาจเฉพาะเจาะจง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศออสเตรเลีย แต่มีสาขาอยู่ในประเทศไทย โดยมี อ.ผู้รับมอบอำนาจคดีนี้เป็นผู้จัดการสาขาในกรุงเทพมหานคร แสดงว่า อ.ไม่ใช่ผู้จัดการบริษัทโจทก์ในประเทศออสเตรเลีย อ. จึงไม่ใช่ผู้แทนนิติบุคคลตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดี ดังนี้ อ. ซึ่งเป็นเพียงผู้จัดการสาขาของบริษัทโจทก์ในประเทศไทย จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 925/2503)
ในคดีฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากร เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลจะกำหนดไว้ในคำพิพากษาว่า ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาก็ได้.
ในคดีฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากร เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลจะกำหนดไว้ในคำพิพากษาว่า ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาก็ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จัดการสาขาธนาคารต่อการอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจ และอายุความฟ้องคดี
จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์ได้อนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดต่อระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์การที่จำเลยรายงานยอดบัญชีไปให้โจทก์ทราบทุกสิ้นเดือนทุกหกเดือนและทุกสิ้นปีโดยแจ้งชื่อลูกหนี้และประเภทหนี้รวมทั้งการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีด้วยนั้นการรายงานดังกล่าวเป็นเพียงการรายงานตามที่โจทก์วางระเบียบไว้เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนรายงานกิจการที่ได้กระทำไปต่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการแม้โจทก์ทราบการกระทำของจำเลยที่ผิดระเบียบแล้วไม่ทักท้วงคัดค้านก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ให้สัตยาบันในการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดต่อระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์ ฟ้องโจทก์ที่กล่าวว่าจำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์จำเลยกระทำการเกินอำนาจของผู้จัดการสาขามิได้ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์และคำสั่งของโจทก์โดยเคร่งครัดเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนให้รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการในการที่จำเลยกระทำการนอกเหนืออำนาจที่โจทก์มอบหมายตามป.พ.พ.มาตรา812มีอายุความ10ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการสาขาธนาคารกับการได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของจำเลย การที่ โจทก์มีอำนาจออกคำเตือนพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นหนังสือและพนักงานที่ถูกคำเตือน 3 ครั้งจะไม่ได้ขึ้นเงินเดือนก็ตาม แต่เมื่อหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ เป็นเพียงมีผลให้ผู้ถูกคำเตือนอยู่ในเกณฑ์ที่จะไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนจากผู้มีอำนาจในการนี้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีอำนาจทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษ และแม้โจทก์จะเป็นผู้เสนอขอเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ก็มิใช่เป็นผู้มีอำนาจที่จะเลื่อนชั้นเงินเดือน 2 ขั้น จึงถือไม่ได้อีกว่าโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการให้บำเหน็จ ส่วนกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์เป็นตัวแทนในการจ้างลูกจ้างนั้น โจทก์ต้องมีอำนาจทำการแทนนายจ้างโดยตรง มิใช่เป็นกรณีผ่านการพิจารณาโดยผู้มีอำนาจมาก่อน ซึ่งผู้มีอำนาจในการรับลูกจ้างเข้าทำงานนี้ได้แก่คณะกรรมการของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง ดังนั้น โจทก์มิใช่ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ทำการแทนนายจ้าง ตามข้อ 36(1) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ และมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1677-1678/2526) เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด การที่จำเลยมีระเบียบกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไม่มีผลบังคับ โจทก์เบิกค่าทำงานในวันหยุด จำเลยให้โจทก์คืนเงินโดยอ้างว่าเบิกไม่ถูกต้อง โจทก์จึงคืนเงินนั้นแก่จำเลย ดังนี้ กรณีมิใช่เป็นเรื่อง จงใจผิดนัดในการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดที่คืนไป จำเลยตอบปฏิเสธ ถือได้ว่า จำเลยผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้า ต่อปีตามข้อ 31 วรรคแรก นับแต่วันที่ จำเลยตอบปฏิเสธ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเลิกจ้าง: ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจเลิกจ้างแทนบริษัทได้ การสั่งห้ามทำงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
หนังสือที่ ด. ผู้จัดการดูแลอู่ซ่อมรถยนต์สาขาของบริษัทจำเลยมีถึง พ. ผู้จัดการดูแลอู่ซ่อมรถยนต์ของบริษัทจำเลยที่สำนักงานใหญ่เพียงประสงค์ให้บริษัทจำเลยดำเนินการทางวินัยต่อโจทก์และไม่ยอมให้โจทก์ทำงานที่เดิมต่อไปเท่านั้น บริษัทจำเลยเป็นนิติบุคคลการเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นอำนาจของผู้มีอำนาจกระทำการแทนหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้กระทำการแทน ไม่ปรากฏว่า ด. ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทน จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นนายจ้าง ไม่มีอำนาจที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่ ด. ไม่ยอมให้โจทก์ทำงานอยู่ที่เดิมเป็นเพียงเรื่องระหว่างพนักงานบริษัทจำเลยด้วยกันเองเท่านั้น ประกอบทั้งเมื่อ พ.ได้รับหนังสือดังกล่าว ก็ได้ให้ ท. ผู้จัดการฝ่ายบุคคลพบโจทก์เพื่อปรึกษาหารือกัน แต่ยังตกลงกันไม่ได้โจทก์ก็นำคดีมาฟ้องเสียก่อน และแม้จะเป็นจริงดังที่โจทก์นำสืบว่า ท.ได้พยายามพูดให้โจทก์ยื่นใบลาออก ก็แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปเท่านั้น ยังไม่ทันเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์แทนบริษัทต่างชาติ: ผู้จัดการสาขาชอบธรรมในการมอบอำนาจแจ้งความดำเนินคดีอาญา
บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศสาธารณรัฐเวียตนาม และประธานกรรมการบริษัทโจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้จัดการสาขาบริษัทของโจทก์ซึ่งมีสาขาอยู่ที่ประเทศไทย มีอำนาจดำเนินการปฏิบัติแทนและในนามของบริษัทในเรื่องการสัมพันธ์ติดต่อรัฐบาลไทย เจ้าหน้าที่และบริษัทเอกชน สำนักงานหนังสือพิมพ์ และสาธารณชนทั่วไปได้ ดังนั้น เมื่อต่อมาจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างสาขาบริษัทโจทก์ในประเทศไทยทำหน้าที่พนักงานขายตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้ว ไม่นำเงินค่าตั๋วส่งให้สาขาบริษัทโจทก์ ผู้จัดการสาขาบริษัทโจทก์ในประเทศไทยย่อมมีอำนาจร้องทุกข์หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อการรับฝากเงินของผู้จัดการสาขา แม้รับฝากนอกสถานที่หรือนอกเวลาทำการ
กิจการของธนาคารมีการรับฝากเงินเป็นประการสำคัญ ดังนั้น ผู้จัดการธนาคารกระทำการรับฝากเงิน ก็เป็นกิจการที่ธนาคารมอบหมายให้กระทำ ข้อที่ผู้จัดการสาขาไปรับฝากเงินถึงบ้านผู้ฝาก และรับฝากในวันธนาคารหยุด การฝากเงินนอกสถานที่เป็นกิจการของธนาคาร จำเลยจะอ้างว่าผู้จัดการสาขากระทำโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหาได้ไม่
ผู้จัดการสาขาธนาคารรับฝากเงินมาแล้ว ไม่เอาเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องตัวแทนไม่ส่งทรัพย์สินที่ได้มาแก่ตัวการ ตัวการจะปฏิเสธความรับผิดว่าทำนอกเหนืออำนาจย่อมไม่ได้
หนังสือแจ้งยอดคงเหลือ ซึ่งหนังสือของธนาคารสาขาของธนาคารจำเลยมีถึงโจทก์ ย่อมเป็นหนังสือของธนาคารจำเลย จำเลยจะอ้างว่าเป็นหนังสือส่วนตัวของผู้จัดการสาขาหาได้ไม่ เพราะจำเลยแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้จัดการมีอำนาจเป็นตัวแทนจำเลย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินต่อผู้จัดการสาขาธนาคารแจ้งว่าผู้จัดการนั้นไม่เอาเงินเข้าบัญชี เป็นการยักยอกเงินโจทก์ คำแจ้งความเช่นนี้ไม่ทำให้ธนาคารจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ฝาก
ผู้จัดการสาขาธนาคารรับฝากเงินมาแล้ว ไม่เอาเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องตัวแทนไม่ส่งทรัพย์สินที่ได้มาแก่ตัวการ ตัวการจะปฏิเสธความรับผิดว่าทำนอกเหนืออำนาจย่อมไม่ได้
หนังสือแจ้งยอดคงเหลือ ซึ่งหนังสือของธนาคารสาขาของธนาคารจำเลยมีถึงโจทก์ ย่อมเป็นหนังสือของธนาคารจำเลย จำเลยจะอ้างว่าเป็นหนังสือส่วนตัวของผู้จัดการสาขาหาได้ไม่ เพราะจำเลยแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้จัดการมีอำนาจเป็นตัวแทนจำเลย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินต่อผู้จัดการสาขาธนาคารแจ้งว่าผู้จัดการนั้นไม่เอาเงินเข้าบัญชี เป็นการยักยอกเงินโจทก์ คำแจ้งความเช่นนี้ไม่ทำให้ธนาคารจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ฝาก