พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุมัติเกษียณก่อนกำหนด: ผู้จัดการโรงงานเสนอ, กรรมการผู้จัดการอนุมัติ
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดได้คือกรรมการผู้จัดการ ดังนั้น ที่ผู้จัดการโรงงานของจำเลยบันทึกลงในคำขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดของโจทก์ว่า เพื่อพิจารณาอนุมัติ จึงเป็นการบันทึกเสนอให้กรรมการผู้จัดการพิจารณาเท่านั้น หาใช่เป็นการอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุมัติใบลาออกของผู้จัดการโรงงาน: การตีความระเบียบข้อบังคับและหลักการตีความ
การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ยื่นใบลาออกและผู้จัดการโรงงานลงลายมือชื่ออนุมัติแล้วนั้น ศาลแรงงานกลางมิได้ถือเอาตัวอย่างใบลาพยานเอกสารเป็นข้อวินิจฉัยในการรับฟัง ข้อเท็จจริงดังกล่าว หากแต่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักคำเบิกความ ของพยานจำเลยกับคำเบิกความของตัวโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยหรือ กล่าวพาดพิงถึงพยานเอกสารดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง หาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93 ไม่
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่นๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 47(1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้
ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการลาออกมิได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจหน้าที่อนุมัติใบลาออกไว้ชัดแจ้ง แต่ไม่อาจแปลจำกัดเพียงว่านอกจากกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนจำเลยผู้เดียวเท่านั้นแล้ว ผู้อื่นใดหามีอำนาจที่จะอนุมัติอีกไม่เป็นการแปลเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งอันไม่ต้องด้วยหลักการตีความ การตีความจักต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์เทียบเคียงถึงข้อสัญญาและข้อตกลงอื่นๆ ประกอบด้วย และต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้การเลิกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยมีข้อความเป็นทำนองเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 47(1) ถึง (6) เป็นการเลิกจ้างในทางวินัย เป็นการลงโทษในสถานที่หนักที่สุดที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้นั้น ให้อำนาจผู้จัดการโรงงานไว้ ส่วนการลาออกโดยความสมัครใจ ซึ่งโดยปกติย่อมไม่มีผลร้ายแก่ลูกจ้างไม่มีประโยชน์และความจำเป็นประการใดที่จำเลยจะสงวนอำนาจเช่นว่านี้ไว้เป็นอำนาจโดยเฉพาะสำหรับกรรมการผู้จัดการผู้เดียวเท่านั้น ผู้จัดการโรงงานจึงมีอำนาจอนุมัติได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการโรงงานต่อการใช้แสตมป์ปลอม: ต้องมีเจตนาหรือรู้เห็น
คนงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่ไปซื้อแสตมป์มาปิดขวดน้ำอัดลม กระทำผิด ก.ม.ไปซื้อแสตมป์ปลอมมา
แม้จำเลยเป็นผู้จัดการทำน้ำอัดลม มีหน้าที่จะต้องดูแลความเป็นไปและกิจการของโรงงานให้เป็นที่เรียบร้อย และถูกต้องตาม ก.ม.ถ้ามีสิ่งใดผิดพลาดจำเลยจะต้องรับผิดก็ดี เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้สมคบในการซื้อแสตมป์นั้น ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้เพราะเป็นการขัดต่อหลักก.ม.ว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางอาญา ดังที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.ลักษณะอาญา ม.7 และ 43 และประมวล ก.ม.อาญา ม.2 และ 59 ไม่เหมือนกับความรับผิดในทางแพ่งดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ม.425
แม้จำเลยเป็นผู้จัดการทำน้ำอัดลม มีหน้าที่จะต้องดูแลความเป็นไปและกิจการของโรงงานให้เป็นที่เรียบร้อย และถูกต้องตาม ก.ม.ถ้ามีสิ่งใดผิดพลาดจำเลยจะต้องรับผิดก็ดี เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้สมคบในการซื้อแสตมป์นั้น ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้เพราะเป็นการขัดต่อหลักก.ม.ว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางอาญา ดังที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.ลักษณะอาญา ม.7 และ 43 และประมวล ก.ม.อาญา ม.2 และ 59 ไม่เหมือนกับความรับผิดในทางแพ่งดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ม.425