คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ซื้อฝาก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สุจริตของผู้ซื้อฝาก-การเพิกถอนนิติกรรมขายฝาก: แม้มีสัญญาจะซื้อขายก่อน แต่ผู้ซื้อฝากสุจริตและชำระค่าตอบแทนแล้ว โจทก์ไม่อาจเพิกถอนได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือสำคัญเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ซึ่งทางราชการออกให้มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองต่อมาจำเลยที่ 2นำที่ดินพิพาทไปยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดินโดยอ้างว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ตามหนังสือสัญญาขายฝากโจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ได้ขายให้โจทก์ก่อนแล้วตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังนี้ แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท กันก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก็ตามฐานะของโจทก์ก็มีเพียงขอให้ เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบเท่านั้น แต่ในการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าตอบแทนชำระเงินค่าที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่รู้หรือควรได้รู้ว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาท จากจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียน ขายฝากรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทน และกระทำการโดยสุจริตแล้วโจทก์ย่อมไม่อาจที่ จะเพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และสิทธิในการยกอายุความของผู้ซื้อฝากจากทายาทเจ้ามรดก
แม้โจทก์จะไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดก แต่โจทก์เป็นผู้ซื้อฝากทรัพย์พิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก โจทก์จึงย่อมมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับผู้ร้องสอดที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกเช่นกันได้ แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 ถึงที่ 5 จะไม่ทราบเรื่องจำเลยนำทรัพย์พิพาทไปขายฝากให้โจทก์ก็ไม่ทำให้สิทธิดังกล่าวของโจทก์เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสินไถ่ที่ดิน: ภาษีเงินได้ของผู้ซื้อฝากและหน้าที่กระทรวงเจ้าสังกัด
เงินสินไถ่ที่ผู้ขายฝากที่ดินชำระแก่ผู้ซื้อฝากเท่ากับราคาขายฝากนั้นเป็นเงินได้ของผู้ซื้อฝากอันพึงประเมินตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา39, 40(8) ถ้าไม่ทำตามระเบียบที่กรมสรรพากรวางไว้ก็ไม่ได้รับยกเว้นการคำนวณภาษีเงินได้ตาม มาตรา 42(9) กระทรวงเจ้าสังกัดเสียภาษีแทนเฉพาะเงินเดือนตามส่วนเท่านั้น หากกระทรวงเสียเกินไป ก็เป็นเรื่องที่ต้องคืนกันเองแต่ผู้เสียภาษียังต้องรับผิดต่อกรมสรรพากรเต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067-1068/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาถือกรรมสิทธิ์แทนผู้อื่นและอำนาจฟ้อง
โจทก์ซื้อฝากที่ดินโดยรับกับผู้ขายฝากว่าจะแบ่งแยกส่วนหนึ่งออกให้แก่จำเลยซึ่งได้ซื้อที่ดินส่วนนั้นไว้ก่อนแต่ยังไม่ได้แบ่งแยกโอนทะเบียน ดังนี้ เป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกผลจากทรัพย์สินขายฝาก: สิทธิของผู้ซื้อฝากและข้อยกเว้นจากการตกลงเพิ่มเติม
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 492 บัญญัติว่าทรัพย์สินซึ่งขายฝากนั้นถ้าไถ่ภายในเวลาที่กำหนด ก็ให้ถือเป็นอันว่ากรรมสิทธิ์ไม่เคยตกไปแก่ผู้ซื้อเลยนั้นหมายถึงเฉพาะตัวทรัพย์สินเท่านั้นแต่ไม่รวมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินด้วย เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ขายฝากที่ดินมีโฉนดไว้กับจำเลย เมื่อโจทก์ขอไถ่ถอน จำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมรับไถ่ถอน จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขอเก็บค่าเช่าที่ดินที่ขายฝากในระหว่างอายุสัญญาขายฝากโดยตกลงว่าจะไถ่ถอนเมื่อใด โจทก์จะชำระค่าเช่าหรือผลประโยชน์ที่เก็บได้ในระหว่างนั้นแก่จำเลย โจทก์ผิดสัญญาไม่ยอมชำระค่าเช่าที่ดินให้จำเลยจึงไม่ยอมให้ไถ่ถอน ข้อตกลงดังที่จำเลยอ้างนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ คู่สัญญาอาจจะตกลงกันเป็นพิเศษอย่างไรก็ได้ แม้มิได้ระบุไว้ในสัญญาขายฝากจำเลยก็นำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงนั้นได้ เพราะมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาขายฝากอันเกี่ยวกับค่าไถ่หรือสินไถ่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกผลจากทรัพย์สินขายฝาก: กรรมสิทธิ์ตกแก่ผู้ซื้อฝาก เว้นแต่ตกลงกันเป็นอื่น
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 492 บัญญัติว่าทรัพย์สินซึ่งขายฝากนั้นถ้าไถ่ภายในเวลาที่กำหนด ก็ให้ถือเป็นอันว่ากรรมสิทธิ์ไม่เคยตกไปแก่ผู้ซื้อเลยนั้นหมายถึงเฉพาะตัวทรัพย์สินเท่านั้นแต่ไม่รวมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินด้วย เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ขายฝากที่ดินมีโฉนดไว้กับจำเลย เมื่อโจทก์ขอไถ่ถอน จำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมรับไถ่ถอน จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขอเก็บค่าเช่าที่ดินที่ขายฝากในระหว่างอายุสัญญาขายฝากโดยตกลงว่า จะไถ่ถอนเมื่อใด โจทก์จะชำระค่าเช่าหรือผลประโยชน์ที่เก็บได้ในระหว่างนั้นแก่จำเลย โจทก์ผิดสัญญาไม่ยอมชำระค่าเช่าที่ดินให้จำเลยจึงไม่ยอมให้ไถ่ถอน ข้อตกลงดังที่จำเลยอ้างนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ คู่สัญญาอาจจะตกลงกันเป็นพิเศษอย่างไรก็ได้ แม้มิได้ระบุไว้ในสัญญาขายฝากจำเลยก็นำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงนั้นได้ เพราะมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาขายฝากอันเกี่ยวกับค่าไถ่หรือสินไถ่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่การขายฝาก: แม้ผู้ซื้อฝากบ่ายเบี่ยงรับเงิน ผู้ขายฝากยังถือว่าใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนด
โจทก์ขายฝากที่นาไว้กับจำเลย ต่อมาโจทก์ขอไถ่การขายฝากภายในกำหนดเวลา แต่จำเลยไม่ยอมโดยเกี่ยงจะให้โจทก์ชำระค่าเช่านาที่ค้างด้วย โจทก์จึงไม่ยอมวางเงินค่าขายฝาก เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายไม่ยอมรับค่าขายฝากจากโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ได้ขอไถ่จากจำเลยภายในกำหนดเวลาขายฝากแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่การขายฝาก: แม้ผู้ซื้อฝากบ่ายเบี่ยงไม่รับเงิน ผู้ขายฝากถือว่าใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนด
โจทก์ขายฝากที่นาไว้กับจำเลย ต่อมาโจทก์ขอไถ่การขายฝากภายในกำหนดเวลา แต่จำเลยไม่ยอมโดยเกี่ยงจะให้โจทก์ชำระค่าเช่านาที่ค้างด้วย โจทก์จึงไม่ยอมวางเงินค่าขายฝาก เช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายไม่ยอมรับค่าขายฝากจากโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ขอไถ่จากจำเลยภายในกำหนดเวลาขายฝากแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าที่ดินและการบังคับสัญญาซื้อขายฝากที่สมบูรณ์ สิทธิของผู้เช่าเดิมและผู้ซื้อฝาก
การที่ผู้เช่าที่ดินทำสัญญาขายฝากห้องแถวและโอนสิทธิการเช่าที่ดินให้ผู้ซื้อฝากด้วยนั้น ถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ต้องการให้ผู้ซื้อฝากต้องซื้อโรงเรือนนั้นไป และเป็นบุคคลสิทธิที่ใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา ฉะนั้นแม้ต่อมาผู้เช่าที่ดินนั้นจะไปทำสัญญาเช่าใหม่กับเจ้าของที่ดินก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้สิ้นความผูกพันตามสัญญาที่ทำไว้ ผู้เช่าที่ดินจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้รับซื้อฝากนั้นได้
ในทำนองเดียวกัน ผู้ซื้อฝากห้องแถวซึ่งแม้จะได้รับโอนสิทธิการเช่าที่ดินที่โรงเรือนนั้นปลูกอยู่ไว้แล้วก็ตาม แต่เมื่อยังไม่ได้ไปทำสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดิน ก็ยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่าที่ดินนั้นเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ขายฝาก: สิทธิของผู้ซื้อฝากเมื่อผู้ขายฝากผิดนัดและจำเลยซื้อโดยสุจริต
แม้สัญญาขายฝากจะมีข้อความว่า เมื่อทรัพย์ที่ขายฝากหลุดเป็นสิทธิของผู้ซื้อฝากแล้ว ถ้าผู้ซื้อฝากขายทรัพย์นั้นได้เงินไม่ครบตามจำนวนที่ขายฝาก ยังขาดอยู่เท่าใด ผู้ขายฝากยอมใช้ให้ผู้ซื้อฝากจนครบก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่คู่กรณีได้ตกลงกันเป็นพิเศษ ไม่ขัดกับกฎหมาย และไม่ทำให้ลักษณะของสัญญาเปลี่ยนแปลงไปเป็นจำนำแต่อย่างใด
การที่ผู้ขายฝากลอบเอารถยนต์ที่ขายฝากไปขายให้แก่บุคคลอื่นอีกนั้น แม้ผู้ซื้อจะได้รับซื้อไว้โดยสุจริตก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อใช้ยันผู้รับซื้อฝากได้ในเมื่อต่อมาผู้ขายฝากไม่ไถ่รถยนต์ที่ขายฝากนั้นเสียภายในกำหนดตามสัญญา