คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ดำเนินการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคลอาคารชุด: การมอบอำนาจผ่านผู้จัดการและผู้ดำเนินการแทน
นิติบุคคลอาคารชุดโจทก์มีผู้จัดการคือบริษัท บ. และมีการแต่งตั้งให้ พ.เป็นผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลในฐานะผู้จัดการพ. ย่อมเป็นผู้จัดการของโจทก์และมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วย พ.ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ในฐานะผู้จัดการของโจทก์เท่ากับโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจเอง เช่นเดียวกับหัวหน้าส่วนราชการที่เป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนส่วนราชการนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3062/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่สรรพากรผู้ดำเนินการขายทอดตลาด ย่อมมีหน้าที่ต้องห้ามมิให้เข้าสู้ราคาซื้อเอง การซื้อจึงไม่ชอบ
กรมสรรพากรจำเลยที่2ยึดที่ดินของโจทก์ขายทอดตลาดเอาเงินชำระภาษีที่โจทก์ค้างชำระจำเลยที่1ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดอยู่ในสังกัดจำเลยที่2ย่อมมีหน้าที่โดยตรงในการนำที่ดินที่ยึดออกขายทอดตลาดและจำเลยที่1เป็นผู้เสนอจำเลยที่3ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่1เป็นคณะกรรมการขายทอดตลาดแม้จำเลยที่1ไม่ได้เป็นกรรมการด้วยก็ต้องถือว่าจำเลยที่1กระทำในนามของจำเลยที่2และเป็นผู้ทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา511จึงเป็นผู้ต้องห้ามที่จะเข้าสู้ราคาซื้อที่ดินในการขายทอดตลาดซึ่งตนเป็นผู้อำนายการเองตามประกาศของจำเลยที่3การที่จำเลยที่1ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า แม้ผู้กระทำผิดไม่ใช่กรรมการบริษัท แต่เป็นผู้ดำเนินการกิจการก็ต้องรับผิดทางอาญา
แถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่จดทะเบียนไว้แล้วใช้ผ้าพื้นสีกรมท่าตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง แต่ที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKDA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนอักษรเท่านั้นแต่ชื่อที่เรียกขานเป็นอย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้ว อาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้น ในความรับผิดทางอาญานั้น หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก. ที่กระทำความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดด้วย แม้จำเลยจะมีหนังสือรับรองการจดทะเบียนมาแสดงว่าจำเลยมิใช่กรรมการของบริษัทก. ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการจ่ายค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พรบ.เวนคืน ไม่ใช่ผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 ได้กำหนดอำนาจของเจ้าหน้าที่หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจตกลงซื้อขาย กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ และจ่ายค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเห็นได้ว่าผู้ที่ต้องจ่ายค่าทดแทน คือเจ้าหน้าที่หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เมื่อการเวนคืนรายนี้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัดสายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34-บางบ่อ พ.ศ. 2525 จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ ส่วนจำเลยซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นเพียงผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเท่านั้นไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการลงโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การลงโทษเกินคำขอ และการปรับบทลงโทษอาคารพาณิชย์
แม้ตาม ฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้ กระทำผิดในฐานะ ผู้ดำเนินการตาม ความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่ง เป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ที่บัญญัติว่า "ถ้า การกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้อง ระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตาม ที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตาม มาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัว อาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 44ซึ่ง จะต้องถูกลงโทษตาม มาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลในการรับรองอุทธรณ์และการส่งเรื่องให้อธิบดีอัยการ ผู้ต้องดำเนินการเอง
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งสำนวนและอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการพิจารณารับรองตามคำร้องของโจทก์ร่วมนั้นผู้อุทธรณ์ต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และชอบที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยโดยทำเป็นคำพิพากษามิใช่ทำเป็นคำสั่งแต่โดยที่ศาลอุทธรณ์ได้ทำคำสั่งโดยผู้พิพากษาสองนาย เพียงแต่ผิดแบบเฉพาะการทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งจึงไม่จำเป็นที่จะให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่(อ้างฎีกาที่ 1244/2503)
การที่จะให้อธิบดีกรมอัยการรับรองอุทธรณ์นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการรับรองการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่ผู้อุทธรณ์เองผู้อุทธรณ์จึงต้องขวนขวายขอร้องไปยังอธิบดีกรมอัยการเองหาใช่อาศัยศาลเป็นเครื่องมือส่งต่อไปยังอธิบดีกรมอัยการไม่ (อ้างฎีกาที่ 656/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8494/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมอาคารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการพิสูจน์การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
มาตรา 4 ให้คำนิยามคำว่า "ผู้ดำเนินการ" หมายความว่า "เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งกระทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารด้วยตนเอง และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งตกลงรับกระทำดังกล่าวไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และผู้รับจ้างช่วง" เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการ โจทก์ย่อมมีภาระการพิสูจน์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารด้วยตนเอง แต่พยานโจทก์คงมี ภ. พยานโจทก์ที่เบิกความว่าพยานเป็นผู้ตรวจอาคารที่เกิดเหตุ พบว่ามีการก่อสร้างผิดแบบ โดยพยานไม่ได้เบิกความว่าพบเห็นจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อสร้างด้วยตนเอง และมี ก. เจ้าของอาคารที่ติดอยู่กับบ้านเกิดเหตุเบิกความแต่เพียงว่าเห็นจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยในระหว่างการก่อสร้าง ไม่ได้เบิกความว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารด้วยตนเอง พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 จึงวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นแก่จำเลยทั้งสองตามมาตรา 69 มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6293/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการอาคารชุด: ผู้ดำเนินการแทนมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามข้อบังคับ
โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุดแต่งตั้งให้บริษัท ภ. เป็นผู้จัดการ บริษัทดังกล่าวแต่งตั้งให้ ล. เป็นผู้ดำเนินการแทนบริษัทในฐานะผู้จัดการของโจทก์ ซึ่งตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 บัญญัติให้นิติบุคคลอาคารชุดมีผู้จัดการคนหนึ่งซึ่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้จัดการ ให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นแต่งตั้งบุคคลธรรมดาคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลในฐานะผู้จัดการ ดังนั้น ล. จึงเป็นผู้จัดการของโจทก์ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ดำเนินการแทนโจทก์ ล. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของโจทก์ที่ให้ผู้จัดการมีอำนาจกระทำการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดการดูแลและรักษาทรัพย์ส่วนกลางทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของร่วม ซึ่งการฟ้องคดีก็ถือว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์