พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4369/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และควบคุมกิจการเทปฯ โดยผู้ดูแลร้านไม่ใช่ผู้จัดการสถานประกอบการ
บทบัญญัติมาตรา 20 วรรคสอง และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับเจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งไม่ได้ขออนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยไม่ใช่เจ้าของร้านที่เกิดเหตุ เป็นเพียงผู้ดูแลคอมพิวเตอร์และดูแลร้านที่เกิดเหตุโดยร้านที่เกิดเหตุมีนาย ส. เป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตฉายหรือให้บริการซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แต่ใบอนุญาตขาดอายุแล้ว แสดงให้เห็นว่า ร้านที่เกิดเหตุมีผู้อื่นดำเนินการเกี่ยวกับการขออนุญาตฉายหรือให้บริการซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อยู่แล้ว จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้จัดการสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4369/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปฯ ผู้ดูแลร้านไม่ใช่ผู้จัดการสถานที่ ไม่ต้องรับผิด
พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคสอง และมาตรา 38 มีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับเจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งไม่ได้ขออนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อจำเลยไม่ใช่เจ้าของร้านที่เกิดเหตุเป็นเพียงผู้ดูแลคอมพิวเตอร์และดูแลร้าน โดยร้านที่เกิดเหตุมี ส. เป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตฉายหรือให้บริการซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แต่ใบอนุญาตขาดอายุแล้ว จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้จัดการสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อันจะมีความผิดตามมาตรา 38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี: การยินยอมของผู้ดูแลทำให้ไม่เป็นความผิด
เด็กชายด. มีอายุไม่เกิน 15 ปี หลังจากบิดามารดาของเด็กชายด. ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายซึ่งเป็นพี่สาวของบิดาเด็กชายด.เป็นผู้ดูแลเด็กชายด.ตลอดมาการที่ผู้เสียหายเป็นผู้อนุญาตให้จำเลยพาเด็กชายด. ไปทำงานที่กรุงเทพมหานครตามที่จำเลยร้องขอ ไม่ปรากฏเลศนัยอันส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลย ดังนี้ การที่จำเลยพาเด็กชายด. ไป การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจาก ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรกส่วนกรณีที่เด็กชายด. ได้หายไปหลังจากไปอยู่กรุงเทพมหานครนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่ทำให้จำเลยต้องรับผิด ตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6635/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ครูข่มขืนศิษย์: ความรับผิดชอบในฐานะผู้ดูแล
จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในขณะที่จำเลยซึ่งเป็นครูอาวุโสเข้าเวรเป็นครูผู้ปกครองประจำวันมีหน้าที่ควบคุมดูแลเด็กนักเรียน ถือได้ว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์: ความสัมพันธ์ผู้ดูแลตามกฎหมายและการใช้อำนาจปกครอง
คำว่า"ผู้ปกครอง"ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา319หมายถึงผู้ใช้อำนาจปกครองอย่างบิดามารดาผู้เสียหายเป็นผู้ปกครองและดูแลผู้เยาว์ทั้งในฐานะน้าและนายจ้างโดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาของผู้เยาว์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองการที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปจากผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา319วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์จากความดูแลโดยชอบธรรมของผู้ปกครอง/ผู้ดูแล ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา319คำว่าผู้ปกครองหมายถึงผู้มีฐานะทางกฎหมายเกี่ยวกันกับเด็กเช่นเป็นบิดามารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองส่วนผู้ดูแลหมายถึงผู้ควบคุมระวังรักษาเด็กโดยข้อเท็จจริงเช่นครูอาจารย์นายจ้างเป็นต้น ผู้เสียหายเป็นผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้เยาว์ทั้งในฐานะเป็นน้าและนายจ้างโดยได้รับมอบหมายจากบิดามารดาของผู้เยาว์ด้วยในขณะที่ผู้เยาว์ทำงานอยู่กับผู้เสียหายการที่จำเลยขออนุญาตจากผู้เสียหายพาผู้เยาว์ออกไปข้างนอกหรือพาไปดูภาพยนตร์แต่ผู้เสียหายไม่อนุญาตนับเป็นการใช้อำนาจปกครองและดูแลผู้เยาว์ตามที่ได้รับมอบหมายจากบิดามารดาผู้เยาว์และตามความเป็นจริงเมื่อผู้เสียหายทราบว่าผู้เยาว์ถูกจำเลยพาไปร่วมประเวณีก็ได้เอาใจใส่ให้น. ไปตามจำเลยมาเจรจากันเมื่อได้รับการปฏิเสธก็ได้ติดตามไปพบจำเลยเมื่อเจรจาตกลงกันไม่ได้ก็พาผู้เยาว์ไปแจ้งความล้วนเป็นการแสดงตนใช้อำนาจปกครองดูแลผู้เยาว์ตามความเป็นจริงแม้ต่อมาภายหลังผู้เยาว์จะไปทำงานที่อื่นก็เป็นเวลาภายหลังเกิดเหตุแต่ขณะเกิดเหตุผู้เยาว์ยังอยู่ในความดูแลของผู้เสียหายการกระทำของจำเลยที่พาผู้เยาว์ไปร่วมประเวณีจึงเป็นการรบกวนสิทธิหรือแยกสิทธิในการควบคุมดูแลผู้เยาว์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควรเป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากความดูแลของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็ก และการใช้มีดคัตเตอร์เป็นอาวุธ
การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา317 นั้น ไม่ว่าจำเลยจะพรากไปจากใครคนใดคนหนึ่งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้จำเลยก็มีความผิดทั้งสิ้น ดังนั้น แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยพรากผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง โดยมิได้บรรยายว่าพรากไปจากผู้ดูแลด้วย แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากไปจากผู้ดูแลจำเลยก็มีความผิด มิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง
แม้มีดคัตเตอร์จะไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ทุกครั้งที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยเอามีดคัตเตอร์ที่จำเลยพาไปออกมาขู่เข็ญผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยพามีดคัตเตอร์ไปโดยเจตนาจะใช้เป็นอาวุธ มีดคัตเตอร์จึงเป็นอาวุธ
แม้มีดคัตเตอร์จะไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ทุกครั้งที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยเอามีดคัตเตอร์ที่จำเลยพาไปออกมาขู่เข็ญผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยพามีดคัตเตอร์ไปโดยเจตนาจะใช้เป็นอาวุธ มีดคัตเตอร์จึงเป็นอาวุธ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืน พรากเด็ก และพาอาวุธ ศาลยืนตามอุทธรณ์ แม้ฟ้องไม่ระบุผู้ดูแล แต่พิจารณาได้ความจริง
การพรากเด็กอายุไม่เกิน15ปีไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317นั้นไม่ว่าจำเลยจะพรากไปจากใครคนใดคนหนึ่งดังกล่าวก็มีความผิดทั้งสิ้นแม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครองโดยมิได้บรรยายว่าพรากไปจากผู้ดูแลด้วยแต่ทางพิจารณาได้ความว่าพรากไปจากผู้ดูแลก็มีความผิดมิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง แม้มีดคัตเตอร์จะไม่เป็นอาวุธโดยสภาพแต่ทุกครั้งที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจำเลยเอามีดคัตเตอร์ที่จำเลยพาไปออกมาขู่เข็ญผู้เสียหายแสดงว่าจำเลยพามีดคัตเตอร์ไปโดยเจตนาจะใช้เป็นอาวุธจึงมีความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมต้องมีเจ้าของสามยทรัพย์ ผู้ดูแลแท็งก์น้ำไม่อาจอ้างสิทธิได้
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินอื่นทุกแปลงของหมู่บ้านวิภาวดี โดยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเกินเดือนละ10,000 บาท แต่ที่ดินพิพาทมิได้ตั้งอยู่ในทำเลการค้า และจำเลยใช้ที่ดินพิพาทปลูกเพิงพักอาศัยเนื้อที่เพียงเล็กน้อย ที่ดินพิพาทจึงอาจให้เช่าในขณะยื่นฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท และศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ 34,000 บาทจำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง และวรรคหนึ่งตามลำดับ ลักษณะสำคัญของภารจำยอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1387 คือต้องมีอสังหาริมทรัพย์อย่างน้อยสองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นของเจ้าของต่างคนกันและอสังหาริมทรัพย์หนึ่งต้องตกอยู่ในภาระรับกรรมบางอย่าง หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่อีกอสังหาริมทรัพย์หนึ่ง อสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระรับกรรมนั้นเรียกว่าภารยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์นั้นเรียกสามยทรัพย์ ภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะกล่าวอ้างว่าได้ภารจำยอมเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นภารยทรัพย์จะต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์ จำเลยปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อทำหน้าที่ดูแลแท็งก์น้ำบาดาลประจำหมู่บ้านเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อื่นที่จะเป็นสามยทรัพย์ต่างหากจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่อาจอ้างสิทธิภารจำยอมของผู้อื่นขึ้นต่อสู้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นผู้ดูแลคนไร้ความสามารถ (บุคคลวิกลจริต) และสิทธิในฐานะบุตรบุญธรรม
คำว่าบุคคลวิกลจริตตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา 28 ใหม่) นั้นมิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติ หรือตามที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบ้าเท่านั้นไม่ แต่หมายรวมถึงบุคคลผู้มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการของตนหรือประกอบกิจส่วนตัวของตนได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจ. ซึ่งผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถนั้นไม่รู้สึกตัวเอง และพูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ซึ่งแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองฝ่อหรือสมองเสื่อมขั้นรุนแรงไม่สามารถรักษาให้หายได้ตลอดจนไม่อาจปฏิบัติภารกิจส่วนตัวได้ แสดงให้เห็นว่าจ. เป็นคนไม่มีสติสัมปชัญญะ ไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองได้ พอถือได้ว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว และผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของ จ. ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน ย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิรับมรดกของ จ. ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้อนุบาล จ.