พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในหนี้ของผู้อื่น: ทายาทที่เข้ามาดำเนินคดีแทนผู้ถึงแก่กรรม ไม่ผูกพันต้องรับผิดในหนี้เดิม
การที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องนางสาว ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 นางสาว ร. เพียงแต่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาเท่านั้น ศาลจะพิพากษาให้นางสาว ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 2 แทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเฉพาะตัวในการจัดการมรดก: การที่ทายาทเดิมถึงแก่กรรมทำให้การดำเนินคดีแทนไม่มีประโยชน์
การขอตั้งผู้จัดการมรดกตลอดจนการคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกไม่เป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของคู่ความที่ถึงแก่กรรมได้เพราะการขอเป็นผู้จัดการมรดกตลอดจนการคัดค้านถือได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน เมื่อผู้คัดค้านถึงแก่กรรมย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีของผู้คัดค้านต่อไปการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ทายาทของผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้คัดค้านและวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ตาย: ศาลไม่อาจตั้งผู้แทนให้ผู้ถึงแก่กรรม แม้จะอ้างว่าเป็นผู้วิกลจริต
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของ ต. และมีอำนาจฟ้องคดีแทน ต. เมื่อปรากฏว่า ต. ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้วิกลจริตถึงแก่กรรมไปก่อนวันนัดไต่สวนคำร้องดังกล่าวแล้ว ศาลก็ไม่อาจตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของ ต. ได้ เพราะ ต. ไม่ใช่ผู้วิกลจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้างต่อไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้วิกลจริตซึ่งผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้ว ผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้นั้น หมายถึงกรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายไว้แล้วก่อนที่ผู้เสียหายตาย หาได้หมายความรวมถึงกรณีนี้ซึ่งผู้เสียหายได้ตายไปเสียก่อนที่ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีด้วยไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้วิกลจริตซึ่งผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้ว ผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้นั้น หมายถึงกรณีที่ศาลได้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เสียหายไว้แล้วก่อนที่ผู้เสียหายตาย หาได้หมายความรวมถึงกรณีนี้ซึ่งผู้เสียหายได้ตายไปเสียก่อนที่ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491-2493/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีส่วนได้เสียในการฟ้องคดี, การเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ถึงแก่กรรม, และการพิจารณาคดีใหม่
ก่อนโจทก์ที่ 1 ที่ 2 จดทะเบียนซื้อที่ดินมีโฉนดจากโจทก์ที่ 3 จำเลยทำการรังวัดสอบเขตที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ ทำให้โจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหายและอาจถูกโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนได้ โจทก์ที่ 3 มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีแล้วโจทก์ที่ 3 จึงเข้าเป็นโจทก์ในคดีที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องจำเลยด้วยได้
ก่อนวันนัดสืบพยาน โจทก์ที่ 3 ตาย ศาลชั้นต้นสั่งงดการดำเนินคดี เพื่อรอผู้เข้ารับมรดกความแทนโจทก์ที่ 3 ก่อนพ้นเวลา 1 ปี ตามกฎหมายกำหนด ศาลชั้นต้นกลับสั่งว่าโจทก์ที่ 3 ไม่มีส่วนได้เสียในคดี ให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 และได้นัดสืบพยานโจทก์ไป เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อโจทก์ที่ 3 มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นการตัดสิทธิทายาทของโจทก์ที่ 3 หรือผู้จัดการทรัพย์มรดก แต่เมื่อนับแต่โจทก์ที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมไปจนถึงวันที่ศาลฎีกาพิพากษาเกินกว่า 1 ปีแล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของศาลชั้นต้นในการที่กำหนดเวลาปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ว่าด้วยการเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 ผู้มรณะ
ก่อนวันนัดสืบพยาน โจทก์ที่ 3 ตาย ศาลชั้นต้นสั่งงดการดำเนินคดี เพื่อรอผู้เข้ารับมรดกความแทนโจทก์ที่ 3 ก่อนพ้นเวลา 1 ปี ตามกฎหมายกำหนด ศาลชั้นต้นกลับสั่งว่าโจทก์ที่ 3 ไม่มีส่วนได้เสียในคดี ให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 และได้นัดสืบพยานโจทก์ไป เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อโจทก์ที่ 3 มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นการตัดสิทธิทายาทของโจทก์ที่ 3 หรือผู้จัดการทรัพย์มรดก แต่เมื่อนับแต่โจทก์ที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมไปจนถึงวันที่ศาลฎีกาพิพากษาเกินกว่า 1 ปีแล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของศาลชั้นต้นในการที่กำหนดเวลาปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ว่าด้วยการเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 ผู้มรณะ