คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ถือหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องค่าหุ้นค้างชำระจากผู้ถือหุ้นได้ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดสิทธิเรียกร้องได้ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ, 311 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
สิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระเป็นสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจำเลยมีต่อผู้ถือหุ้นเป็นสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ เมื่อบริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ ว. ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดค่าหุ้นที่ค้างชำระนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งอายัดให้ ว. ส่งเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 312 วรรคสอง ที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้นและดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1125 เป็นเรื่องวิธีการเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัทในกรณีปกติ แต่เมื่อกรรมการบริษัทจำเลยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องนี้ ก็ไม่ห้ามเจ้าหนี้ที่จะให้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 ทั้งไม่ห้ามเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขออายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7700/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทผู้ถือหุ้นฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมบริษัทหลังผู้ฟ้องมรณะ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 และในฐานะโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 อีกด้วย เมื่อโจทก์มรณะ ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นของโจทก์ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมของบริษัทในกรณีเช่นนี้ได้ กรณีจึงไม่ใช่โจทก์ฟ้องอันมีลักษณะเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของโจทก์ ผู้ร้องจึงมีสิทธิเข้ามาเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่มรณะได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัท ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด หากไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งเป็นนิติบุคคล แต่ผู้ร้องและผู้ร้องร่วมเป็นเพียงผู้ถือหุ้นและกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ทั้งผู้ร้องและผู้ร่วมไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ ผู้ร้องและผู้ร้องร่วมมิใช่เป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการยื่นคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาดจำกัดเฉพาะเจ้าหนี้/ลูกหนี้/ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ผู้ถือหุ้น/กรรมการไม่มีอำนาจ
ผู้ร้องและผู้ร้องร่วมทั้งสองเป็นเพียงผู้ถือหุ้นและกรรมการของจำเลย ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและผู้ร้องร่วมทั้งสองเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลย ผู้ร้องและผู้ร้องร่วมทั้งสองจึงมิใช่บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: การทำงานอิสระในฐานะผู้ถือหุ้น ไม่เข้าข่ายลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
โจทก์เข้าไปบริหารงานของบริษัทจำเลยในฐานะผู้ถือหุ้น การทำงานอิสระ ไม่ต้องมาทำงานทุกวันไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้ใดในบริษัทจำเลยและไม่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 แม้โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนจากจำเลยเป็นเงินเดือน ก็มิใช่ค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อโจทก์มิใช่ลูกจ้างจำเลยจึงไม่ต้องหักเงินสมทบส่งสำนักงานประกันสังคม การที่จำเลยหักเงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยส่งเป็นเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคมก็ไม่มีผลทำให้โจทก์กลับมีฐานะกลายเป็นลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียในคดีแรงงาน และไม่มีสิทธิขอทุเลาการบังคับคดี
โจทก์เป็นลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด เป็นกรณีลูกจ้างฟ้องให้นายจ้างชำระเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 วรรคสาม และ ป.พ.พ. มาตรา 582 ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ผู้ร้องเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลย ไม่ใช่ผู้ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ไม่ใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยให้ทำการแทนจึงไม่ใช่นายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ตามความหมายคำว่านายจ้าง (2) และไม่ใช่ผู้ตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานให้ จึงไม่ใช่นายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ผู้ร้องไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับโจทก์ ผลแห่งคดีมีเพียงว่านายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างหรือไม่เพียงใด เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชอบชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียในคดีแรงงานระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง จึงไม่อาจเป็นจำเลยร่วม หรือขอทุเลา/ระงับการบังคับคดีได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับบริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด เป็นกรณีลูกจ้างฟ้องให้นายจ้างชำระเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคสาม และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลย ไม่ใช่ผู้ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ไม่ใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยให้ทำการแทน จึงไม่ใช่นายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 และไม่ใช่ผู้ตกลงจะให้สินจ้าง จึงไม่ใช่นายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่เป็นนายจ้างในคดีแรงงาน ไม่มีหน้าที่ชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จึงไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์เป็นลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด ผู้ร้องเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลย จึงไม่ใช่นายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 5 ตามความหมายคำว่า นายจ้าง (2) และ ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้ และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6735/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายเรื่องการถือหุ้นในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น สามารถนำสืบหักล้างได้ หากมีข้อพิพาทและยังไม่มีข้อเท็จจริงยุติ
แม้บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นจะระบุว่าจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นพิพาท ต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานตามกฎหมายที่ไม่เด็ดขาด คู่ความมีสิทธินำสืบหักล้างได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้และมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่สืบพยานโจทก์ต่อไปและมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานและอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ชนะคดี โดยอุทธรณ์มาในฉบับเดียวกัน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เฉพาะในปัญหาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานโดยเห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ เห็นสมควรให้ฟังพยานหลักฐานโจทก์จำเลยเสียก่อนโดยไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ขอให้โจทก์ชนะคดี และพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่การสืบพยานโจทก์ต่อไปและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้โจทก์อุทธรณ์ขอให้โจทก์ชนะคดีมาด้วยก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้วินิจฉัยในเนื้อหาตามคำฟ้องและคำให้การ เพราะยังไม่มีข้อเท็จจริงเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย ต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยจนสิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ จึงเป็นกรณีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3000/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี แม้ผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้จัดการเป็นผู้เสียหายก็ยังฟ้องร้องได้
จำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกต่างหากจากกัน แม้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ในนามของจำเลยที่ 1 เข้าเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ร่วม และจำเลยที่ 2 ยังเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1 ร่วมกันออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ค่าจ้างพิมพ์ปฏิทิน และขณะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับนั้น บริษัทโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้ได้รับความเสียหายเช่นนี้ จำเลยทั้งสามย่อมเป็นผู้ร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
of 26