คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ถูกหลอกลวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเพื่อขอหนังสือคนประจำเรือและการมีอำนาจฟ้องของผู้ถูกหลอกลวง
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดต้องการเดินทางไปต่างประเทศโดยวิธีผิดกฎหมาย จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย แม้เป็นข้อที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกามิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกับพวกหลอกลวงโจทก์ด้วยการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอก ให้แจ้งว่าสามารถทำหนังสือเดินทางคนประจำเรือพาโจทก์ เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น ได้โดยไม่ต้องใช้วีซ่า ทำให้โจทก์ หลงเชื่อว่าเป็นความจริง โจทก์จึงมิได้ร่วมกระทำความผิด กับจำเลย จึงไม่ต้องวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยต่อไป ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ มีอำนาจ ฟ้องจำเลยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกง: ผู้ถูกหลอกลวงมีอำนาจร้องทุกข์ แม้จะชำระเงินบางส่วนแล้ว
ป. ตกลงว่าจ้าง ส. ซ่อมรถยนต์คิดเป็นเงิน 12,500 บาทในระหว่างกำลังซ่อม จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของ ส. ได้หลอกลวง ป.ให้หลงเชื่อว่าทางอู่ของ ส. ให้จำเลยมาขอรับเงิน 5,000 บาทเพื่อไปซื้อเครื่องอะไหล่ในการซ่อมรถป. จึงมอบเงินให้จำเลยไปเมื่อ ป. นำเงินค่าซ่อมอีก 7,500 บาทไปชำระให้ ส. จึงรู้ว่า ส.ไม่ได้ใช้จำเลยไปเอาเงิน ดังนี้ ถือได้ว่า ป. ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว จึงมีอำนาจร้องทุกข์ได้ ถึงแม้ ส.จะรับเงินค่าซ่อมอีกเพียง 7,500 บาทไว้จาก ป. และมอบรถให้ป. ไปแล้วก็ตามเป็นเรื่องระหว่าง ป. กับ ส. ไม่เกี่ยวกับจำเลยและเงินที่จำเลยรับไป ไม่ทำให้ ป. ผู้ถูกหลอกลวงพ้นจากการเป็นผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกงและการมีอำนาจร้องทุกข์ แม้มีการชำระหนี้บางส่วน ผู้ถูกหลอกลวงยังคงเป็นผู้เสียหาย
ป. ตกลงว่าจ้าง ส. ซ่อมรถยนต์คิดเป็นเงิน 12,500 บาทในระหว่างกำลังซ่อม จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของ ส. ได้หลอกลวง ป. ให้หลงเชื่อว่าทางอู่ของ ส. ให้จำเลยมาขอรับเงิน 5,000 บาทเพื่อไปซื้อเครื่องอะไหล่ในการซ่อมรถป. จึงมอบเงินให้จำเลยไป เมื่อ ป. นำเงินค่าซ่อมอีก 7,500 บาทไปชำระให้ ส. จึงรู้ว่า ส. ไม่ได้ใช้จำเลยไปเอาเงิน ดังนี้ ถือได้ว่า ป. ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว จึงมีอำนาจร้องทุกข์ได้ ถึงแม้ ส. จะรับเงินค่าซ่อมอีกเพียง 7,500 บาทไว้จาก ป. และมอบรถให้ ป. ไปแล้วก็ตามเป็นเรื่องระหว่าง ป. กับ ส. ไม่เกี่ยวกับจำเลยและเงินที่จำเลยรับไป ไม่ทำให้ ป. ผู้ถูกหลอกลวงพ้นจากการเป็นผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง: การหลอกลวงเพื่อให้ได้ทรัพย์สินจากผู้อื่นโดยอาศัยความเชื่อใจ
จำเลยกับสิบตำรวจโทสำเนียงและสิบตำรวจเอกเหม กลับจากงานบวชนาคด้วยกัน เมื่อไปถึงทุ่งนา สิบตำรวจโทสำเนียงบอกว่าจะไปถ่ายเพราะปวดท้อง จึงมอบปืนไว้กับสิบตำรวจเอกเหม แล้วสิบตำรวจโทสำเนียงก็เดินไปโดยจำเลยเดินตามไปด้วย สิบตำรวจเอกเหมไปคุยอยู่กับพรรคพวก จำเลยได้กลับมาหาสิบตำรวจเอกเหมและเอาความเท็จบอกว่าสิบตำรวจโทสำเนียงให้มาเอาปืนจะไปธุระ สิบตำรวจเอกเหมเห็นว่าจำเลยกับสิบตำรวจโทสำเนียงเจ้าของปืนเป็นเพื่อนกัน จึงหลงเชื่อตามคำหลอกลวงของจำเลยและมอบปืนให้จำเลยไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงอยู่ในลักษณะที่เห็นได้ว่าจำเลยหลอกลวงให้สิบตำรวจเอกเหมหลงเชื่อจนได้ปืนไปจากสิบตำรวจเอกเหมผู้ถูกหลอกลวง ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการฉ้อโกงและการแจ้งความเท็จ อำนาจฟ้องของผู้ถูกหลอกลวง
จำเลยเอาที่ดินของโจทก์ไปจำนองไว้กับสหกรณ์โดยจำเลยใช้อุบายหลอกลวงกล่าวเท็จกับพนักงานสหกรณ์ว่าเป็นที่ดินของจำเลยพนักงานสหกรณ์หลงเชื่อจึงยอมรับจำนองที่ดินไว้ และจ่ายเงินแก่จำเลยไป ดังนี้ เป็นเรื่องจำเลยฉ้อโกงสหกรณ์ โจทก์ไม่ได้เป็นผู้ถูกหลอกลวงฉ้อโกง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงได้ แต่ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต่อพนักงานสหกรณ์นั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายเหมือนกันโจทก์จึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานแจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2563