พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน: ความล่าช้าของจำเลยทำให้ต้องใช้ราคาในปัจจุบันเพื่อความเป็นธรรม
จำเลยเพิ่งมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินหลังจากมีพระราชกฤษฎีกาตามฟ้องออกมาแล้วกว่า 16 ปี นับว่าล่าช้าเกินสมควรไปมากจนผิดปกติ ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่เร่งดำเนินการเวนคืนให้แล้วเสร็จภายในเวลาอันควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ จากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามฟ้องในปี 2517 มาเป็นปี 2531 ก่อนวันที่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 23 สิงหาคม 2533 แจ้งให้โจทก์ไปรับค่าทดแทนที่ดินประมาณ 2 ปี จึงชอบตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและความมุ่งหมายของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ที่ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: พิจารณาจากราคาตลาด ณ เวลาที่แจ้งเวนคืน และความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน
แม้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มดำเนินการโดยอาศัยพระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาวฯ และต่อมาที่ดินพิพาทของโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2526 แต่ในเมื่อจำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืน จนกระทั่งต่อมามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ออกมาใช้บังคับ ดังนั้น การดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาทซึ่งยังค้างคาไม่เสร็จสิ้นอยู่นั้น หากมีการดำเนินการอย่างใดที่จะต้องกระทำต่อไปในเรื่องนี้ก็จะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรคสอง การพิจารณาว่าโจทก์ควรได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเท่าใดจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 23 สิงหาคม 2533 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินหลังจากมีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาวฯ ออกมาแล้วกว่า 16 ปี นับว่าล่าช้าเกินสมควรไปมากจนผิดปกติ ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่เร่งดำเนินการเวนคืนให้แล้วเสร็จภายในเวลาอันสมควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงไม่สมควรจะนำราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งผ่านพ้นไปกว่า 16 ปี มาคำนึงศาลอุทธรณ์เปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ จากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามฟ้องในปี 2517 มาเป็นปี 2531 ก่อนวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินประมาณ 2 ปีนั้น ชอบตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้ว
จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 23 สิงหาคม 2533 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินหลังจากมีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาวฯ ออกมาแล้วกว่า 16 ปี นับว่าล่าช้าเกินสมควรไปมากจนผิดปกติ ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่เร่งดำเนินการเวนคืนให้แล้วเสร็จภายในเวลาอันสมควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงไม่สมควรจะนำราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งผ่านพ้นไปกว่า 16 ปี มาคำนึงศาลอุทธรณ์เปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ จากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามฟ้องในปี 2517 มาเป็นปี 2531 ก่อนวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินประมาณ 2 ปีนั้น ชอบตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนเริ่มนับจากวันที่จ่ายเงินให้ผู้ถูกเวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินทดแทนนั้น เมื่อศาลวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม การรับผิดชำระดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนหาใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยหรือไม่ และหนังสือของจำเลยที่แจ้งโจทก์ให้ไปรับเงินค่าทดแทนไม่ระบุว่าให้ไปรับเงินวันใดแต่ได้ความว่าจำเลยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2539 จึงถือได้ว่าเป็นวันที่จำเลยวางเงินค่าทดแทนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนที่ดิน ส่วนที่เพิ่มนับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของประกาศ คสช. ฉบับที่ 44 ต่อการแก้ไขราคาเวนคืนและการอุทธรณ์สิทธิของผู้ถูกเวนคืน
แม้โจทก์มีที่ดินที่จะต้องเวนคืนคือที่ดินโฉนดเลขที่ 121005 อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางเขน เขตดุสิตเขตพญาไท เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตห้วยขวาง เขตบางกะปิเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ -บางโคล่ และสายพญาไท - ศรีนครินทร์ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนแล้ว แต่โจทก์ไม่ติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนจำเลยที่ 1 จึงได้นำเงินค่าทดแทนจำนวนดังกล่าวไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็ตาม แต่ต่อมาได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ใช้บังคับ และจำเลยที่ 1 มีหนังสือให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนเพิ่มตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังนี้เมื่อมีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โดยเพิ่มเติมมาตรา 10 ทวิ ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ และให้ถือว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิม และราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่คือคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯ เพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ฉะนั้น เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯ แก้ไขใหม่ จึงเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนไม่พอใจ ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ที่แก้ไขใหม่ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6546/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนต้องพิจารณาราคาตลาดจริง ไม่ใช่ราคาประเมินทุนทรัพย์ ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิได้รับดอกเบี้ย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 บัญญัติว่า เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา18 นั้น ถ้ามิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะแล้ว ให้กำหนดโดยคำนึงถึง (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหา-ริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 ฯลฯการที่คณะกรรมการของจำเลยได้กำหนดค่าทดแทนค่าที่ดินให้แก่โจทก์โดยอาศัยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา 21 (3) โดยไม่คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหา-ริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดิน ฯ พ.ศ.2530ใช้บังคับด้วย กรณีจึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน
เมื่อศาลวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา26 วรรคท้าย
เมื่อศาลวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา26 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืน: สิทธิคืนเป็นของผู้ถูกเวนคืนเดิม ไม่ใช่ผู้รับโอนภายหลัง
ที่ดินมีโฉนดนั้นเมื่อถูกเวนคืนบางส่วนโดยพ.ร.ก.เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ฯลฯ กรรมสิทธิ์ย่อมตกไปเป็นของรัฐส่วนหนึ่งแล้วทันที โดยไม่ต้องทำพิธีรังวัดแบ่งแยกทางพนักงานเจ้าหน้าที่
ถ้าหากรัฐบาลจะต้องส่งคืนที่ดินที่ถูกเวนคืน ผู้ที่สูญเสียทรัพย์สินนั้นไปเพราะการเวนคืนเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับคืน ไม่ใช่ผู้ถือโฉนดในตอนหลังเพราะตนรับโอนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น
หลักกฎหมายในเรื่องเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นที่รับนับถือกันตลอดมาแล้วในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องระบุวัตถุประสงค์ไว้ถ้าไม่ได้ใช้ทรัพย์ที่เวนคืนตามวัตถุประสงค์ก็จำต้องโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นกลับคืนให้ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.ก.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯลฯ เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ฯลฯมาตรา 4 ที่ให้เจ้าพนักงานจำหน่ายขายที่ดินที่รับซื้อไว้ซึ่งเหลือจากการสร้างสะพานหรือถนนแล้วนั้นหมายความเฉพาะที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานต้องกำหนดราคาค่าทดแทนเป็นตัวเงินให้เท่านั้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2495)
ถ้าหากรัฐบาลจะต้องส่งคืนที่ดินที่ถูกเวนคืน ผู้ที่สูญเสียทรัพย์สินนั้นไปเพราะการเวนคืนเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับคืน ไม่ใช่ผู้ถือโฉนดในตอนหลังเพราะตนรับโอนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น
หลักกฎหมายในเรื่องเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นที่รับนับถือกันตลอดมาแล้วในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องระบุวัตถุประสงค์ไว้ถ้าไม่ได้ใช้ทรัพย์ที่เวนคืนตามวัตถุประสงค์ก็จำต้องโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นกลับคืนให้ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.ก.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯลฯ เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ฯลฯมาตรา 4 ที่ให้เจ้าพนักงานจำหน่ายขายที่ดินที่รับซื้อไว้ซึ่งเหลือจากการสร้างสะพานหรือถนนแล้วนั้นหมายความเฉพาะที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานต้องกำหนดราคาค่าทดแทนเป็นตัวเงินให้เท่านั้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2495)