พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7046/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บริหารการประปาส่วนภูมิภาคต่อการรุกล้ำที่ดิน โดยการวางท่อประปา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล หาได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเป็นการส่วนตัวไม่ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าการประปานครหลวงโดยตำแหน่งต้องรับผิดชอบในการจัดการและดำเนินงานของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ. การประปานครหลวง พ.ศ. 2510 มาตรา 31 วรรคสอง เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยที่ 2 ต้องถูกบังคับตามกฎหมายและคำพิพากษาให้ดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 จึงถูกฟ้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากเหตุรายงานข้อสงสัยผู้บริหารต่อ กลต. และข้อผิดพลาดในการทำงานที่ไม่ร้ายแรง
การทำงานของโจทก์ที่ล่าช้าในการส่งรายการฐานะการเงินให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) และปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กลต. กำหนด เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกเปรียบเทียบปรับนั้นเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นปกติและเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในปีแรกที่เพิ่งดำเนินการ ต่อมาโจทก์ก็ไม่เคยทำผิดพลาดอีก ข้อผิดพลาดเช่นนี้บริษัทหลักทรัพย์อื่น ๆ ก็เคยถูกเตือนหรือถูกปรับเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกันหรือสูงกว่าอีกทั้งส่วนงานอื่นของจำเลยก็เคยถูก กลต. มีมติให้เปรียบเทียบปรับเช่นกัน การกระทำผิดพลาดของโจทก์จึงมิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายและมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยในกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคล: การมอบอำนาจและผลของการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร
การประปานครหลวงโจทก์โดย ส. ผู้ว่าการได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ ป. ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์โดยขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคำสั่งดังกล่าวไม่ได้ถูกยกเลิกหรือเพิกถอนจึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ แม้ ส. จะพ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็ตาม ป. ซึ่งยังดำรงตำแหน่งอยู่ก็มีอำนาจลงนามมอบอำนาจให้ ก. ผู้อำนวยการกองคดีฟ้องคดีแทนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ช. ผู้ว่าการเป็นผู้แต่งตั้งผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ตรงต่อความเป็นจริงก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลยังมิได้จดทะเบียน ผู้บริหารร่วมกระทำการผูกพันสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 1108, 1110, 1113
แม้ในขณะที่โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับจำเลยที่ 2 ตามเอกสารที่พิพาท จำเลยที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็เป็นผู้ร่วมก่อการและกรรมการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์หลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาแล้ว ประกอบกับจำเลยที่ 3เป็นผู้บริหารโรงแรมร่วมกับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มีส่วนรู้เห็นร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ด้วย และเมื่อโจทก์ส่งมอบอาคารให้แก่จำเลยทั้งสามในวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสามก็ได้เปิดดำเนินกิจการโรงแรมในอาคารดังกล่าว จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 ยอมรับเอาสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของตน จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
สำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอาคาร จำเลยที่ 2 เป็นผู้ตกลงกับโจทก์ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนเป็นอาคารโรงแรมเอง เมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารเสร็จ จำเลยทั้งสามก็ได้ยอมรับมอบอาคารจากโจทก์โดยดีและเปิดดำเนินกิจการเป็นโรงแรมเช่นนี้ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาแก้ไขแบบแปลนอาคารดังกล่าว
แม้ในขณะที่โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับจำเลยที่ 2 ตามเอกสารที่พิพาท จำเลยที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็เป็นผู้ร่วมก่อการและกรรมการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์หลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาแล้ว ประกอบกับจำเลยที่ 3เป็นผู้บริหารโรงแรมร่วมกับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มีส่วนรู้เห็นร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ด้วย และเมื่อโจทก์ส่งมอบอาคารให้แก่จำเลยทั้งสามในวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสามก็ได้เปิดดำเนินกิจการโรงแรมในอาคารดังกล่าว จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 ยอมรับเอาสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของตน จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
สำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอาคาร จำเลยที่ 2 เป็นผู้ตกลงกับโจทก์ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนเป็นอาคารโรงแรมเอง เมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารเสร็จ จำเลยทั้งสามก็ได้ยอมรับมอบอาคารจากโจทก์โดยดีและเปิดดำเนินกิจการเป็นโรงแรมเช่นนี้ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาแก้ไขแบบแปลนอาคารดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดร่วมกันในสัญญาเหมาอาคาร แม้ผู้ทำสัญญาไม่ได้เป็นนิติบุคคล แต่ผู้ร่วมก่อการและผู้บริหารมีส่วนรู้เห็นและใช้ประโยชน์
แม้ในขณะที่โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับจำเลยที่ 2 ตามเอกสารที่พิพาท จำเลยที่ 1ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็เป็นผู้ร่วมก่อการและกรรมการของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์หลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาแล้ว ประกอบกับจำเลยที่ 3เป็นผู้บริหารโรงแรมร่วมกับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3มีส่วนรู้เห็นร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ด้วยและเมื่อโจทก์ส่งมอบอาคารให้แก่จำเลยทั้งสามในวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสามก็ได้เปิดดำเนินกิจการโรงแรมในอาคารดังกล่าว จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 ยอมรับเอาสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของตน จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย สำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอาคาร จำเลยที่ 2เป็นผู้ตกลงกับโจทก์ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนเป็นอาคารโรงแรมเอง เมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารเสร็จจำเลยทั้งสามก็ได้ยอมรับมอบอาคารจากโจทก์ โดยดีและเปิดดำเนินกิจการเป็นโรงแรมเช่นนี้ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาแก้ไข แบบแปลนอาคารดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.ธุรกิจหลักทรัพย์ กรณีผู้บริหารสั่งซื้อขายหุ้นเอื้อประโยชน์ลูกค้าตนเอง
เมื่อตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522มาตรา 75 สัตต บัญญัติว่า กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท กระทำการหรือไม่กระทำการเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการเสียหายแก่บริษัทนั้นต้องระวางโทษ ดังนี้เมื่อได้ความว่าจำเลยมีอำนาจและหน้าที่ดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ในกิจการของบริษัทผู้เสียหายจำเลยได้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ไม่เป็นไปตามลำดับตามคำสั่งซื้อขายก่อนหลัง ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย และ จำเลยกระทำการหรือไม่กระทำการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ผู้เสียหายสั่งซื้อขายหุ้นในลำดับก่อน น. ทั้งสิ้นน. จึงไม่มีสิทธิซื้อขายหุ้นได้ก่อนผู้เสียหาย ส่วนพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517มาตรา 21 ตรี เป็นเพียงบทสันนิษฐานทั่วไปในกรณีที่ไม่ปรากฏชัดว่าบริษัทหลักทรัพย์ครอบครองหุ้นเพื่อตนเองหรือเพื่อลูกค้า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้เสียหายสั่งซื้อขายหุ้นในลำดับก่อน น. ทั้งสิ้น จึงไม่ต้องด้วยบทสันนิษฐานตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146-4147/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ชอบธรรมเนื่องจากผู้บริหารฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับทางการเงินและอนุมัติการเบิกจ่ายโดยมิชอบ
ระเบียบข้อบังคับเรื่องการอนุมัติค่าใช้จ่ายของจำเลยกำหนดว่าในการเบิกค่าใช้จ่ายระหว่างที่ทำงานให้บริษัทห้ามพนักงานอนุมัติค่าใช้จ่ายที่ตนเสนอเองเป็นอันขาดและบรรดาค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้นต้องให้ผู้ควบคุมดูแลงานที่ใกล้ชิดที่สุดของพนักงานนั้นพิจารณาตรวจสอบเสียก่อนและต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจให้อนุมัติรายงานค่าใช้จ่ายได้ตามรายชื่อผู้มีสิทธิอำนาจทางการเงินหมายความว่าการอนุมัติค่าใช้จ่ายห้ามมิให้อนุมัติข้ามสายงานทั้งจำเลยไม่เคยอนุมัติให้โจทก์ทั้งสองนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ในกิจการของจำเลยโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและไม่เคยมอบอำนาจให้โจทก์ที่1มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้ดังนั้นการที่โจทก์ที่1อนุมัติให้โจทก์ที่2นำรถยนต์และวิทยุติดตามตัวซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์ที่2ใช้ในกิจการของจำเลยและให้เบิกจ่ายค่าน้ำมันและค่าบริการสำหรับวิทยุติดตามตัวก่อให้เกิดความผูกพันต่อบุคคลภายนอกโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเมื่อโจทก์ที่2อยู่ในสายงานบังคับบัญชาของผู้อื่นที่โจทก์ที่1อนุมัติให้โจทก์ที่2เบิกจ่ายค่าน้ำมันและค่าบริการวิทยุติดตามตัวจึงเป็นการอนุมัตินอกสายงานเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่จำเลยได้วางไว้แม้โจทก์ที่2มาช่วยทำงานในสายงานของโจทก์ที่1ก็เป็นอำนาจบังคับบัญชาในการปฏิบัติงานเท่านั้นส่วนอำนาจการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆโจทก์ที่2ยังต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานการที่โจทก์ที่1มีตำแหน่งหน้าที่ระดับผู้บริหารเป็นผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินควรที่จะต้องเคร่งครัดระมัดระวังต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแต่โจทก์ที่1กลับฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเสียเองถือได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหายทั้งฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ที่1ได้จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการเบิกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหารต่อการยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่ – การประมาทเลินเล่อต้องทำให้เกิดการยักยอก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงอำนาจหน้าที่และการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ที่3ที่5ที่7และที่10ทำให้โจทก์เสียหายทั้งได้บรรยายถึงจำนวนเงินที่จำเลยดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดไว้แม้จำนวนเงินที่บรรยายไว้จะไม่ตรงกับเอกสารท้ายฟ้องก็ตามก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณาว่าที่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าไรฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้ว ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520และคำสั่งป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานีมุ่งให้คณะกรรมการรับส่งเงินรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งที่คลังจังหวัดเพื่อป้องกันการทุจริตจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7ในฐานะกรรมการรับส่งเงินมีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามร่วมกันนำส่งเงินต่อคลังจังหวัดจนกว่าคลังจังหวัดจะรับเงินไว้เรียบร้อยแล้วหาใช่เพียงแต่ควบคุมเงินไปถึงคลังจังหวัดก็เป็นอันหมดหน้าที่ไม่การที่จำเลยดังกล่าวได้นำเงินไปส่งคลังจังหวัดโดยคอยอยู่นอกห้องคลังจังหวัดปล่อยให้จำเลยที่1เข้าไปนำส่งเงินในห้องคลังจังหวัดเพียงผู้เดียวเป็นการไม่ปฎิบัติตามระเบียบและคำสั่งดังกล่าวและเป็นผลให้จำเลยที่1สามารถปลอมใบนำส่งเงินปลอมลายมือชื่อคลังจังหวัดและตราประทับของคลังจังหวัดยักยอกเงินของโจทก์ไปได้ถือได้ว่าจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนเงินที่ตนร่วมเป็นกรรมการนำส่งเงินข้อที่ว่ากรรมการอื่นก็ได้เคยปฎิบัติเช่นเดียวกับจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7หาอาจจะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดได้ไม่ แม้ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520จะกำหนดให้เจ้าหน้าที่การเงินรวบรวมยอดเงินตามใบเสร็จรับเงินในแต่ละวันแล้วบันทึกยอดรวมไว้ด้านหลังสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับสุดท้ายและให้ส่วนราชการตรวจสอบจำนวนเงินที่นำส่งให้ตรงกับหลักฐานที่บันทึกในบัญชีเงินสดให้ถูกต้องทั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่218ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินจะบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบแต่การจะให้ผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยนั้นย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยละเมิดกล่าวคือต้องจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นผลทำผู้ใต้บังคับบัญชายักยอกเงินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6106/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, หนังสือค้ำประกัน, และความรับผิดของผู้บริหารบริษัทเงินทุน
จำเลยที่ 3 ไม่ได้อ้างเหตุในคำให้การว่า ช. และ ก.ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเพราะเหตุใด ดังนี้คำให้การปฏิเสธของจำเลยที่ 3 ไม่มีเหตุแห่งการนั้นจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามคำให้การดังกล่าวเมื่อโจทก์นำสืบโดยมีหนังสือรับรองของนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมาแสดงว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง ช. และก. เป็นกรรมการของโจทก์ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ดำเนินการแทนโจทก์ได้ และมีหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ ซึ่ง ช. และ ก. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ ธ.ฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดคดีนี้รวมทั้งแต่งตั้งทนายความได้ด้วย ทั้ง ธ. ผู้รับมอบอำนาจเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยืนยันว่า ช. และก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ดังนี้ ธ.ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจโจทก์ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ประเด็นข้อที่จำเลยฎีกา จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็ถือไมไ่ด้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1เกิดจากความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้บริหารงานของบริษัทเงินทุนโจทก์เพื่อมิให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชนที่นำเงินมาฝากโจทก์ และเพราะเกรงว่าโจทก์จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนจากกระทรวงการคลัง เป็นการเข้าค้ำประกันด้วยความสมัครใจ จึงเป็นการยอมตนเข้าผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันนั้น การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันเพราะได้รับแจ้งจากกระทรวงการคลังโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันแล้วจะไม่ดำเนินคดีอาญา ถ้าไม่ลงลายมือชื่อจะดำเนินคดีอาญา เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะกระทำการตามกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่เป็นการข่มขู่ที่จะทำให้สัญญาค้ำประกันตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126 และ 127 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าดำเนินธุรกิจที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับองค์กร ความรับผิดของกรรมการและผู้บริหาร
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยทั้งห้าเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยแต่ละคนมีตำแหน่งอะไร มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์อย่างไร และจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับในเรื่องอะไรเมื่อใด และทำอย่างไร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในการกระทำแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่มีข้อความใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา ทั้งตามคำให้การของจำเลยทั้งห้าก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าไม่เข้าใจข้อหาในตอนใด จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้ากับบุคคลอื่นเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในมูลละเมิด แต่ศาลแพ่งได้จำหน่ายคดีของโจทก์เฉพาะ จำเลยทั้งห้าออกจากสารบบความ เพราะได้มีคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง เช่นนี้ โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีใหม่ต่อ ศาลแรงงานกลางในเรื่องใด ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าต้องฟ้องตามเรื่องเดิม
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ โดยร่วมกันทำเรื่องเสนอและอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้แก่ ว. เป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขแล้ว จึงเป็นการฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงแห่งการจ้างซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518 ข้อ 5 กำหนดให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจแก่พนักงานเดินตลาดและบุคคลอื่นในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อแนะนำลูกค้ามาสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของโจทก์ เมื่อการสั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องจากโจทก์ของหน่วยงานในกองทัพบก เป็นการสั่งซื้อ สั่งจ้าง โดยตรงไม่ผ่านการติดต่อ ของ ว. ว. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจ การที่จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันเสนอและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้แก่ ว. จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518 นอกจากกำหนดไว้ในข้อ 5 ดังกล่าวแล้วในข้อ 7 กำหนดไว้ว่า ให้พนักงานเดินตลาดหรือบุคคลอื่นนำหลักฐานขอซื้อผลิตภัณฑ์ของลูกค้าซึ่งตนเป็นผู้ติดต่อแนะนำนั้นเสนอต่อแผนกขายเพื่อพิจารณาตรวจสอบการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกขายได้ทำบันทึกข้อความเสนอเรื่องให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจโดยไม่มีผู้มาขอรับและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจพิจารณาเสนอให้จ่ายเงินดังกล่าวได้โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ได้ความชัดเจนก่อนว่า การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่ละครั้งตามฟ้องได้มีผู้มาติดต่อแนะนำลูกค้ามาซื้อ จริงหรือไม่ และ ว. มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจหรือไม่ทั้ง ว. ก็ไม่เคยทำเรื่องเป็นหลักฐานขอรับเงินค่าดำเนินธุรกิจเลย และตาม หลักฐานที่เสนอขออนุมัติเบิกเงินดังกล่าวส่วนหนึ่งระบุให้จ่ายแก่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกผู้สั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งก็ระบุเพียงว่าให้จ่ายแก่ผู้ดำเนินการติดต่อโดยไม่ได้ระบุชื่อผู้มีสิทธิรับเงิน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 5 ซึ่งรักษาการผู้อำนวยการโจทก์สั่งอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้ไปโดยความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักฐานให้แน่ชัด และไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาให้แก่โจทก์.
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้ากับบุคคลอื่นเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในมูลละเมิด แต่ศาลแพ่งได้จำหน่ายคดีของโจทก์เฉพาะ จำเลยทั้งห้าออกจากสารบบความ เพราะได้มีคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง เช่นนี้ โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีใหม่ต่อ ศาลแรงงานกลางในเรื่องใด ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าต้องฟ้องตามเรื่องเดิม
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ โดยร่วมกันทำเรื่องเสนอและอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้แก่ ว. เป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขแล้ว จึงเป็นการฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงแห่งการจ้างซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518 ข้อ 5 กำหนดให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจแก่พนักงานเดินตลาดและบุคคลอื่นในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อแนะนำลูกค้ามาสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของโจทก์ เมื่อการสั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องจากโจทก์ของหน่วยงานในกองทัพบก เป็นการสั่งซื้อ สั่งจ้าง โดยตรงไม่ผ่านการติดต่อ ของ ว. ว. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจ การที่จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันเสนอและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้แก่ ว. จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518 นอกจากกำหนดไว้ในข้อ 5 ดังกล่าวแล้วในข้อ 7 กำหนดไว้ว่า ให้พนักงานเดินตลาดหรือบุคคลอื่นนำหลักฐานขอซื้อผลิตภัณฑ์ของลูกค้าซึ่งตนเป็นผู้ติดต่อแนะนำนั้นเสนอต่อแผนกขายเพื่อพิจารณาตรวจสอบการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกขายได้ทำบันทึกข้อความเสนอเรื่องให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจโดยไม่มีผู้มาขอรับและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจพิจารณาเสนอให้จ่ายเงินดังกล่าวได้โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ได้ความชัดเจนก่อนว่า การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่ละครั้งตามฟ้องได้มีผู้มาติดต่อแนะนำลูกค้ามาซื้อ จริงหรือไม่ และ ว. มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจหรือไม่ทั้ง ว. ก็ไม่เคยทำเรื่องเป็นหลักฐานขอรับเงินค่าดำเนินธุรกิจเลย และตาม หลักฐานที่เสนอขออนุมัติเบิกเงินดังกล่าวส่วนหนึ่งระบุให้จ่ายแก่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกผู้สั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งก็ระบุเพียงว่าให้จ่ายแก่ผู้ดำเนินการติดต่อโดยไม่ได้ระบุชื่อผู้มีสิทธิรับเงิน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 5 ซึ่งรักษาการผู้อำนวยการโจทก์สั่งอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้ไปโดยความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักฐานให้แน่ชัด และไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาให้แก่โจทก์.