พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีละเมิดสิทธิผู้บริโภค: เจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ผู้เสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา 271 หมายถึง ผู้ซื้อของซึ่งหลงเชื่อการขายของโดยหลอกลวง ไม่ใช่เจ้าของรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้า และตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 39 บัญญัติให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการ... เพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล คำว่า ผู้เสียหาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 3 หมายความว่า ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ ฯลฯ เมื่อโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้า โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 จึงไม่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมในความผิดตามมาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ มาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายอาญาและไม่มีอำนาจอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องชั่งผิดกฎหมายเพื่อฉ้อโกงผู้บริโภค เป็นความผิดร้ายแรงสมควรลงโทษ
จำเลยมีเครื่องชั่งสปริงไว้ในครอบครองซึ่งเป็นเครื่องชั่งที่ผิดอัตราไม่ถูกต้องตามประสงค์ทุกประการของพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัดฯ กล่าวคือก่อนทำการชั่งด้วยแบบมาตราของทางราชการ เข็มเบนเลย 0 ไปทางน้ำหนักขาด 100 กรัม เป็นการเอาเปรียบและใช้เครื่องชั่งทำการชั่งสินค้าผลไม้ขายแก่ลูกค้าผู้ซื้อซึ่งอยู่ในกิจการค้าอันต่อเนื่องกับผู้อื่นและเป็นการเอาเปรียบในการค้า การกระทำของจำเลยนอกจากเป็นการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายแล้ว ยังเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคโดยอาศัยความเชื่อถือไว้วางใจของลูกค้าอย่างน่าละอาย ไม่เป็นแบบอย่างอันดีที่ผู้ประกอบกิจการค้าขายจะพึงประพฤติปฏิบัติ จึงเป็นความผิดร้ายแรงที่สมควรลงโทษเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจกำหนดโทษและไม่รอการลงโทษให้จำเลยนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7053/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้บริโภค, การรับสภาพหนี้, สิทธิเรียกร้อง, การบังคับคดี, ข้อตกลง
ผู้บริโภคได้ตกลงจะซื้อที่ดินตามฟ้องโดยมีการวางเงินมัดจำซึ่งกรณีดังกล่าวไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง จึงมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้มีพยานเอกสารมาแสดง ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารได้ หรือศาลมีอำนาจรับฟังพยานบุคคลของโจทก์ได้
จำเลยได้ตกลงจะสร้างเขื่อนกั้นดินริมคลองให้แก่ผู้บริโภคแต่แล้วก็ไม่สร้างให้ โดยคิดค่าสร้างเขื่อนตารางวาละ 1,500 บาท รวมเป็นเงิน150,000 บาท ดังนี้ จำเลยจึงต้องคืนเงิน 150,000 บาท ให้แก่ผู้บริโภค
ผู้แทนของจำเลยได้ทำบันทึกต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคือโจทก์ว่า จำเลยยอมรับจะซ่อมแซมบ้านส่วนที่ชำรุดบกพร่องให้แก่ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ร้องเรียน ถ้าผู้บริโภคไม่ติดใจฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาต่อจำเลยนั้น เป็นเพียงหนังสือบันทึกถ้อยคำหรือคำให้การของจำเลยในฐานะผู้ถูกร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรปกครองที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค อันเป็นกรณีที่จำเลยให้ถ้อยคำไปตามหน้าที่ที่ถูกร้องเรียน และมิใช่กระทำต่อเจ้าหนี้หรือผู้แทนเจ้าหนี้ ทั้งยังเป็นการยอมรับจะชำระหนี้คือซ่อมแซมบ้านส่วนที่ชำรุดบกพร่องโดยมีเงื่อนไขว่าผู้บริโภคต้องไม่ติดใจฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาต่อจำเลย ดังนี้กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้อีกด้วยจึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172 ซึ่งใช้บังคับขณะยอมรับจะชำระหนี้ (มาตรา 193/14 (1) ที่แก้ไขใหม่)
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระหนี้ เป็นการฟ้องร้องที่โจทก์อ้างอิงสิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคตรวจพบความชำรุดบกพร่องของบ้านที่จำเลยก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มนับสิทธิเรียกร้อง แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกิน 1 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 601
จำเลยได้ตกลงจะสร้างเขื่อนกั้นดินริมคลองให้แก่ผู้บริโภคแต่แล้วก็ไม่สร้างให้ โดยคิดค่าสร้างเขื่อนตารางวาละ 1,500 บาท รวมเป็นเงิน150,000 บาท ดังนี้ จำเลยจึงต้องคืนเงิน 150,000 บาท ให้แก่ผู้บริโภค
ผู้แทนของจำเลยได้ทำบันทึกต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคือโจทก์ว่า จำเลยยอมรับจะซ่อมแซมบ้านส่วนที่ชำรุดบกพร่องให้แก่ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ร้องเรียน ถ้าผู้บริโภคไม่ติดใจฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาต่อจำเลยนั้น เป็นเพียงหนังสือบันทึกถ้อยคำหรือคำให้การของจำเลยในฐานะผู้ถูกร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรปกครองที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค อันเป็นกรณีที่จำเลยให้ถ้อยคำไปตามหน้าที่ที่ถูกร้องเรียน และมิใช่กระทำต่อเจ้าหนี้หรือผู้แทนเจ้าหนี้ ทั้งยังเป็นการยอมรับจะชำระหนี้คือซ่อมแซมบ้านส่วนที่ชำรุดบกพร่องโดยมีเงื่อนไขว่าผู้บริโภคต้องไม่ติดใจฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาต่อจำเลย ดังนี้กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้อีกด้วยจึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172 ซึ่งใช้บังคับขณะยอมรับจะชำระหนี้ (มาตรา 193/14 (1) ที่แก้ไขใหม่)
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระหนี้ เป็นการฟ้องร้องที่โจทก์อ้างอิงสิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคตรวจพบความชำรุดบกพร่องของบ้านที่จำเลยก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มนับสิทธิเรียกร้อง แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกิน 1 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 601
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7053/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค, อายุความ, การรับสภาพหนี้, และการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมในสัญญาซื้อขาย
ผู้บริโภคได้ตกลงจะซื้อที่ดินตามฟ้องโดยมีการวางเงินมัดจำ ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง จึงมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้มีพยานเอกสารมาแสดง ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารได้ หรือศาลมีอำนาจรับฟังพยานบุคคลของโจทก์ได้
จำเลยได้ตกลงจะสร้างเขื่อนกั้นดินริมคลองให้แก่ผู้บริโภคแต่แล้วก็ไม่สร้างให้โดยคิดค่าสร้างเขื่อนตารางวาละ 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 150,000 บาท ดังนี้ จำเลยจึงต้องคืนเงิน 150,000 บาท ให้แก่ผู้บริโภค
ผู้แทนของจำเลยได้ทำบันทึกต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคือโจทก์ว่า จำเลยยอมรับจะซ่อมแซมบ้านส่วนที่ชำรุดบกพร่องให้แก่ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ร้องเรียน ถ้าผู้บริโภคไม่ติดใจฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาต่อจำเลยนั้น เป็นเพียงหนังสือบันทึกถ้อยคำหรือคำให้การของจำเลยในฐานะผู้ถูกร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรปกครองที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค อันเป็นกรณีที่จำเลยให้ถ้อยคำไปตามหน้าที่ที่ถูกร้องเรียน และมิใช่กระทำต่อเจ้าหนี้หรือผู้แทนเจ้าหนี้ทั้งยังเป็นการยอมรับจะชำระหนี้คือซ่อมแซมบ้านส่วนที่ชำรุดบกพร่องโดยมีเงื่อนไขว่าผู้บริโภคต้องไม่ติดใจฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาต่อจำเลย ดังนี้กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้อีกด้วย จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ซึ่งใช้บังคับขณะยอมรับจะชำระหนี้(มาตรา 193/14(1) ที่แก้ไขใหม่)
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระหนี้ เป็นการฟ้องร้องที่โจทก์อ้างอิงสิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคตรวจพบความชำรุดบกพร่องของบ้านที่จำเลยก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มนับสิทธิเรียกร้อง แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกิน 1 ปีคดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601
จำเลยได้ตกลงจะสร้างเขื่อนกั้นดินริมคลองให้แก่ผู้บริโภคแต่แล้วก็ไม่สร้างให้โดยคิดค่าสร้างเขื่อนตารางวาละ 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 150,000 บาท ดังนี้ จำเลยจึงต้องคืนเงิน 150,000 บาท ให้แก่ผู้บริโภค
ผู้แทนของจำเลยได้ทำบันทึกต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคือโจทก์ว่า จำเลยยอมรับจะซ่อมแซมบ้านส่วนที่ชำรุดบกพร่องให้แก่ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ร้องเรียน ถ้าผู้บริโภคไม่ติดใจฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาต่อจำเลยนั้น เป็นเพียงหนังสือบันทึกถ้อยคำหรือคำให้การของจำเลยในฐานะผู้ถูกร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรปกครองที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค อันเป็นกรณีที่จำเลยให้ถ้อยคำไปตามหน้าที่ที่ถูกร้องเรียน และมิใช่กระทำต่อเจ้าหนี้หรือผู้แทนเจ้าหนี้ทั้งยังเป็นการยอมรับจะชำระหนี้คือซ่อมแซมบ้านส่วนที่ชำรุดบกพร่องโดยมีเงื่อนไขว่าผู้บริโภคต้องไม่ติดใจฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาต่อจำเลย ดังนี้กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้อีกด้วย จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ซึ่งใช้บังคับขณะยอมรับจะชำระหนี้(มาตรา 193/14(1) ที่แก้ไขใหม่)
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระหนี้ เป็นการฟ้องร้องที่โจทก์อ้างอิงสิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคตรวจพบความชำรุดบกพร่องของบ้านที่จำเลยก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มนับสิทธิเรียกร้อง แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกิน 1 ปีคดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าผู้อื่นและปลอมแปลงสินค้ากระทบต่อสุขภาพผู้บริโภค ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยใช้น้ำหัวเชื้อทางเคมีผสมกับวัตถุทางเคมีจนเป็นแชมพูโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วบรรจุขวดแชมพูที่มีชื่อรูปรอยประดิษฐ์เป็นเครื่องหมายการค้า วิดัลแซสซูน เครื่องหมาย แพนทีนโปรวี เครื่องหมายอักษรโรมัน ปาล์มโอลีฟออพติมา และเครื่องหมาย รีจอยส์ อันเป็นเครื่องหมายการค้าและใช้ในการประกอบการค้าของบริษัท ริชาร์ดวินสันวิคส์อิงค์ ของบริษัท คอลเกตปาล์มโอลีฟฯ และของบริษัท เดอะพร็อคเตอร์แอนด์แกรมเบิลฯซึ่งได้จดทะเบียนในประเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าและการค้าของบริษัทดังกล่าวข้างต้นและจำหน่ายแก่ประชาชนเมื่อนำไปใช้แล้วจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพผู้บริโภคเป็นการบรรยายครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา236,272และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6441/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนก่อให้เกิดความสับสนและความเข้าใจผิดของผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีจุดเด่นอยู่ที่คำว่า AngelFace ซึ่งอ่านได้เป็น 3 พยางค์ เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่าAlla Puff ซึ่งอ่านได้เป็น 3 พยางค์เช่นกัน ส่วนคำว่า POND'S ของโจทก์กับคำว่า DUBARRY ของจำเลยเป็นตัวอักษรขนาดเล็กกว่าคำทั้งสองดังกล่าวและไม่เป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง อักษรโรมัน A ตัวแรกในคำว่าAlla ของจำเลยมีลักษณะการเขียนเหมือนกับอักษรโรมัน A ตัวแรกของคำว่าAngel ของโจทก์ และอักษรโรมันตัว P ในคำว่า Puff ของจำเลยก็คล้ายอักษรโรมันตัว F ในคำว่า Face ของโจทก์ ลักษณะการเขียนของตัวอักษรคำว่าAlla Puff และคำว่า Angel Face ก็คล้ายคลึงโดยลากเส้นตรงของตัวอักษรP และ F ยาวลงมาด้านล่างเหมือนกันและตัวอักษรมีขนาดเท่ากัน การวางตำแหน่งคำว่า DUBARRY เหนือคำว่า Alla Puff ก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกับคำว่าPOND'S ซึ่งอยู่เหนือคำว่า Angel Face นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยยังใช้กับสินค้าชนิดเดียวกัน ตลับแป้งของจำเลยมีขนาดเท่ากับตลับแป้งของโจทก์ รูปร่าง ลักษณะของตัวตลับแป้ง และฝาก็เหมือนกัน สีของตลับแป้งของจำเลยก็มีสีแดงเช่นเดียวกับตลับแป้งของโจทก์ ตัวอักษรโรมันที่ตลับแป้งก็ใช้สีทองเช่นเดียวกัน ผู้บริโภคหากมิได้สังเกตย่อมเกิดความสับสนและซื้อสินค้าผิดจากความประสงค์ได้ ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายกันทำให้ผู้บริโภคสับสน และความรับผิดทางอาญาของผู้มีส่วนร่วม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและที่จำเลยทำขึ้นใช้คำว่า"KIKADA" เช่นเดียวกัน โดยแถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมใช้ผ้าพื้นสีกรมท่า ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง ส่วนที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนตัวอักษรเท่านั้น แต่ชื่อที่เรียกขานเป็นชื่ออย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำขึ้นจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้วอาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมได้
ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก.จำกัด ที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลาง จำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย
ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก.จำกัด ที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลาง จำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีองค์ประกอบร่วมกัน หากมีความแตกต่างในรายละเอียดที่ทำให้ผู้บริโภคแยกแยะได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้จะมีอักษรโรมันคำว่า"FRUIT" และรูปผลไม้วางรอบกันอยู่เหมือนกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังมีอักษรโรมันคำว่า "OFTHELOOM" เป็นส่วนประกอบอีกด้วยเมื่อเรียกขานรวมกันแล้วเป็น 4 พยางค์ คือ "ฟรุ๊ตออฟเดอะลูม"ส่วนของจำเลยเพียงพยางค์เดียวคือ "ฟรุ๊ต"หรือ"ฟรุ๊ตส" อักษรโรมันที่เป็นส่วนประกอบจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน บุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันก็สามารถเห็นความแตกต่างกันได้ รูปผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบก็ยังแตกต่างกันอีก ทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า "FRUITOFTHELOOM" และของจำเลยมีคำว่า "FRUIT"สำหรับรูปแบบแรก และมีคำว่า "FRUITS" สำหรับรูปแบบที่สองเป็นส่วนประกอบอีกภาคหนึ่งซึ่งแตกต่างกัน การเรียกขานก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายจะใช้กับสินค้าในจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าครอบคลุมถึงกันก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายแตกต่างกันโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เครื่องหมายการค้าจึงไม่คล้ายกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึงจนเป็นเหตุให้สับสน และการพิจารณาประเภทสินค้าและกลุ่มผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของรูปแบบแรกและรูปแบบที่ 2ประกอบด้วยรูปครึ่งม้าครึ่งคน ที่เป็นรูปตัวม้าท่อนล่างกำลังยืนยกขาหน้าทั้งสองข้างขึ้นโดยขาขวางขาซ้ายเหยียดตรงและรูปตัวคนท่อนบนอยู่ในท่าพุ่งหอก ใช้มือขวาถือหอกเงื้อไปข้างหลังส่วนมือซ้ายเหยียดตรงไปข้างหน้าในระดับเดียวกับแขนขา หันหน้าไปทางขวา รูปครึ่งม้าครึ่งคนรูปแบบแรกเป็นลายเส้นโปร่ง ส่วนรูปแบบที่ 2 เป็นรูปทึบ นอกจากนี้รูปแบบแรกยังมีข้อความ ภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า "E.RemyMartin$Co" บรรทัดหนึ่ง กับอีกบรรทัดหนึ่งมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ผืนผ้าว่า "REMYMARTIN" ส่วนของจำเลยรูปแบบ แรกและรูปแบบที่ 2เป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนเช่นเดียวกัน ส่วนบนเป็นรูปตัวคนอยู่ ในท่ากำลังพุ่งหอกซึ่งมีหัวหอกเป็นรูปสามเหลี่ยมในลักษณะท่าทาง เหมือนกับรูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนล่างเป็นตัวม้า อยู่ในท่าอย่างเดียวกับของโจทก์คือ ม้ายกขาหน้าทั้งสองข้าง แต่แตกต่างกันตรงที่ว่ารูปม้าของจำเลยเหยียดขาขวาตรง งอขาซ้าย หัน หน้าไปทางซ้าย และหักหอกของจำเลยเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนรูปม้าของโจทก์งอขาขวาเหยียดขาซ้ายหันหน้าไปทางขวาและหัวหอกของโจทก์เป็นปลายเส้นตรง นอกจากนี้รูปครึ่งม้าครึ่งคน ของจำเลยมีส่วนบนเป็นลายเส้นเกือบทึบ ส่วนของโจทก์เป็นลายเส้น สำหรับรูปแบบแรก และเป็น รูปทึบสำหรับรูปแบบที่ 2 ยิ่งกว่านั้น รูปครึ่งม้าครึ่งคนของจำเลยยังอยู่ภายในวงกลม 4 วง มีลวดลาย คล้ายดอกไม้ล้อมรอบสำหรับรูปแบบแรก และอยู่ภายในวงกลม 1 วง ซึ่งมีช่อ ดอกไม้รองรับและยังมีคำว่า "ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทย" อยู่ด้านบน และมีคำว่า "ตราม้าเทวดา" อยู่ด้านล่างของ รูปครึ่งม้าครึ่งคนสำหรับรูปแบบที่ 2 เครื่องหมายการค้า ของโจทก์รูปแบบแรกใต้รูปครึ่งคนครึ่งม้ายังมีข้อความ ภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า "E.RemyMartin$Co" บรรทัดหนึ่ง และมีคำว่า MEMYMARTIN" อีกบรรทัดหนึ่ง อยู่ในกรอบ สี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งเป็นชื่อบริษัทโจทก์ และตัวอักษรนี้ก็เป็น ชื่อเรียกสินค้าของโจทก์ว่า "เรมี่มาร์แตง" จนเป็น ที่เข้าใจกันทั่วไป ประกอบกับเมื่อเทียบขนาดและสัดส่วนของตัวอักษรคำว่า "REMYMARTIN" กับรูปภาพครึ่งม้าครึ่งคนแล้ว ปรากฏว่าตัวอักษรมีขนาดใหญ่กว่ารูปภาพ ตัวอักษรคำว่า"REMYMARTIN" จึงมีลักษณะเด่น และมีความสำคัญยิ่งกว่ารูปภาพดังกล่าว โจทก์เพิ่งมาจดทะเบียนเฉพาะรูปครึ่งม้าครึ่งคนในท่าพุ่งหอก สำหรับรูปแบบที่ 2 ภายหลังจากที่จำเลยได้รับการจดทะเบียน รูปม้าครึ่งคนของจำเลยรูปแบบแรก และสินค้าสุราของโจทก์ที่ส่ง เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตามใบส่งสินค้า ก็ระบุว่าเป็น บรั่นดีเรมี่มาร์แตง ไม่ปรากฏว่าคนไทยเรียกสินค้าของโจทก์ ว่าสุราตราครึ่งม้าครึ่งคนพุ่งหอกแต่อย่างใด ส่วนเครื่องหมาย การค้ารูปแบบที่ 2 ของจำเลยยังมีคำว่า "ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทย ตราม้าเทวดา" แตกต่างกับคำว่า "REMYMARTIN" ซึ่งเป็น ชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์ เมื่อประชาชนไม่เห็นคำว่า "REMYMARTIN" อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าสินค้าที่พบเห็น นั้นมิใช่สินค้าของโจทก์ ทั้งสินค้าของจำเลยก็เป็นจำพวกปุ๋ย ซึ่งมิใช่สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำพวกสุราดังเช่นของโจทก์ ที่แพร่หลายอยู่แล้วผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และของจำเลย เป็นหลักก็เป็นผู้บริโภคคนละกลุ่มกัน จึงไม่ทำให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาจะใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้าย เครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อลวงผู้ซื้อและประชาชน ให้หลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือทำให้ผู้ซื้อและประชาชนหลงผิด ในแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึง นับได้ว่าเป็น การลวงสาธารณชนให้สับสน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความลวงหรือความสับสนของผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่า "STANLEY"อ่านว่า "แสตนเล่ย์" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางขอบด้านซ้ายและขวามีรอยหยักหักเหลี่ยมออกนอกกรอบ มีรูปลักษณะคล้ายใบมีดโกน พื้นเป็นสีทึบ ตัวอักษรโปร่งเรียงติดเป็นคำเดียวกัน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวอักษรโรมันคำว่า"STAND UP" อ่านว่า "แสตน อัพ" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางขอบด้านซ้ายและขวามีรอยหยักมนครึ่งวงกลมอยู่ภายนอกกรอบมีรูปลักษณะคล้ายไม้นวดแป้ง พื้นโปร่งไม่มีสี ตัวอักษรเป็นสีทึบและแยกออกจากกันเป็นสองส่วนสองคำ ตามปกติวิสัยของบุคคลธรรมดาโดยเฉพาะผู้ที่เป็นช่างก่อสร้างและช่างไม้ที่ใช้สินค้าเทปตลับสำหรับวัดความยาวซึ่งมีโอกาสเห็นสินค้าชนิดนี้ในท้องตลาดและมีความชำนาญในการเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวมากกว่าสาธารณชนโดยทั่วไป ย่อมต้องมีและควรใช้ความสังเกตเห็นข้อแตกต่างดังกล่าวได้โดยไม่ยากนัก แม้ชื่อสินค้าประเภทนี้จะเป็นภาษาต่างประเทศปรากฏอยู่ก็ตาม เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือน และไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิด หรือทำให้สับสนได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์